ค้นเจอ 135 รายการ

กลา

หมายถึง[กะลา] (แบบ) น. เสี้ยวที่ ๑๖ แห่งดวงเดือน, ดวงเดือน; ระเบียบพิธีของการบูชา เช่น ไปคำนับศาลสุรากลากิจ. (อภัย), ใช้ว่า กระลา ก็มี. (ป., ส.).

ศาลทหาร

หมายถึง(กฎ) น. ศาลในสังกัดกระทรวงกลาโหม ซึ่งมีอำนาจพิจารณาพิพากษาวางบทลงโทษผู้กระทำผิดต่อกฎหมายทหารหรือกฎหมายอื่นในทางอาญา ในคดีซึ่งผู้กระทำผิดเป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารในขณะกระทำผิด และมีอำนาจสั่งลงโทษบุคคลใด ๆ ที่กระทำผิดฐานละเมิดอำนาจศาลตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง.

ผู้จัดการมรดก

หมายถึง(กฎ) น. บุคคลที่ตั้งขึ้นโดยพินัยกรรมหรือโดยคำสั่งศาลให้มีสิทธิและหน้าที่ที่จะทำการอันจำเป็น เพื่อให้การเป็นไปตามคำสั่งแจ้งชัดหรือโดยปริยายแห่งพินัยกรรม และเพื่อจัดการมรดกโดยทั่วไป หรือเพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดก.

คนเสมือนไร้ความสามารถ

หมายถึง(กฎ) น. บุคคลที่ไม่สามารถจัดการงานของตนเองได้ เพราะกายพิการ จิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ ประพฤติสุรุ่ยสุร่ายเสเพลเป็นอาจิณ หรือติดสุรายาเมา และศาลได้สั่งให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ.

เก๋ง

หมายถึงน. เรือนตึกมีรูปหลังคาแบบศาลเจ้าจีน; เครื่องบังมีฝาและหลังคาแบนสำหรับเรือและรถ, เรียกเรือหรือรถที่มีลักษณะเช่นนั้นว่า เรือเก๋ง รถเก๋ง.

พิสูจน์

หมายถึงก. บ่ง, ชี้แจงให้รู้เหตุผล, เช่น เอาพยานหลักฐานไปพิสูจน์ความจริงในศาล, ทดลองให้เห็นจริง, ทดลองหาความจริง, เช่น มีวิธีพิสูจน์ว่าเป็นผงชูรสแท้หรือไม่. (ส. วิสูจน).

ศาลอาญา

หมายถึง(กฎ) น. ศาลยุติธรรมชั้นต้นซึ่งมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาทั้งปวงที่มิได้อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรมอื่น รวมทั้งคดีอื่นใดที่มีกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีอาญาแล้วแต่กรณี.

ศาลอาญาศึก

หมายถึง(กฎ) น. ศาลที่ตั้งขึ้นเมื่อหน่วยทหารหรือเรือรบอยู่ในยุทธบริเวณ เพื่อพิจารณาพิพากษาคดีอาญาทั้งปวงซึ่งการกระทำผิดเกิดขึ้นในเขตอำนาจได้ทุกบทกฎหมายและไม่จำกัดตัวบุคคล.

อุทลุม

หมายถึง[อุดทะ-] ว. ผิดประเพณี, ผิดธรรมะ, นอกแบบ, นอกทาง, เช่น คดีอุทลุม คือคดีที่ลูกหลานฟ้องบุพการีของตนต่อศาล, เรียกลูกหลานที่ฟ้องบุพการีของตนต่อศาลว่า คนอุทลุม เช่น ผู้ใดเปนคนอุทลุมหมีได้รู้คุณบิดามานดาปู่หญ้าตายาย แลมันมาฟ้องร้องให้เรียกบิดามานดาปู่ญ่าตายายมัน ท่านให้มีโทษทวนมันด้วยลวดหนังโดยฉกัน. (สามดวง).

อาชญา

หมายถึง[อาดยา, อาดชะยา] น. อำนาจ; โทษ (มักใช้สำหรับพระเจ้าแผ่นดินหรือเจ้านาย) เช่น พระราชอาชญา. (ส.; ป. อาณา); (กฎ; โบ; เลิก) คดีที่เกี่ยวกับโทษหลวง เรียกว่า คดีอาชญา หรือ ความอาชญา, คู่กับ ความแพ่ง ซึ่งไม่เกี่ยวด้วยโทษหลวง เช่นความมรดก; ศาลที่ชำระความเกี่ยวกับโทษหลวง เรียกว่า ศาลอาชญา คู่กับ ศาลแพ่ง ซึ่งชำระความแพ่ง; คำ อาชญา นี้ปัจจุบันนิยมใช้คำ อาญา เป็นพื้น.

โมกษะพยาน

หมายถึง(กฎ) น. พยานที่พ้นแล้ว ได้แก่ พระภิกษุหรือสามเณรในพระพุทธศาสนาซึ่งไม่จำต้องไปศาลตามหมายเรียก และแม้มาเป็นพยานก็ไม่ต้องสาบานตนก่อนเบิกความและจะไม่ยอมเบิกความหรือตอบคำถามใด ๆ ก็ได้.

กักกัน

หมายถึงก. กำหนดเขตให้อยู่, กัก ก็ว่า. (กฎ) น. วิธีการเพื่อความปลอดภัยอย่างหนึ่งที่ศาลใช้ในกรณีที่ให้ควบคุมผู้กระทำความผิดติดนิสัยไว้ภายในเขตกำหนด เพื่อป้องกันการกระทำความผิด เพื่อดัดนิสัย และเพื่อฝึกหัดอาชีพ.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ