ค้นเจอ 176 รายการ

ได้

หมายถึงก. รับมาหรือตกมาเป็นของตัว เช่น ได้เงิน ได้ลูก ได้แผล; ใช้ประกอบท้ายคำกริยา มีความหมายต่าง ๆ แล้วแต่ความแวดล้อม คือ อาจ, สามารถ, เช่น เดินได้ เขียนได้; สำเร็จผล เช่น สอบได้; อนุญาต เช่น ลงมือกินได้ ไปได้; (ไว) คำช่วยกริยาบอกอดีต เช่น ได้กิน ได้ไป; เรียกเงินหรือสิ่งที่ได้มาว่า เงินได้ รายได้.

เป็น

หมายถึงก. คำกริยาสำหรับแสดงความสัมพันธ์ระหว่างคำกับคำเพื่อให้เห็นว่าคำหน้าและคำหลังมีภาวะ คือ ความมี ความเป็น เกี่ยวข้องกันอย่างไร เช่น ท่านเป็นเจ้า เขาเป็นนาย.

อัตตโนบท

หมายถึงน. “บทเพื่อตน”, ในตำราไวยากรณ์บาลีและสันสกฤตใช้เป็นเครื่องหมายให้ทราบว่า เป็นกริยากรรมวาจกหรือภาววาจก เช่น สูเทน โอทโน ปจิยเต = ข้าวสุกอันพ่อครัวหุงอยู่, ปจิยเต เป็นกริยาอัตตโนบท, ตรงข้ามกับ ปรัสสบท.

ผาด,ผาด ๆ

หมายถึงว. ผ่านหรือเคลื่อนไปเร็ว (มักใช้แก่กริยาเห็น), มองแต่เผิน ๆ ไม่ถี่ถ้วน, เช่น มองผาด เห็นผาด ๆ ดูผาด ๆ.

ค่อย,ค่อย,ค่อย ๆ,ค่อย ๆ

หมายถึงว. ใช้นำหน้ากริยาหมายความว่า ไม่รีบร้อน, อย่างระมัดระวัง, ช้า ๆ, เช่น ค่อยคิดค่อยทำ ค่อย ๆ เดิน.

โลเล

หมายถึงว. ไม่แน่นอน (มักใช้แก่นิสัยใจคอ) เช่น มีจิตใจโลเล, ไม่อยู่กับร่องกับรอย (มักใช้แก่กริยาพูด) เช่นพูดจาโลเล.

สกรรมกริยา

หมายถึง[สะกำกฺริยา, สะกำกะริยา] (ไว) น. กริยาที่มีกรรมหรือผู้ถูกกระทำมารับ เช่น ดื่มน้ำ เตะฟุตบอล.

เอ้อเร้อเอ้อเต่อ

หมายถึงว. ปล่อยอารมณ์ตามสบาย, ยืดยาด เช่น มัวแต่เอ้อเร้อเอ้อเต่ออยู่นั่นแหละ จะทำอะไรก็ไม่ทำเสียที; มากจนล้น (ใช้แก่กริยากิน), เอ้อเร้อ ก็ว่า.

วิกัติการก

หมายถึง[วิกัดติ-] (ไว) น. คำที่อธิบายตำแหน่งของบทการกข้างหน้าให้ชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น เด็กนักเรียนนอน เขาเดินมากับนายมีคนใช้, คำที่เป็นบทช่วยวิกตรรถกริยาและเรียงไว้หลังวิกตรรถกริยา “เป็น” หรือ “คือ” เช่น เขาเป็นนักกีฬา เขาคือนักกีฬา.

ปรัสสบท

หมายถึง[ปะรัดสะบด] น. “บทเพื่อผู้อื่น”, ในตำราไวยากรณ์บาลีและสันสกฤตใช้เป็นเครื่องหมายให้ทราบว่าเป็นกริยากัตตุวาจก เช่น สูโท โอทนํ ปจติ = พ่อครัวหุงอยู่ซึ่งข้าวสุก ปจติ เป็นกริยาปรัสสบท, ตรงข้ามกับ อัตตโนบท.

สับปลับ

หมายถึงว. กลับกลอกเชื่อไม่ได้ (มักใช้แก่กริยาพูด) เช่น พูดสับปลับ เขาเป็นคนสับปลับ, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ สับปลี้ เป็น สับปลี้สับปลับ.

ฟุ้ง

หมายถึงก. ตลบไป เช่น หอมฟุ้ง กลิ่นฟุ้ง, ปลิวไป, กระจายไป, เช่น ฝุ่นฟุ้ง. ว. มากเกินควร (ใช้แก่กริยาคุย) เช่น คุยฟุ้ง.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ