ค้นเจอ 159 รายการ

ไวษณพ

หมายถึง[ไวสะนบ] น. ชื่อนิกายหนึ่งในศาสนาฮินดู นับถือพระวิษณุหรือพระนารายณ์ว่าเป็นใหญ่กว่าเทพใด ๆ ในกลุ่มตรีมูรติ. (ส. ไวษฺณว).

ไวยากรณ์

หมายถึงน. วิชาภาษาว่าด้วยรูปคำและระเบียบในการประกอบรูปคำให้เป็นประโยค. (ป. เวยฺยากรณ; ส. ไวยากรณ ว่า นักศึกษาไวยากรณ์, วฺยากรณ ว่า ตำราไวยากรณ์).

เวสวัณ

หมายถึง[เวดสะ-] น. ชื่อท้าวจาตุมหาราชองค์หนึ่งประจำทิศอุดร, ท้าวเวสสุวัณ หรือ ท้าวกุเวร ก็เรียก. (ป. เวสฺสวณ; ส. ไวศฺรวณ).

งูสวัด

หมายถึงน. โรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง มีอาการอักเสบอย่างเฉียบพลันที่ปมประสาทไขสันหลัง และพุเป็นเม็ดพองตามผิวหนังเป็นทางยาวพาดขวางลำตัวเป็นต้น ทำให้ปวดแสบปวดร้อน.

นปุงสกลิงค์,นปุงสกลึงค์

หมายถึง[นะปุงสะกะ-] (ไว) น. เพศของคำที่ไม่เป็นเพศชายและเพศหญิง เช่น ภูเขา บ้าน โต๊ะ เก้าอี้ ดิน นํ้า. (ป., ส. = กะเทย + ลิงฺค = เพศ).

ปฏิภาณ,ปฏิภาณ-

หมายถึง[ปะติพาน, ปะติพานะ-, ปะติพานนะ-] น. เชาวน์ไวในการกล่าวแก้หรือโต้ตอบเป็นต้นได้ฉับพลันทันทีและแยบคาย. (ป.).

หัว

หมายถึงน. สติปัญญา, ความสามารถพิเศษ, ความคิดริเริ่ม, เช่น เด็กคนนี้มีหัวทางดนตรี; ผู้ที่มีความคิดหนักไปทางใดทางหนึ่ง เช่น หัวกฎหมาย; ปัญญา, ความคิด, เช่น หัวดี หัวไว.

สันธาน

หมายถึงน. การเกี่ยวข้อง, การเป็นเพื่อน; เครื่องพัวพัน; (ไว) คำพวกที่เชื่อมประโยคให้เกี่ยวเนื่องกัน เช่น เขาชอบสีเหลือง แต่ฉันชอบสีแดง น้ำท่วมเพราะฝนตกหนัก. (ป., ส.).

การก

หมายถึง[กา-รก] น. ผู้ทำ. (ไว) ก. กริยาที่ทำหน้าที่ประธาน กรรม หรือส่วนขยายของประโยคที่คล้ายกับนาม มี ๕ ชนิด คือ กรรตุการก กรรมการก การิตการก วิกัติการก และวิเศษณการก. (ป., ส.).

กรรมการก

หมายถึง[กำมะ-] (ไว) น. ผู้ถูกทำ เป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งใน ๓ ส่วนของประโยคที่กริยาต้องมีกรรมรับ เช่น ตำรวจยิงผู้ร้าย ผู้ร้าย เป็น กรรมการก ถ้าต้องการให้ผู้ถูกทำเด่น ก็เรียงเป็นภาคประธานของประโยค เช่น ผู้ร้ายถูกตำรวจยิง.

โอษฐชะ

หมายถึง(ไว) น. อักษรในภาษาบาลีและสันสกฤตที่มีเสียงเกิดจากริมฝีปาก ได้แก่พยัญชนะวรรค ป คือ ป ผ พ ภ ม และอักษร ว กับสระอุ อู. (ป. โอฏฺช; ส. โอษฺฐฺย).

เพศ

หมายถึงน. รูปที่แสดงให้รู้ว่าหญิงหรือชาย; (ไว) ประเภทคำในบาลีและสันสกฤตเป็นต้น, ตรงกับ ลิงค์ หรือ ลึงค์; เครื่องแต่งกาย; การประพฤติปฏิบัติตน เช่น สมณเพศ. (ป. เวส; ส. เวษ).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ