ค้นเจอ 104 รายการ

หลวง

หมายถึงว. ที่เป็นของพระเจ้าแผ่นดิน เช่น ศาลหลวง วังหลวง; เป็นใหญ่ เช่น ภรรยาหลวง, ใหญ่ เช่น เขาหลวง ผึ้งหลวง; สาธารณะ เช่น ทางหลวง. น. บรรดาศักดิ์ข้าราชการ สูงกว่าขุน ต่ำกว่าพระ เช่น หลวงวิจิตรวาทการ; (ปาก) คำเรียกพระภิกษุโดยความเคารพ เช่น หลวงปู่ หลวงพี่ หลวงน้า, คำเรียกพระจีน พระญวน ว่า หลวงจีน หลวงญวน.

ให้ออก

หมายถึง(กฎ) น. วิธีการสั่งให้พ้นจากราชการเพราะเหตุ (๑) ตาย (๒) พ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญ (๓) ลาออกจากราชการและได้รับอนุญาตให้ลาออก (๔) ถูกสั่งให้ออกจากราชการ ในกรณีใดกรณีหนึ่งตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ เช่น ให้ออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญ ให้ออกเมื่อทางราชการเลิกหรือยุบตำแหน่ง ให้ออกเพื่อไปรับราชการทหาร.

พิเศษ

หมายถึงว. นอกเหนือหรือแตกต่างไปจากปรกติธรรมดา (มักใช้ในทางดี) เช่น ในกรณีพิเศษ เขาเป็นคนมีความจำเลิศเป็นพิเศษ, ไม่ใช่ปรกติธรรมดาหรือประจำ เช่น อาจารย์พิเศษ, ที่แยกเป็นส่วนหนึ่งต่างหาก เช่น คนไข้พิเศษ นักศึกษาพิเศษ; ลำดับชั้นหรือขั้นของยศเป็นต้นที่สูงกว่าเอก เช่น ข้าราชการชั้นพิเศษ พระครูสัญญาบัตรชั้นพิเศษ. (ส. วิเศษ; ป. วิเสส).

อาวุโส

หมายถึงว. ที่มีอายุแก่กว่าหรือมีตำแหน่งหน้าที่การงานสูงกว่าเป็นต้น เช่น ข้าราชการอาวุโส ครูอาวุโส ศิลปินอาวุโส. น. ความมีอายุมากกว่าหรือมีประสบการณ์ในอาชีพมากกว่าเป็นต้น เช่น เขามีอาวุโสในการทำงาน ผู้มีอาวุโสทางการเมือง. (ป. อาวุโส เป็นคำ อาลปนะ คือ คำที่พระผู้ใหญ่หรือที่มีพรรษามากกว่าเรียกพระผู้น้อยหรือที่มีพรรษาน้อยกว่า หรือเป็นคำที่พระใช้เรียกคฤหัสถ์, คู่กับ ภันเต ซึ่งเป็นคำที่พระผู้น้อยหรือที่มีพรรษาน้อยกว่าเรียกพระผู้ใหญ่หรือที่มีพรรษามากกว่า หรือเป็นคำที่คฤหัสถ์ใช้เรียกพระสงฆ์).

เอก,เอก-

หมายถึง[เอกะ-, เอกกะ-] ว. หนึ่ง (จำนวน); ชั้นที่ ๑ (ใช้เกี่ยวกับลำดับชั้น หรือขั้นของยศ ตำแหน่ง คุณภาพ หรือวิทยฐานะ สูงกว่า โท) เช่น ร้อยเอก ข้าราชการชั้นเอก ปริญญาเอก; เรียกเครื่องหมายวรรณยุกต์รูปดังนี้ ว่า ไม้เอก; ดีเลิศ เช่น กวีเอก, สำคัญ เช่น ตัวเอก; เรียกระนาดที่มีเสียงแกร่งกร้าวกว่าระนาดทุ้ม มีไม้แข็ง ๒ อันสำหรับตี ว่า ระนาดเอก. (โบ) น. เรียกลูกหญิงคนที่ ๗ ว่า ลูกเอก, คู่กับลูกชายคนที่ ๗ ว่า ลูกเจ็ด. (กฎ.). (ป., ส.).

ดิ่ง

หมายถึงว. แน่ว เช่น เสาต้นนี้ตั้งตรงดิ่ง ทางตรงดิ่ง จมดิ่ง; เรียกโลหะรูปทรงกรวยติดที่ปลายสายเชือกใช้วัดความลึกของน้ำ ตรวจสอบเสาหรือกำแพงเป็นต้นว่าอยู่ในแนวดิ่งหรือไม่ว่า ลูกดิ่ง; เรียกตะกั่วหรือเหล็กเป็นต้นที่ผูกกับสายเชือกเป็นคู่สกัดหัวท้ายดอกจำปาของว่าวจุฬาว่า ลูกดิ่ง; วัตถุมงคลมีลักษณะคล้ายลูกดิ่งหรือเม็ดมะยมซ้อนกันเป็นต้น สำหรับห้อยสายลูกประคำ พระมหากษัตริย์ทรงใช้ เรียกว่า พระดิ่ง และอาจพระราชทานแก่ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่มีความดีความชอบเพื่อใช้เป็นเครื่องเตือนสติ เมื่อเกิดปัญหาจะได้พิจารณาให้รอบคอบด้วยวิธีบริกรรมนับลูกประคำ ทำให้มีสติเพื่อก่อให้เกิดสมาธิและปัญญาสามารถแก้ไขปัญหาได้.

นาย

หมายถึงน. (กฎ) คำนำหน้าชื่อชายที่มีอายุตั้งแต่ ๑๕ ปีบริบูรณ์ขึ้นไป; ผู้เป็นใหญ่, ผู้เป็นหัวหน้า, ผู้จ้าง, เช่น เขาเป็นนาย นายไม่อยู่; ผู้เป็นใหญ่เป็นหัวหน้าในกิจการนั้น ๆ เช่น นายตรวจ นายทะเบียน, ผู้ควบคุม เช่น นายหมู่ นายหมวด, ผู้ชำนาญในกิจการนั้น ๆ เช่น นายไปรษณีย์ นายช่าง; (ปาก) ใช้นำหน้ายศทหารตำรวจ เช่น นายพล นายพัน นายร้อย นายสิบ, คำนำหน้าตำแหน่ง เช่น นายม้าต้น; เมื่อใช้เป็นคำนำราชทินนาม เป็นบรรดาศักดิ์ของข้าราชการในราชสำนักในสมัยก่อนเลิกบรรดาศักดิ์ เช่น นายนรินทร์ธิเบศ นายมหานุภาพ นายสุจินดา นายวรการบัญชา. (ปาก) ส. คำใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย ใช้สำหรับเพื่อนฝูงในลักษณะที่เป็นกันเอง เช่น เย็นนี้นายจะไปด้วยไหม, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒.

พระ

หมายถึง[พฺระ] น. คำใช้แทนชื่อเรียกภิกษุสงฆ์ เช่น วัดนี้มีพระกี่องค์ พระลงโบสถ์, พระพุทธรูป เช่น ชักพระ ไหว้พระในโบสถ์, พระพุทธเจ้า หรือ เนื่องด้วยพระพุทธเจ้า เช่น เมืองพระ คำพระ พระมาตรัส, ชื่อวันประชุมถือศีลฟังธรรมในพระพุทธศาสนา เดือนหนึ่งมี ๔ วัน คือ วันขึ้น ๘ ค่ำ ขึ้น ๑๕ ค่ำ แรม ๘ ค่ำ และแรม ๑๕ ค่ำ ถ้าเป็นเดือนขาดก็แรม ๑๔ ค่ำ เรียกว่า วันพระ; พระเจ้า, พระเยซู, (ตามที่คริสต์ศาสนิกชนในเมืองไทยใช้อนุโลมเรียก) เช่น พระลงโทษ แม่พระ; นักบวช, นักพรต, เช่น พระไทยพระแขก พระฝรั่ง พระจีน พระญวน; ตัวเอกในเรื่องละคร เช่น ตัวพระตัวนาง; ใช้ประกอบหน้าคำอื่นแสดงความยกย่อง ๑. เทพเจ้าหรือเทวดาผู้เป็นใหญ่ เช่น พระอิศวรพระนารายณ์ พระพิรุณ ๒. พระเจ้าแผ่นดินหรือของที่เกี่ยวข้องกับพระเจ้าแผ่นดินและเจ้านายชั้นสูง เช่น พระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์ ๓. สมณศักดิ์ชั้นราชาคณะ เช่น พระราชเวที พระเทพเมธี ๔. นักบวช เช่น พระแดง ๕. สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น พระภูมิ; อิสริยยศเจ้านาย เช่น พระรามคำแหง พระนเรศวร พระเทียรราชา; บรรดาศักดิ์ข้าราชการสูงกว่าหลวง ต่ำกว่าพระยา เช่น พระสารประเสริฐ พระธรรมนิเทศทวยหาญ, ใช้ประกอบหน้าชื่อบรรดาศักดิ์พระสนม; โดยปริยายหมายถึงผู้ที่มีเมตตากรุณาทรงคุณงามความดีเหมือนพระ เช่น ใจพระ พ่อแม่เป็นพระของลูก. ส. คำใช้แทนผู้ที่เราพูดถึง ใช้กับผู้เป็นใหญ่ เช่น พระเสด็จโดยแดนชล, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ