ค้นเจอ 151 รายการ

อังกุระ,อังกูร

หมายถึง[-กูน] น. หน่อ, หน่อเนื้อเชื้อไข, เชื้อสาย; มักใช้ อังกูร เป็นส่วนท้ายของสมาส เป็น อางกูร เช่น พุทธางกูร นรางกูร. (ป., ส.).

ขย,ขย-

หมายถึง[ขะยะ-] (แบบ) น. ความสิ้นไป, ความเสื่อมไป, โดยมากใช้ในสมาส เช่น ขยธรรม อาสวักขยญาณ, ถ้าใช้โดด ๆ หรือเป็นคำท้ายสมาส เป็น ขัย เช่น อายุขัย. (ป.).

กษีณาศรพ

หมายถึง[กะสีนาสบ] (แบบ) น. ขีณาสพ, พระผู้สิ้นอาสวะ, พระอรหันต์, เขียนเป็น กษีณาศรพ กษิณาศรพย และ กษิณาสยพ ก็มี เช่น อันว่าพระโลกยเชษฐาจารย์ ก็มีพุทธโองการพระคาถา ให้กษิณาศรพทงงหลายฟงง ดังนี้. (ม. คำหลวง นครกัณฑ์), อันว่าพระสาศดาบพิตร จะปกาสิตคาถา แก่กษิณาศรพยทงงหลาย ด่งงนี้. (ม. คำหลวง ฉกษัตริย์). (ส. กฺษีณ + อาสฺรว).

พะ

หมายถึงน. เพิงที่ต่อปะเข้าไปกับด้านสกัดของเรือน, พะเพิง เพิง หรือ เพิงพะ ก็เรียก. ก. พักพิงหรือแอบอิงอาศัย เช่น ลูกมาพะพ่อแม่อยู่, พะพิง ก็ว่า; ปะทะกัน, ชนกัน, เช่น คน ๒ คนเดินมาพะกัน; ปะทะติดอยู่ เช่น สวะมาพะหน้าบ้าน.

อารัมภ,อารัมภ-,อารัมภะ,อารัมภ์

หมายถึง[อารำพะ-] น. การปรารภ มักใช้เป็นส่วนหน้าของคำสมาส เช่น อารัมภบท อารัมภกถา; การเริ่มต้น, การตั้งต้น, ในคำว่า วิริยารัมภะ = การเริ่มต้นความเพียร; ความเพียร. (ป., ส.).

อิทธิปาฏิหาริย์

หมายถึงน. ฤทธิ์เป็นอัศจรรย์ หมายถึง การแสดงฤทธิ์ที่พ้นวิสัยของสามัญมนุษย์ได้อย่างน่าอัศจรรย์, เป็นปาฏิหาริย์อย่าง ๑ ในปาฏิหาริย์ ๓ ได้แก่ อิทธิปาฏิหาริย์ อาเทสนาปาฏิหาริย์ และอนุสาสนีปาฏิหาริย์. (ป.).

นาค,นาค,นาคา,นาคา

หมายถึง[นาก] น. ชื่อชนเผ่าหนึ่งอยู่ในบริเวณเทือกเขานาค ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอินเดีย และทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศพม่า มีหลายสาขา เช่น อาโอนาค กูกินาค.

อนุสาสนีปาฏิหาริย์

หมายถึงน. การสอนเป็นอัศจรรย์ หมายถึง คำสั่งสอนอันอาจจูงใจคนให้นิยมเชื่อถือไปตามได้อย่างน่าอัศจรรย์, เป็นปาฏิหาริย์อย่าง ๑ ในปาฏิหาริย์ ๓ ได้แก่ อิทธิปาฏิหาริย์ อาเทสนาปาฏิหาริย์ และอนุสาสนีปาฏิหาริย์.

อาภัสระ

หมายถึง[-พัดสะระ] น. ชื่อพรหมโลกชั้น ๑ ในรูปพรหม ๑๖ ชั้น, เรียกพรหมซึ่งอยู่ชั้นนี้ว่า อาภัสรพรหม. ว. สว่าง, สุกใส, เปล่งปลั่ง. (ป. อาภสฺสร).

เสียงสระ

หมายถึงน. เสียงพูดที่เปล่งออกมาโดยอาศัยการเคลื่อนไหวของลิ้นและริมฝีปากเป็นสำคัญ แต่ไม่มีการสกัดกั้นจากอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งในปาก เช่น เสียง อะ อา โดยทั่วไปจะออกเสียงสระร่วมกับเสียงพยัญชนะ หรือออกเสียงเฉพาะเสียงสระอย่างเดียวก็ได้, สระ ก็เรียก.

พฤทธิ์

หมายถึง[พฺรึด] น. ความเจริญ, ความมั่งคั่ง, ความสมบูรณ์, ความอวบ, พฤฒิ ก็ใช้; ในไวยากรณ์หมายถึงเสียงยาวที่สุดของสระต่าง ๆ คือ ในบาลีและสันสกฤตได้แก่ อา เป็นพฤทธิ์ของ อะ เป็นต้น. ก. กระทำสระให้ยาวเช่นนั้น. (ส. วฺฤทฺธิ).

อาน,อาน-,อาน-

หมายถึง[อานะ-] น. ลมหายใจเข้า, นิยมใช้เข้าคู่กับ อปานะ คือ ลมหายใจออก เป็น อานาปานะ = ลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ในคำว่า อานาปานัสสติ = สติที่กำหนดลมหายใจเข้าและลมหายใจออก. (ป., ส.).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ