ค้นเจอ 124 รายการ

กรลุมพาง

หมายถึง[กระ-] (โบ) น. กระลุมพาง, กลองหน้าเดียว, เช่น ปี่จีนโสดสรในใดต่าง ทงงกรลุมพางพอฟงง. (ม. คำหลวง มหาราช).

กระกร

หมายถึง(กลอน) ก. ฉายรัศมี เช่น ทินกรกระกรจามี- กรกรรัศมี ดุรงครัตน์พรรณราย. (สมุทรโฆษ). (กระ + ส. กร = รัศมี).

กระแสะ

หมายถึงว. เพลีย, โผเผ, ไม่มีกำลัง, เช่นพูดว่า ข้ามันให้อ่อนหิวกระแสะ ๆ ไป. (ดิกชนารีไทย), และใช้เข้าคู่กับคำ กระเสาะ เป็น กระเสาะกระแสะ.

กระแท่น

หมายถึงก. แทบถึง, ถึงทีเดียว, กระทั่ง, คำใช้ในบทร้องของเด็ก ในความว่า พายเรืออกแอ่นกระแท่นต้นกุ่ม, นิยมใช้เข้าคู่กับคำ กระท่อน เป็น กระท่อนกระแท่น.

กระบาล

หมายถึง[-บาน] น. ส่วนกลางของกะโหลกศีรษะ, หัว, (คำไม่สุภาพ) เช่น ตีกระบาล เขกกระบาล, (โบ) เขียนเป็น กระบาน ก็มี เช่น เพิกหนังทังผมนั้นออกเสียแล้วเอากรวดทรายขัดกระบานศีศะชำระให้ขาวเหมือนพรรณศรีสังข์. (สามดวง); แผ่นกระเบื้อง; ลานกลางหมู่บ้าน เรียกว่า กระบาลบ้าน. (แผลงมาจาก กบาล).

คอคอด

หมายถึงน. แผ่นดินที่กิ่วคอดและมีน้ำล้อมรอบอยู่ทั้ง ๒ ด้าน ตรงที่กิ่วคอดจะเชื่อมต่อระหว่างแผ่นดินใหญ่ ๒ แห่ง หรือเชื่อมต่อระหว่างแผ่นดินใหญ่กับแหลมให้ติดต่อถึงกันได้ เช่น คอคอดกระ.

กระทอก

หมายถึงก. กระแทกขึ้นกระแทกลง, กำแน่นแล้วรูดขึ้นรูดลง, ทำให้ทะลัก เช่น กระทอกเลือดกระแทกล้มกระดิกดิ้น. (ขุนช้างขุนแผน). (เทียบมลายู กระตอก ว่า ตอก).

กรร-

หมายถึง[กัน-] ใช้เป็นพยางค์หน้า (ซึ่งโบราณเขียนเป็น กนน หรือ กัน ก็มี) แทน กระ เช่น กรรชิง - กันชิง - กระชิง, กรรเช้า - กรนนเช้า - กระเช้า, กรรเชอ - กนนเชอ - กระเชอ, กรรโชก - กันโชก - กระโชก, กรรพุ่ม - กระพุ่ม, กรรลึง - กระลึง.

ขา

หมายถึงน. พวก, ฝ่าย, เช่น ขานักเลง ขาเจ้าชู้; เรียกผู้ร่วมเล่นการพนันเช่นไพ่ว่า ขา; คราว, เที่ยว, เช่น ขากลับ ขาเข้า ขาออก; (โบ) สลึง, ใช้เฉพาะราคาทองคำที่คิดเป็นราคาเงินบาท เศษที่เป็นสลึงเรียกว่า ขา เช่น ทองคำหนัก ๑ บาท เป็นราคาเงิน ๘ บาท ๒ สลึง เรียกว่า ทองเนื้อแปดสองขา ถ้าเป็นราคาเงิน ๘ บาท ๓ สลึง เรียกว่า ทองเนื้อแปดสามขา.

กรร

หมายถึง[กัน-] ใช้เป็นพยางค์หน้า (ซึ่งโบราณเขียนเป็น กนน หรือ กัน ก็มี) แทน กระ เช่น กรรชิง - กันชิง - กระชิง, กรรเช้า - กรนนเช้า - กระเช้า, กรรเชอ - กนนเชอ - กระเชอ, กรรโชก - กันโชก - กระโชก, กรรพุ่ม - กระพุ่ม, กรรลึง - กระลึง.

กระบอก

หมายถึงน. ชื่อเพลงไทยทำนองเก่าสมัยอยุธยา ใช้กับบทที่ต้องการรีบด่วน ไปเร็วมาเร็วหรือต้องการให้จบเร็ว เช่นตอนท้าวเสนากุฎต้อนรับแปดกษัตริย์ ในเรื่องสังข์ศิลป์ชัย. (ดึกดำบรรพ์).

กระลอก

หมายถึง[-หฺลอก] (กลอน) แผลงมาจาก กลอก เช่น พื้นบรรพตเลื่อมล้วนมณีผา กระลอกรุ่งพรุ่งพรายถึงเมฆา. (สมบัติอมรินทร์), ใช้เข้าคู่กับคำ กระลับ หรือ กระลาย เป็น กระลับกระลอก หรือ กระลายกระลอก.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ