ค้นเจอ 145 รายการ

บรรณสาร

หมายถึง(โบ) น. หนังสือราชการ.

ว่านธรณีสาร

หมายถึงดู ธรณีสาร ๒.

วิปฏิสาร,วิประติสาร

หมายถึง[วิบปะติสาน, วิปฺระ-] น. ความเดือดร้อน, ความร้อนใจ, (ภายหลังที่ได้กระทำผิด หรือเนื่องด้วยการกระทำผิด). (ป. วิปฺปฏิสาร; ส. วิปฺรติสาร).

สงสารทุกข์

หมายถึงน. ทุกข์ที่ต้องเวียนว่ายตายเกิด.

สังสารวัฏ

หมายถึง[-สาระ-] น. การเวียนว่ายตายเกิด, สงสารวัฏ หรือ วัฏสงสาร ก็ว่า. (ป. สํสารวฏฺฏ).

สาร

หมายถึง[สาน] น. สิ่งที่มีองค์ประกอบเป็นอย่างเดียวกัน มีสมบัติเฉพาะของตนเอง และไม่สามารถใช้วิธีกลใด ๆ มาแบ่งแยกให้เป็นส่วนอื่นที่มีองค์ประกอบและสมบัติแตกต่างออกไปได้; (โบ) เรียกธาตุจำพวกหนึ่งและธาตุที่เข้าแทรกในต้นไม้ว่า สาร.

สาร,สาร-,สาร-

หมายถึง[สาระ-] คำประกอบหน้าคำ แปลว่า ทั้งหมด, ทั้งสิ้น, ทุก, เช่น สารทิศ ว่า ทุกทิศ, สารทุกข์ ว่า ทุกข์ทั้งหมด, สารเลว ว่า เลวทั้งสิ้น. (เลือนมาจาก สรฺว ในสันสกฤต เช่น สรฺวงฺค เป็น สารพางค์ หรือ สรรพางค์).

สารถีชักรถ

หมายถึงน. ชื่อเพลงไทย ๒ ชั้นทำนองหนึ่ง ต่อมามีผู้แต่งขยายเป็น ๓ ชั้น แล้วตัดลงเป็นชั้นเดียว เพื่อให้ครบเป็นเพลงเถา เรียกว่า เพลงสารถีเถา; วิธีรำละครท่าหนึ่งอยู่ในอันดับว่า สารถีชักรถ กลดพระสุเมรุ ตระเวนเวหา.(ฟ้อน).; ชื่อเพลงยาวกลบทแบบหนึ่ง ตัวอย่างว่า สงสารกายหมายมิตร์คิดสงสาร ประมาณจิตร์ผิดเพราะเชื่อเหลือประมาณ เสียดายการที่คิดเปล่าเศร้าเสียดาย. (จารึกวัดโพธิ์).

สารท

หมายถึง[สาด] น. เทศกาลทำบุญในวันสิ้นเดือน ๑๐ โดยนำพืชพรรณธัญญาหารแรกเก็บเกี่ยวมาปรุงเป็นข้าวทิพย์และข้าวมธุปายาสถวายพระสงฆ์. (ป. สรท, สารท; ส. ศารท).

สารท,สารท,สารทฤดู

หมายถึง[สาด, สาระทะรึดู] น. ฤดูใบไม้ร่วง, ในประเทศเขตอบอุ่นทางซีกโลกเหนือ ซึ่งแบ่งฤดูกาลออกเป็น ๔ ฤดู คือ ฤดูหนาว (เหมันตฤดู) ฤดูใบไม้ผลิ (วสันตฤดู) ฤดูร้อน (คิมหันตฤดู) และฤดูใบไม้ร่วง (สารทฤดู) นั้น ฤดูใบไม้ร่วงเริ่มต้นในเดือนกันยายนถึงเดือนพฤศจิกายน. (อ. autumn).

สารบบความ

หมายถึงน. บัญชีคดีความต่าง ๆ ของศาล.

สารพัน

หมายถึง[สาระพัน] ว. สารพัด เช่น สารพันปัญหา, มักใช้เข้าคู่กัน เป็น สารพัดสารพัน ก็มี.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ