ค้นเจอ 107 รายการ

เหนือ

หมายถึง[เหฺนือ] ว. ที่อยู่ในที่หรือฐานะสูงกว่าสิ่งอื่นเมื่อมีการเปรียบเทียบกัน เช่น เขามีอำนาจเหนือฉัน, ที่มีความรู้ความสามารถเป็นต้นสูง เช่น เขามีฝีมือเหนือชั้นกว่าคู่ต่อสู้, ข้างบน เช่น สวะลอยอยู่เหนือนํ้า, ตรงข้ามกับ ใต้. น. ชื่อทิศตรงข้ามกับทิศใต้, ทิศที่อยู่ทางซ้ายมือเมื่อหันหน้าไปทางทิศตะวันออก เรียกว่า ทิศเหนือ, ทิศอุดร ก็ว่า. บ. พ้นขึ้นไป, เลยขึ้นไป, เช่น เมฆลอยอยู่เหนือภูเขา.

ล้มกระดาน

หมายถึงก. อาการที่ฝ่ายซึ่งเห็นว่าตนกำลังจะแพ้ในการเล่นหมากรุก จึงพาลคว่ำกระดานเลิกเล่นกันโดยแกล้งปัดตัวหมากรุกบนกระดานเป็นต้น, คว่ำกระดาน ก็ว่า, โดยปริยายหมายถึงการที่ฝ่ายมีอำนาจล้มเลิกการประชุมหรือกิจการใด ๆ เสียกลางคัน เช่น ประธานคุมเสียงสมาชิกไม่อยู่เลยล้มกระดานด้วยการเลิกประชุม.

อภิญญา

หมายถึง[อะพินยา] น. “ความรู้ยิ่ง” ในพระพุทธศาสนามี ๖ อย่าง คือ ๑. อิทธิวิธิ การแสดงฤทธิ์ได้ ๒. ทิพโสต หูทิพย์ ๓. เจโตปริยญาณ ญาณรู้จักกำหนดใจผู้อื่น ๔. ปุพเพนิวาสานุสติญาณ การระลึกชาติได้ ๕. ทิพจักขุ ตาทิพย์ ๖. อาสวักขยญาณ ญาณรู้จักทำอาสวะให้สิ้นไป. (ป.; ส. อภิชฺา, อภิชฺาน).

กษีณาศรพ

หมายถึง[กะสีนาสบ] (แบบ) น. ขีณาสพ, พระผู้สิ้นอาสวะ, พระอรหันต์, เขียนเป็น กษีณาศรพ กษิณาศรพย และ กษิณาสยพ ก็มี เช่น อันว่าพระโลกยเชษฐาจารย์ ก็มีพุทธโองการพระคาถา ให้กษิณาศรพทงงหลายฟงง ดังนี้. (ม. คำหลวง นครกัณฑ์), อันว่าพระสาศดาบพิตร จะปกาสิตคาถา แก่กษิณาศรพยทงงหลาย ด่งงนี้. (ม. คำหลวง ฉกษัตริย์). (ส. กฺษีณ + อาสฺรว).

อภิญญาณ

หมายถึง[อะพินยาน] น. “ความรู้ยิ่ง” ในพระพุทธศาสนามี ๖ อย่าง คือ ๑. อิทธิวิธิ การแสดงฤทธิ์ได้ ๒. ทิพโสต หูทิพย์ ๓. เจโตปริยญาณ ญาณรู้จักกำหนดใจผู้อื่น ๔. ปุพเพนิวาสานุสติญาณ การระลึกชาติได้ ๕. ทิพจักขุ ตาทิพย์ ๖. อาสวักขยญาณ ญาณรู้จักทำอาสวะให้สิ้นไป. (ป.; ส. อภิชฺา, อภิชฺาน).

คว่ำกระดาน

หมายถึงก. อาการที่ฝ่ายซึ่งเห็นว่าตนกำลังจะแพ้ในการเล่นหมากรุกจึงพาลล้มกระดานเลิกเล่นกัน โดยแกล้งปัดตัวหมากรุกบนกระดานให้กระจัดกระจายหรือเทตัวหมากรุกบนกระดานเป็นต้น, โดยปริยายหมายถึงการที่ฝ่ายมีอำนาจล้มเลิกการประชุมหรือกิจการใด ๆ เสียกลางคัน เช่น ประธานเห็นว่าจะคุมเสียงในการประชุมไม่อยู่ เลยสั่งปิดประชุมเป็นการคว่ำกระดานเสีย, ล้มกระดาน ก็ว่า.

โยน

หมายถึงก. ซัดให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งพ้นไปจากตัวโดยวิธีหงายมือ เช่น โยนสตางค์ โยนของ, เคลื่อนไหวหรือทำให้เคลื่อนไหวอย่างแรงจากที่เดิม เช่น คลื่นซัดจนเรือโยน คลื่นโยนเรือ, ไหวอย่างแรง แต่ไม่เคลื่อนจากที่เดิม เช่น ลมพัดกิ่งไม้โยนไปโยนมา หอบจนตัวโยน; เหวี่ยงเป็นวงกว้าง เช่น โยนค้อนตีเหล็ก, ปัดให้พ้นตัวไป เช่น โยนบาป โยนเรื่อง.

พระราชกำหนด

หมายถึง(กฎ) น. บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยอาศัยอำนาจบริหารให้ใช้บังคับดังเช่นพระราชบัญญัติในกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ เพื่อประโยชน์ในการรักษาความปลอดภัยของประเทศ หรือความปลอดภัยสาธารณะ หรือความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะหรือในระหว่างสมัยประชุมของรัฐสภาถ้ามีความจำเป็นต้องมีกฎหมายเกี่ยวด้วยการภาษีอากรหรือเงินตราซึ่งจะต้องได้รับการพิจารณาโดยด่วนและลับ เพื่อรักษาประโยชน์ของแผ่นดิน.

แส้

หมายถึงน. ชื่ออุปกรณ์สำหรับปัดยุงหรือแมลง ทำด้วยขนหางม้า หรือทางจากที่ทุบปลายข้างหนึ่งเป็นเส้น เป็นต้น ลักษณะเป็นพู่ยาว มีด้าม; ชื่ออุปกรณ์สำหรับตีม้า ทำด้วยหวายหรือหนังสัตว์ถักหรือฟั่นเป็นเกลียว ยาวอย่างไม้เรียว เรียกว่า แส้ม้า, ไม้หรือเหล็กกลมยาวสำหรับกระทุ้งดินในลำกล้องปืนให้แน่น เรียกว่า แส้ปืน; ใช้ประกอบกับคำ สาว เป็น สาวแส้ หมายความว่า หญิงสาว.

วิชชา

หมายถึง[วิด-] น. ความรู้แจ้ง เช่น วิชชา ๓ วิชชา ๘ ในพระพุทธศาสนา, วิชชา ๓ คือ ๑. บุพเพนิวาสานุสติญาณ (รู้จักระลึกชาติได้) ๒. จุตูปปาตญาณ (รู้จักกำหนดจุติและเกิด) ๓. อาสวักขยญาณ (รู้จักทำอาสวะให้สิ้น), ส่วนวิชชา ๘ คือ ๑. วิปัสสนาญาณ (ญาณอันนับเข้าในวิปัสสนา) ๒. มโนมยิทธิ (ฤทธิ์ทางใจ) ๓. อิทธิวิธิ (แสดงฤทธิ์ได้) ๔. ทิพโสต (หูทิพย์) ๕. เจโตปริยญาณ (รู้จักกำหนดใจผู้อื่น) ๖. บุพเพนิวาสานุสติญาณ ๗. ทิพจักขุ (ตาทิพย์) ๘. อาสวักขยญาณ. (ป. วิชฺชา; ส. วิทฺยา).

มีดดาบ

หมายถึงน. มีดขนาดใหญ่ ใบมีดรูปยาวรีประมาณ ๑ ศอก ปลายงอนขึ้นเล็กน้อย ด้ามทำด้วยไม้ยาว ๑ คืบ ดาบของหลวงปรกติสอดไว้ในฝัก ดาบเชลยศักดิ์ไม่นิยมทำฝักสำหรับสอดดาบ ใช้เป็นอาวุธ มีชื่อเรียกต่างกันออกไปตามลักษณะปลายดาบ, ถ้าปลายแหลม หัวงอน เรียกว่า มีดดาบหัวปลาซิว, ถ้าปลายมนแหลมเรียกว่า มีดดาบหัวปลาหลด, ถ้าปลายตัดขวางเรียกว่า มีดดาบหัวตัด, ถ้าปลายแหลมตัดปลายสันเฉียงปัดไปทางปลายดาบเรียกว่า มีดดาบหัวเผล้.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ