ค้นเจอ 634 รายการ

บุคลิก,บุคลิก-

หมายถึง[บุกคะลิก, บุกคะลิกกะ-] ว. จำเพาะคน. (ป. ปุคฺคลิก).

บูชนีย,บูชนีย-

หมายถึง[บูชะนียะ-] (แบบ) ว. ควรบูชา. (ป., ส. ปูชนีย).

โบราณ,โบราณ-

หมายถึง[โบราน, โบรานนะ-] ว. มีมาแล้วช้านาน, เก่าก่อน, เช่น อักษรโบราณ หนังสือโบราณ, เก่า, เก่าแก่, เช่น แพทย์แผนโบราณ ของโบราณ; (ปาก) ไม่ทันสมัย เช่น คนหัวโบราณ. (ป. โปราณ; ส. เปาราณ).

ปฏิ,ปฏิ-

หมายถึงคำอุปสรรคในภาษาบาลีใช้นำหน้าศัพท์อื่น แปลว่า เฉพาะ, ตอบ, ทวน, กลับ. (ป.; ส. ปฺรติ).

ปฏิคคหิต,ปฏิคหิต,ปฏิคหิต-

หมายถึง[ปะติกคะหิด, ปะติกคะหิตะ-] (แบบ) ก. รับเอา เช่น เราก็ปฏิคคหิตด้วยศรัทธา. (ม. คำหลวง วนปเวสน์). ว. อันรับเอาแล้ว. (ป. ปฏิคฺคหิต).

ปฏิภาค,ปฏิภาค-

หมายถึง[ปะติพาก, ปะติพากคะ-] น. ส่วนเปรียบ. ว. เทียบเคียง, เหมือน. (ป. ปฏิภาค; ส. ปฺรติภาค).

ปฏิรูป,ปฏิรูป-

หมายถึง[-รูบ, -รูปะ-] ว. สมควร, เหมาะสม, เช่น ปฏิรูปเทส คือ ถิ่นที่สมควร หรือ ถิ่นที่เหมาะสม; เทียม, ไม่แท้, เช่น มิตรปฏิรูป. ก. ปรับปรุงให้สมควร เช่น ปฏิรูปบ้านเมือง. (ป.).

ประสาท,ประสาท,ประสาท-,ประสาท-

หมายถึง[ปฺระสาด, ปฺระสาทะ-] น. ส่วนของร่างกาย มีลักษณะคล้ายเส้นใย มีหน้าที่นำคำสั่งและความรู้สึกไปสู่หรือออกจากสมองหรืออวัยวะส่วนอื่นของร่างกาย, โดยปริยายหมายความว่า จิตใจ, ความรู้สึก. (ส. ปฺรสาท; ป. ปสาท).

ปริกรรม,ปริกรรม-

หมายถึง[ปะริกำ, ปะริกำมะ-] น. บริกรรม. (ส. ปริกรฺมนฺ; ป. ปริกมฺม).

ปลวังค,ปลวังค-

หมายถึง[ปะละวังคะ-] (แบบ) น. ลิง เช่น ปลวังคสังวัจฉร. (ส. ปฺลวงฺค).

ปัญจ,ปัญจ-

หมายถึง[ปันจะ-] (แบบ) ว. เบญจ. (ป.).

ปัญญาส,ปัญญาส-

หมายถึง[ปันยาสะ-] (แบบ) ว. ห้าสิบ. (ป.).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ