ค้นเจอ 146 รายการ

กระหย่ง

หมายถึงว. อาการที่เดินหรือวิ่งไม่เต็มเท้า คือ จดแต่ปลายเท้า เพื่อทำให้ตนสูงขึ้น หรือเพื่อไม่ให้เกิดเสียงดัง เช่น เดินกระหย่ง วิ่งกระหย่ง, เรียกรอยเท้าที่ไม่เต็มเห็นแต่ปลายเท้าและส้นเท้าว่า รอยเท้ากระหย่ง, อาการที่นั่งเอาปลายเท้าตั้งลงที่พื้น ส้นเท้าทั้ง ๒ รับก้น เรียกว่า นั่งกระหย่ง, กระโหย่ง หย่ง หย่ง ๆ โหย่ง หรือ โหย่ง ๆ ก็ว่า.

ท้น

หมายถึงก. เอ่อสูงขึ้นจนเปี่ยมพร้อมจะไหลล้นหรือไหลทวนกลับขึ้นไป เช่น นํ้าท้นฝั่ง, อาการที่เนื้อล้นออกมาจนเห็นเป็นรอยนอกเสื้อ เช่น สวมเสื้อคับจนเนื้อท้น.

ออกไท้

หมายถึง(โบ; กลอน) น. คำเรียกผู้เป็นใหญ่ หมายถึง กษัตริย์ เช่น คิดปรานีออกไท้ รอยราชละห้อยไห้ ถึงลูกแลนะหัว ลูกเอยฯ. (ลอ).

กระโหย่ง

หมายถึง[-โหฺย่ง] ว. อาการที่เดินหรือวิ่งไม่เต็มเท้า คือ จดแต่ปลายเท้า เพื่อทำให้ตนสูงขึ้น หรือเพื่อไม่ให้เกิดเสียงดัง เช่น เดินกระโหย่ง วิ่งกระโหย่ง, เรียกรอยเท้าที่ไม่เต็ม เห็นแต่ปลายเท้าและส้นเท้าว่า รอยเท้ากระโหย่ง, อาการที่นั่งเอาปลายเท้าตั้งลงที่พื้น ส้นเท้าทั้ง ๒ รับก้น เรียกว่า นั่งกระโหย่ง, กระหย่ง หย่ง หย่ง ๆ โหย่ง หรือ โหย่ง ๆ ก็ว่า.

ฝังรอย

หมายถึงน. วิธีทำคุณอย่างหนึ่ง โดยเอารอยตีนของอมิตรมาเสกคาถาอาคม แล้วนำไปฝังที่ใต้บันไดเรือน ป่าช้า หรือทางสามแพร่ง, มักใช้เข้าคู่กับคำ ฝังรูป เป็น ฝังรูปฝังรอย.

โหยกเหยก

หมายถึง[โหฺยกเหฺยก] ว. ไม่อยู่กับร่องกับรอย, ไม่แน่นอน, (ใช้แก่การพูด), เช่น พูดจาโหยกเหยก; โยเย, ขี้อ้อน, ร้องไห้งอแง, (ใช้แก่เด็ก) เช่น เด็กคนนี้โยเยโหยกเหยกจริง.

จีบ

หมายถึงก. พับกลับไปกลับมาหรือทำให้ย่นเป็นกลีบเป็นรอย เช่น จีบผ้า, เรียกผ้าที่จีบในลักษณะเช่นนั้นว่า ผ้าจีบ; (ปาก) เกี้ยวพาราสี. น. ชื่อขนมอย่างหนึ่งทำด้วยแป้ง มีไส้ มีรอยเป็นจีบ ๆ; (ราชา) เรียกเหล็กแหลมคือลูกชนักสำหรับใช้ในการขี่ช้างตกมันว่า พระแสงจีบ; ลักษณนามเรียกพลูที่ม้วนพันใยฝ้ายแล้ว เช่น พลูจีบหนึ่ง พลู ๒ จีบ.

เป้า

หมายถึงน. ชิ้นผ้าที่เย็บแทรกตะเข็บตรงรักแร้เสื้อหรือรอยต่อขากางเกงผ้าหรือกางเกงแพรเพื่อให้เคลื่อนไหวได้สะดวก; ส่วนของเสื้อที่อยู่ใต้รักแร้หรือส่วนของกางเกงที่อยู่ใต้หว่างขา.

บท,บท,บท-,บท-

หมายถึง(แบบ) เท้า, รอยเท้า, เช่น จตุบท, ในบทกลอนใช้ประสมกับคำอื่น ๆ หมายความว่า เท้า คือ บทบงกช บทบงสุ์ บทมาลย์ บทรัช บทศรี บทเรศ, (ดูคำแปลที่คำนั้น ๆ). (ป. ปท).

หุ้มแผลง

หมายถึง[-แผฺลง] น. กรรมวิธีในการหุ้มพระพุทธรูปด้วยแผ่นเงินหรือแผ่นทองบาง ๆ โดยให้ตะเข็บของแต่ละแผ่นซึ่งมีลักษณะคล้ายฟันประสานกัน แล้วใช้เครื่องมือกวดรอยประสานให้เรียบเสมอกัน.

ครองแครง

หมายถึง[คฺรองแคฺรง] น. ชื่อขนมทำด้วยแป้งกดบนพิมพ์ที่เป็นรอยริ้ว ๆ คล้ายฝาหอยแครง ต้มกับกะทิ, ถ้าทอดกรอบเคล้านํ้าตาลเคี่ยว เรียกว่า ครองแครงกรอบ.

ลายเบา

หมายถึงน. ลายที่เกิดขึ้นด้วยการแกะเดินเส้นเป็นร่องตื้น ๆ บนพื้นหินหรือพื้นโลหะ เช่น ลายเบาจารึกบนพื้นหินชนวน ลายเบาบนรอยพระพุทธบาทสัมฤทธิ์.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ