ค้นเจอ 114 รายการ

ธรรมปฏิสัมภิทา

หมายถึงน. ปฏิสัมภิทา ๑ ใน ๔ อย่าง คือ ๑. อรรถปฏิสัมภิทา ๒. ธรรมปฏิสัมภิทา ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา หมายถึง ปัญญาอันแตกฉานในธรรม คือ ความเข้าใจสาวหาเหตุในหนหลัง, ความเข้าใจถือเอาใจความแห่งอธิบายนั้น ๆ ตั้งเป็นกระทู้หรือหัวข้อขึ้นได้. (ป.).

กรรมฐาน

หมายถึง[กำมะถาน] น. ที่ตั้งแห่งการงาน หมายเอาอุบายทางใจ มี ๒ ประการ คือ สมถกรรมฐาน เป็นอุบายสงบใจ และวิปัสสนากรรมฐาน เป็นอุบายเรืองปัญญา. (ส.; ป. กมฺมฏฺาน).

ธรรมกาย

หมายถึงน. กายคือธรรม ได้แก่ พระมหากรุณาธิคุณ พระปัญญาธิคุณ และพระบริสุทธิคุณ; พระนามหนึ่งของพระพุทธเจ้า ตามคติมหายานเชื่อว่า ได้แก่พระวิญญาณบริสุทธิ์ของพระพุทธเจ้า. (ส.; ป. ธมฺมกาย).

สมอง

หมายถึง[สะหฺมอง] น. เรียกส่วนที่อยู่ภายในกะโหลกศีรษะ มีลักษณะนุ่ม ๆ หยุ่น ๆ เป็นลูกคลื่น เป็นที่รวมประสาทให้เกิดความรู้สึก ฯลฯ ว่า มันสมอง; โดยปริยายหมายความว่า ปัญญาความคิด เช่น เขาเป็นคนสมองดี, หัวสมอง ก็ว่า, (ปาก) ขมอง.

ทื่อ

หมายถึงว. ไม่คม (ใช้แก่ของแบน ๆ ที่มีคมแต่ไม่คม) เช่น มีดทื่อ; ไม่เฉียบแหลม เช่น ปัญญาทื่อ; ไม่มีลับลมคมใน เช่น พูดทื่อ ๆ; นิ่งเฉยอยู่ไม่กระดุกกระดิกเหมือนสิ่งไม่มีชีวิต เช่น แข็งทื่อ, ซื่อ ก็ว่า. ก. รี่เข้าใส่โดยไม่ระมัดระวัง เช่น ทื่อเข้าใส่.

ปฏิภาณปฏิสัมภิทา

หมายถึง[ปะติพานะ-] น. ปฏิสัมภิทา ๑ ใน ๔ อย่าง คือ ๑. อรรถปฏิสัมภิทา ๒. ธรรมปฏิสัมภิทา ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา หมายถึง ปัญญาอันแตกฉานในปฏิภาณ คือ ความเข้าใจทำให้สามารถแก้ไขเหตุการณ์ได้ในเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน หรือกล่าวโต้ตอบได้ทันท่วงที. (ป.).

คม

หมายถึงน. ส่วนบางมากจนสามารถบาดได้ เช่น คมมีด คมดาบ คมหญ้า. ว. ไม่ทื่อ เช่น มีดคม, บาดได้ เช่น ป่านคม; เฉียบแหลม เช่น ปัญญาคม; ชัดเจน เช่น ภาพคม เส้นคม, โดยปริยายใช้สำหรับตาและปากซึ่งมีลักษณะอย่างของที่คมอาจบาดหรือแทงใจได้.

บัณฑิต

หมายถึง[บันดิด] น. ผู้ทรงความรู้, ผู้มีปัญญา, นักปราชญ์, ผู้สำเร็จการศึกษาขั้นปริญญาซึ่งมี ๓ ขั้น คือ ปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก เรียกว่า บัณฑิต มหาบัณฑิต ดุษฎีบัณฑิต, ผู้มีความสามารถเป็นพิเศษโดยกำเนิด เช่น คนนี้เป็นบัณฑิตในทางเล่นดนตรี. (ป., ส. ปณฺฑิต).

อรรถปฏิสัมภิทา

หมายถึง[อัดถะ-] น. ปฏิสัมภิทา ๑ ใน ๔ อย่าง คือ ๑. อรรถปฏิสัมภิทา ๒. ธรรมปฏิสัมภิทา ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา หมายถึง ปัญญาอันแตกฉานในอรรถ คือ ความเข้าใจที่สามารถคาดหมายผลข้างหน้าอันจะเกิดสืบเนื่องไปจากเหตุ, ความเข้าใจอธิบายอรรถแห่งภาษิตย่อให้พิสดาร. (ป.).

แหลม

หมายถึง[แหฺลม] ว. มีปลายเสี้ยมคม เช่น มีดปลายแหลม; ไว, ฉลาด, เช่น ปัญญาแหลม; ชำนาญจนรู้ได้ทันทีว่าอะไรจริงอะไรไม่จริงเป็นต้น เช่น ตาแหลม; มีระดับสูง เช่น เสียงแหลม; จัด เช่น รสหวานแหลม. น. แผ่นดินหรือภูเขาที่ยื่นลํ้าออกไปในทะเลหรือมหาสมุทร. ก. ล่วงลํ้า.

สว่าง

หมายถึง[สะหฺว่าง] ว. ระยะเวลาฟ้าสาง, ระยะเวลาเมื่อรุ่งอรุณ, เช่น สว่างแล้ว, กระจ่าง, มีแสงมาก, เช่น แสงไฟสว่าง แสงจันทร์สว่าง; แจ้ง, รู้แจ้ง, เช่น ปัญญาสว่าง; หายจากความหลงผิด เช่น หูตาสว่าง; โล่ง, ปลอดโปร่ง, เช่น สว่างอก สว่างใจ; หายง่วง ในคำว่า ตาสว่าง.

อับ

หมายถึงว. ไม่มีลมเข้าออก, ไม่โปร่ง, เช่น อากาศอับ, ไม่เคลื่อนไหว เช่น ลมอับ; ไม่มีตาไป (ใช้แก่หมากรุก); โง่ เช่น ปัญญาอับ; ถึงที่อับจน, ถึงคราวชะตาตก, เช่น ตกอับ; มัวหมอง เช่น อับเศร้าหมองศรี; มืด เช่น อับทิศ คือ มืดทุกทิศ; อาการที่นกเขาซึ่งเคยขันแล้วกลับไม่ขัน; ลักษณะของกลิ่นซึ่งเกิดจากสิ่งที่ไม่มีอากาศผ่าน เช่น เหม็นอับ.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ