ค้นเจอ 27 รายการ

ฉาย

หมายถึงก. ส่องแสงออกไป; (ปาก) กรายให้เห็น เช่น หล่อนฉายไปฉายมาทั้งวัน.

กระทดกระทวย

หมายถึงว. ไหวน้อย ๆ แต่พองาม, กิริยาย่างกรายอย่างนวยนาด.

กรีดนิ้ว

หมายถึงก. กรายนิ้ว, ใช้นิ้วมือหยิบอย่างมีท่าทีหยิบหย่ง.

ตะบิด

หมายถึงก. บิด เช่น โพกผ้าพันตะบิดถือกริชกราย. (อิเหนา).

กรุยกราย

หมายถึงว. เดินทำทีท่าเจ้าชู้; มีท่าทางหยิบหย่ง, ในบทกลอนใช้ว่า กรายกรุย ก็มี เช่น อย่านุ่งลายกรายกรุยทำฉุยไป. (สุภาษิตสุนทรภู่).

กระไอกระแอม

หมายถึงก. ทำเสียงไอเสียงแอม เช่น ถ้ามันจะเกริ่นกรายกระไอกระแอมแอบเข้ามา. (ม. ร่ายยาว ชูชก).

กลมภะ

หมายถึง[กะลมพะ] (กลอน) ว. หลายอย่างรวมกัน เช่น จำหลักจำหลอกกลม- ภบังอวจจำหลักกราย. (สมุทรโฆษ). (ทมิฬ กลมฺป).

จระคล้าย

หมายถึง[จะระคฺล้าย] (กลอน) ก. ใกล้กราย, อยู่ใกล้, โบราณเขียนเป็น จรคล้าย ก็มี, เช่น โหยบเหนสายใจ จรคล้าย. (กำสรวล).

กลมกลืนกลอน

หมายถึงน. ชื่อเพลงยาวกลอักษร ตัวอย่างว่า แสนเสียดายหายห่างโอ้ แสนเสียดายกรายนาฏช่าง แสนเสียดายงอนงามเจ้า ให้อ่านว่า แสนเสียดายหายห่างโอ้ห่างหาย แสนเสียดายกรายนาฏช่างนาฏกราย แสนเสียดายงอนงามเจ้างามงอน. (จารึกวัดโพธิ์).

เลียบเคียง,เลียบ ๆ เคียง ๆ

หมายถึงก. หาทางใช้คำพูดหรือแสดงอาการกรายเข้าไปใกล้ ๆ เพื่อหยั่งเชิงเขาดู เช่น เลียบ ๆ เคียง ๆ เพื่อจะขอยืมเงิน.

วอดวาย

หมายถึงก. หมดไป, สิ้นไป, เช่น บ้านเรือนถูกไฟไหม้วอดวายแล้ว, วอด ก็ว่า; (วรรณ) ตาย เช่น ถึงสุราพารอดไม่วอดวาย ไม่ใกล้กรายแกล้งเมินก็เกินไป. (นิ. ภูเขาทอง).

พร้า

หมายถึง[พฺร้า] น. มีดขนาดใหญ่, ถ้าเป็นรูปเพรียวยาวสำหรับถือกรีดกราย เรียกว่า พร้ากราย หรือ มีดกราย ทางถิ่นปักษ์ใต้เรียกว่า พร้าโอ หรือ มีดโอ, ถ้าปลายเป็นขอมีด้ามยาวสำหรับใช้เกี่ยวตัด เรียกว่า พร้าขอ หรือ มีดขอ, ถ้าปลายงุ้ม สันหนา และด้ามสั้น เรียกว่า พร้าโต้, มีดโต้ หรือ อีโต้ ก็เรียก, ถ้าเป็นรูปเพรียวยาวด้ามงอ ๆ สำหรับหวดหญ้า เรียกว่า พร้าหวด หรือ มีดหวด, ถ้าปลายแบนโตมีคม สำหรับขุดดินได้ เรียกว่า พร้าเสียม, ถ้าปลายตัดมีรูปโค้งนิด ๆ เรียกว่า พร้าถาง.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ