ค้นเจอ 117 รายการ

ยืนยัน

หมายถึงก. พูดคงคำโดยแน่นแฟ้น, พูดรับว่ารู้เห็นหรือทำเป็นต้นโดยแน่นอน, เช่น เขายืนยันว่าเขาเห็นขโมยแน่, ยํ้าหรือแจ้งความจำนงโดยไม่เปลี่ยนแปลง เช่น เขายืนยันการเดินทางในเที่ยวหน้า, ใช้ว่า ยัน คำเดียวก็มี.

เสียงแข็ง

หมายถึงว. อาการที่กล่าวออกมาอย่างยืนยันหนักแน่น เช่น เขาเถียงเสียงแข็งว่าเขาทำถูกต้องแล้ว; อาการที่พูดด้วยน้ำเสียงไม่สุภาพ เช่น อย่าพูดเสียงแข็งกับพ่อแม่. น. คะแนนเสียงดี เช่น ในพื้นที่นี้เขามีเสียงแข็งมาก คงได้รับเลือกตั้งแน่.

ไห้

หมายถึง(วรรณ) ก. อาการที่นํ้าตาไหลเพราะประสบอารมณ์อันแรงกล้า เช่น ไห้รํ่ารักลูกไท้ ไห้บ่รู้กี่ไห้ ลูกแก้วกับตน แม่เอย. (ลอ), มักใช้เข้าคู่กับคำ ร้อง เป็น ร้องไห้.

กำสรวล

หมายถึง[-สวน] (แบบ) ก. โศกเศร้า, ครํ่าครวญ, ร้องไห้, เช่น ไทกำสรดสงโรธ ท้ยนสงโกจกำสรวลครวญไปพลาง. (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์). (โบ กำสรวญ).

ร้อง

หมายถึงก. เปล่งเสียงดัง, โดยปริยายหมายถึงออกเสียงดังเช่นนั้น เช่น ฟ้าร้อง จักจั่นร้อง, (ปาก) ใช้หมายความว่า ร้องเพลง ร้องไห้ ก็มี แล้วแต่คำแวดล้อมบ่งให้รู้ เช่น เพลงนี้ร้องเป็นไหม อย่าร้องให้เสียน้ำตาเลย.

จาบัล

หมายถึง[-บัน] (แบบ) ก. หวั่นไหว, กระสับกระส่าย เช่น ดาลดับรงับจิตรจาบัลย์ เทียรทิพยสุคันธ ธรศมาโสรจโทรมสกนธ์. (ดุษฎีสังเวย); กำสรด, ร้องไห้คร่ำครวญ, สะอึกสะอื้น. (ส. จาปลฺย ว่า ความหวั่นไหว).

ประชัน

หมายถึงว. อาการที่แข่งขันเพื่อให้รู้ว่าใครจะแสดงได้ดีกว่าหรือเก่งกว่ากัน เช่น งิ้ว ๒ โรงประชันกัน อย่าเอาเป็ดขันประชันไก่, โดยปริยายหมายถึงอาการคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เด็กร้องไห้ประชันกัน.

โหยกเหยก

หมายถึง[โหฺยกเหฺยก] ว. ไม่อยู่กับร่องกับรอย, ไม่แน่นอน, (ใช้แก่การพูด), เช่น พูดจาโหยกเหยก; โยเย, ขี้อ้อน, ร้องไห้งอแง, (ใช้แก่เด็ก) เช่น เด็กคนนี้โยเยโหยกเหยกจริง.

จาบัลย์

หมายถึง[-บัน] (แบบ) ก. หวั่นไหว, กระสับกระส่าย เช่น ดาลดับรงับจิตรจาบัลย์ เทียรทิพยสุคันธ ธรศมาโสรจโทรมสกนธ์. (ดุษฎีสังเวย); กำสรด, ร้องไห้คร่ำครวญ, สะอึกสะอื้น. (ส. จาปลฺย ว่า ความหวั่นไหว).

มือเที่ยง

หมายถึงว. แน่, แม่นยำ, เช่น เขายิงปืนมือเที่ยง; มีความสามารถในการบังคับมือให้เขียนเส้นตรง เส้นโค้ง หรือลวดลายต่าง ๆ เป็นต้น ได้ตามที่ต้องการ เช่นในการเขียนเส้นตรงได้ตรงเหมือนไม้บรรทัดหรือเขียนวงกลมได้กลมดิกเป็นต้น.

สงสัย

หมายถึงก. ไม่แน่ใจในข้อเท็จจริง เช่น สงสัยว่าทำดีจะได้ดีจริงหรือ, ลังเล เช่น เมื่อเดินไปถึงทาง ๒ แพร่ง สงสัยว่าจะไปทางไหนจึงจะถูก; ทราบไม่ได้แน่ชัด, เคลือบแคลง, เช่น สงสัยว่าคำตอบข้อไหนถูก สงสัยว่าเขาจะเป็นขโมย; เอาแน่ไม่ได้ เช่น สงสัยว่าเขาจะมาหรือไม่มา. (ป. สํสย; ส. สํศย).

จริง,จริง ๆ

หมายถึง[จิง] ว. แน่ เช่น ทำจริง ชอบจริง ๆ; แท้, ไม่ปลอม, เช่น ของจริงไม่ใช่ของเทียม; เป็นอย่างนั้นแน่แท้ ไม่กลับเป็นอย่างอื่น เช่น ข้อนี้เป็นความจริง, ไม่เท็จ, ไม่โกหก, ไม่หลอกลวง, เช่น เรื่องจริง พูดจริง, เป็นไปตามนั้น เช่น ความฝันกลายเป็นความจริง.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ