ค้นเจอ 107 รายการ

พล,พล-

หมายถึง[พน, พนละ-, พะละ-] น. กำลัง, มักใช้ประกอบคำอื่น เช่น พระทศพล อันเป็นพระนามพระพุทธเจ้า หมายความว่า ทรงมีพระญาณอันเป็นกำลัง ๑๐ ประการ มี ฐานาฐานญาณ คือ ปรีชาหยั่งรู้ฐานะและสิ่งที่มิใช่ฐานะเป็นต้น; ทหาร เช่น กองพล ตรวจพล ยกพลขึ้นบก; สามัญ, ธรรมดา ๆ, พื้น ๆ, เช่น ของพล ๆ; ยศทหารและตำรวจสัญญาบัตร รองจากจอมพล (เดิมใช้ว่า นายพล). (ป., ส.).

ลัคน,ลัคน-,ลัคน์,ลัคนา

หมายถึง[ลักคะนะ-, ลัก, ลักคะนา] น. ราศีที่ปรากฏขึ้นที่ขอบฟ้าทางทิศตะวันออกในเวลาเจ้าของชะตาเกิด เช่น นาย ก เกิดเวลา ๑๑.๐๐ น. ลัคนาสถิตราศีกันย์, ในดวงชะตาถ้าอาทิตย์อยู่ในราศีเดียวกับลัคน์ เรียกว่า อาทิตย์กุมลัคน์; เวลาหรือวันที่ถือว่าเป็นมงคลสำหรับลงมือทำการใด ๆ, ถ้าเป็นเวลาที่เป็นมงคล เรียกว่า ลัคนกาล ถ้าเป็นวันที่เป็นมงคล เรียกว่า ลัคนทิน เช่น โหรคำนวณว่าวันที่ ๑๔ พฤษภาคม เป็น ลัคนทิน เวลา ๑๗.๐๐ น. เป็น ลัคนกาล เป็นวันและเวลาที่เหมาะสำหรับทำพิธีรดนํ้าแต่งงาน.

ตาม

หมายถึงก. ไปหรือมาข้างหลังหรือภายหลังโดยลำดับของสิ่งหรือเหตุการณ์ที่มีมาก่อน เช่น ตามเขาไป แล้วจึงค่อยตามมา ตามเหตุการณ์; เรียกตัวมา เช่น ไปตามนาย ก มา, เชิญมา เช่น ไปตามหมอ; เที่ยวค้นหาสิ่งที่หายไป เช่น ตามเรื่อง ตามวัว; จุดให้ไฟติดไว้ เช่น ตามไฟ ตามตะเกียง ตามประทีป. ว. อาการที่เลียนแบบหรือเอาอย่าง เช่น ทำตาม คล้อยตาม; ควรแก่, เหมาะแก่, เช่น ตามกำลังความสามารถ; เหมือน, อย่าง, ดัง, เช่น ตามเคย ตามปรกติ ตามธรรมดา; แล้วแต่, สุดแต่, เช่น ตามใจ ตามอัธยาศัย ตามกรรม; ไม่ทวนกระแส (ใช้แก่กระแสนํ้าหรือกระแสลม) ในคำว่า ตามนํ้า ตามลม; ไม่ขัด, ไม่ฝ่าฝืน, ไม่ฝืน, เช่น ทำตามคำสั่ง ปฏิบัติตามกฎหมาย ตามสมัยนิยม. บ. แถว, แนว, ถิ่น, ที่, เช่น มีอยู่ตามป่า ปิดไว้ตามกำแพง; โดย เช่น ตามที่ปรากฏว่า.

กฎ

หมายถึง[กด] (โบ) ก. จดไว้เป็นหลักฐาน เช่น ให้นายยกกระบัตรกฎปากหลากคำไว้. (กฎหมายอายัดทาส), ตรา เช่น ตรัสแก่ขุนศรีภูริปรีชาให้กฎเป็นตำราไว้. (อัยการเบ็ดเสร็จ), “พระมหาธรรมราชาก็ตรัสให้กฎลงมาให้เอาพระยารามเป็นพระยาพิชัย”. (พงศ. ๑๑๓๖). (เทียบ ข. กต่ ว่า จด). น. คำบังคับ เช่น จึ่งสมเด็จพระมหินทราธิราชเจ้าแผ่นดินก็ตรัสให้ทำตามกฎให้ลงมานั้นทุกประการ. (พงศ. ๑๑๓๖); (กฎ) ข้อกำหนดหรือข้อบัญญัติที่บังคับให้ต้องมีการปฏิบัติตาม เช่น กฎกระทรวง กฎหมาย; (วิทยา) ข้อกำหนดในเรื่องธรรมชาติตามที่ค้นคว้าได้. (อ. law).

เลีย

หมายถึงก. แลบลิ้นกวาดบนสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น เลียริมฝีปาก หมาเลียแผล แมวเลียขน; เรียกอาการของความร้อนหรือสิ่งที่เป็นเปลวเช่นไฟที่แลบออกมากระทบสิ่งใดแล้วทำให้สิ่งนั้นไหม้ แห้ง หรือซีดเผือดไป เช่น ผ้าถูกแดดเลียสี ฝาบ้านถูกไฟเลียเป็นรอยไหม้; เรียกผมตอนเหนือท้ายทอยของเด็กอ่อนที่นอนพลิกตะแคงตัวยังไม่ได้ มีลักษณะแหว่งเป็นแถบยาวตามขวาง คล้ายมีอะไรมากัดแทะไป ว่า ถูกผ้าอ้อมเลีย หรือ ผ้าอ้อมกัด; (ปาก) โดยปริยายเรียกกิริยาประจบประแจงด้วยอาการดูประหนึ่งว่าเป็นอย่างสุนัขเลียแข้งเลียขาเพื่อให้นายรัก.

มหาชัย

หมายถึงน. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง ใช้บรรเลงในงานเกี่ยวกับเกียรติยศของบุคคลที่มาเป็นประธานในงานเช่นนายกรัฐมนตรี หรือเมื่อผู้เป็นประธานของงานกล่าวคำปราศรัยจบลงก็บรรเลงเพลงมหาชัยเป็นพิเศษ หรือบรรเลงในงานรับรองบุคคลสำคัญ งานสโมสรสันนิบาต เป็นต้น และในระหว่างงานดำเนิน ถ้าไม่มีดนตรีบรรเลง จะใช้เพลงมหาชัยเป็นครั้งคราวด้วยก็ได้, ปัจจุบันสำนักพระราชวังและข้อบังคับกระทรวงกลาโหมกำหนดให้ดุริยางค์บรรเลงเพลงมหาชัยรับและส่งเสด็จในพิธีการที่พระบรมวงศ์เสด็จเป็นประธาน และบรรเลงรับและส่งประธานในพิธีการที่เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และบรรเลงเป็นเพลงเคารพธงราชวงศ์เวลาผ่านหรือขึ้นลง นายทหารที่มียศจอมพล จอมพลเรือ จอมพลอากาศ หรือนายกรัฐมนตรี.

แถก

หมายถึงก. ถ่าง, กาง, เช่น ปลาแถกเหงือก; เสือกไป, ไถไป, ดิ้นรน, เช่น บพิตรพณเกล้า ข้าเห็นพราหมณ์เถ้าแถกมาถึง ชาวกาลึงคราษฎร์ฦๅ. (ม. คำหลวง กุมาร); ถาก, ปาด, เช่น นกเอ๋ยนกแสก จับจ้องร้องแจ๊กเพียงแถกขวัญ. (กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า พระยาอุปกิตศิลปสาร); กัดถลาก ๆ เช่น หมาแถกเอา; แทะด้วยหน้าฟัน เช่น หมาแถกกะลามะพร้าว; โกนผมโดยใช้มีดกดลงอย่างแรงและลากไปเป็นทางยาวอย่างไม่ประณีต ในคำว่า แถกผม; กระเสือกกระสน เช่น ปลาช่อนก็ดิ้นแถกโผล่ขึ้นมาอาศัยอยู่ในหนองน้ำนั้นต่อไปใหม่. (สารคดีชีวิตสัตว์ของนายแพทย์บุญส่ง เลขะกุล).

กฎหมาย

หมายถึง(กฎ) น. กฎที่สถาบันหรือผู้มีอำนาจสูงสุดในรัฐตราขึ้น หรือที่เกิดขึ้นจากจารีตประเพณีอันเป็นที่ยอมรับนับถือ เพื่อใช้ในการบริหารประเทศ เพื่อใช้บังคับบุคคลให้ปฏิบัติตาม หรือเพื่อกำหนดระเบียบแห่งความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลหรือระหว่างบุคคลกับรัฐ. (โบ) ก. จดบันทึกไว้เป็นหลักฐาน เช่น สั่งให้นายอินกฎหมายผู้มีชื่อทั้งนี้ไว้. (พงศ. อยุธยา), ทำหนังสือเป็นหลักฐาน เช่น อนึ่ง มีผู้ทำหนังสือร้องเรียนกฎหมายว่า.... (พระราชกำหนดเก่า); ออกหมายกำหนด เช่น ให้มหาดไทยกลาโหมกฎหมายบอกแก่ตระลาการ ถ้ากฎหมายมิทั่ว จะเอาตัวผู้กฎหมายลงโทษ. (พระราชกำหนดเก่า); กฎหมายงานพระบรมศพครั้งกรุงเก่า; ตราสั่ง เช่น จึ่งกฎหมายให้สามไป เดือนหนึ่งจอมไตร ดำรัสให้เร่งคืนมา. (พากย์); กำหนดขีดขั้น เช่น ให้ปลูกโรงรจนาใน นอกหน้าศาลชัย ให้ตั้งพิกัดกฎหมาย. (พากย์).

ไอ้

หมายถึงน. คำประกอบคำอื่นบอกให้รู้ว่าเป็นเพศชายหรือสัตว์ตัวผู้ เช่น ไอ้หนุ่ม ไอ้ด่าง, คำประกอบหน้าชื่อผู้ชายที่มีฐานะตํ่ากว่า อย่างนายเรียกคนใช้, คำประกอบหน้าชื่อเพื่อนฝูงแสดงว่ามีความสนิทสนมมาก มักใช้กันในหมู่เด็กผู้ชาย; คำใช้ประกอบหน้าชื่อผู้ชายแสดงความดูหมิ่นเหยียดหยาม, คำประกอบคำบางคำที่ผู้ใหญ่ใช้เรียกเด็กผู้ชายหรือผู้ชายที่อายุน้อยกว่ามากด้วยความเอ็นดูหรือสนิทสนมเป็นกันเอง เช่น ไอ้หนู ไอ้น้องชาย; คำประกอบหน้าคำบางคำเพื่อเน้น เช่น ไอ้เราก็ไม่ดี ไอ้จะไปก็ไม่มีที่ไป ไอ้จะอยู่หรือก็คับใจ, คำประกอบหน้าคำบางคำเพื่อเน้นในเชิงบริภาษ เช่น ไอ้ทึ่ม ไอ้โง่ ไอ้ควาย, คำใช้แทนสิ่งที่กล่าวถึงและเป็นที่เข้าใจกัน เช่น ไอ้นั่น ไอ้นี่, เขียนเป็น อ้าย ก็มี.

อ้าย

หมายถึงน. คำประกอบคำอื่นบอกให้รู้ว่าเป็นเพศชายหรือสัตว์ตัวผู้ เช่น อ้ายหนุ่ม อ้ายด่าง, คำประกอบหน้าชื่อผู้ชายที่มีฐานะตํ่ากว่า อย่างนายเรียกคนใช้, คำประกอบหน้าชื่อเพื่อนฝูงแสดงว่ามีความสนิทสนมมาก มักใช้กันในหมู่เด็กผู้ชาย, คำใช้ประกอบหน้าชื่อผู้ชายแสดงความดูหมิ่นเหยียดหยาม, คำประกอบคำบางคำที่ผู้ใหญ่ใช้เรียกเด็กผู้ชายหรือผู้ชายที่อายุน้อยกว่ามากด้วยความเอ็นดูหรือสนิทสนมเป็นกันเอง เช่น อ้ายหนู อ้ายน้องชาย, คำประกอบหน้าคำบางคำเพื่อเน้น เช่น อ้ายเราก็ไม่ดี อ้ายจะไปก็ไม่มีที่จะไป อ้ายจะอยู่หรือก็คับใจ, คำประกอบหน้าชื่อสัตว์บางชนิดโดยไม่เน้นเพศ เช่น อ้ายเหลือม อ้ายทุย, คำประกอบหน้าคำบางคำเพื่อเน้นในเชิงบริภาษ เช่น อ้ายทึ่ม อ้ายโง่ อ้ายควาย, คำใช้แทนสิ่งที่กล่าวถึงและเป็นที่เข้าใจกัน เช่น อ้ายนั่น อ้ายนี่, เขียนเป็น ไอ้ ก็มี, (โบ) คำนำหน้าชื่อผู้ชาย มักใช้ในทางไม่ดี เช่น อ้ายดีผู้ร้ายรับเปนสัจให้การซัดพวกเพื่อนถึงอ้ายเชด อ้ายแสน อ้ายคง อ้ายมั้น. (สามดวง).

แม่

หมายถึงน. หญิงผู้ให้กำเนิดหรือเลี้ยงดูลูก, คำที่ลูกเรียกหญิงผู้ให้กำเนิดหรือเลี้ยงดูตน; คำที่ผู้ใหญ่เรียกผู้หญิงที่มีอายุน้อยกว่าด้วยความสนิทสนมหรือรักใคร่เป็นต้นว่า แม่นั่น แม่นี่; คำใช้นำหน้านามเพศหญิง แปลว่า ผู้เป็นหัวหน้า เช่น แม่บ้าน; ผู้หญิงที่กระทำกิจการหรืองานอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ค้าขาย เรียกว่า แม่ค้า ทำครัว เรียกว่า แม่ครัว; เรียกสัตว์ตัวเมียที่มีลูก เช่น แม่ม้า แม่วัว; เรียกคนผู้เป็นหัวหน้าหรือเป็นนายโดยไม่จำกัดว่าเป็นชายหรือหญิง เช่น แม่ทัพ แม่กอง; คำยกย่องเทวดาผู้หญิงบางพวก เช่น แม่คงคา แม่ธรณี แม่โพสพ, บางทีก็ใช้ว่า เจ้าแม่ เช่น เจ้าแม่กาลี; เรียกสิ่งที่เป็นประธานของสิ่งต่าง ๆ ในพวกเดียวกัน เช่น แม่กระได แม่แคร่ แม่แบบ; เรียกชิ้นใหญ่กว่าในจำพวกสิ่งที่สำหรับกัน เช่น แม่กุญแจ คู่กับ ลูกกุญแจ; แม่นํ้า เช่น แม่ปิง แม่วัง; คำหรือพยางค์ที่มีแต่สระ ไม่มีตัวสะกด เรียกว่า แม่ ก กา, คำหรือพยางค์ที่มีตัว ก ข ค ฆ สะกด เรียกว่า แม่กก, คำหรือพยางค์ที่มีตัว ง สะกด เรียกว่า แม่กง, คำหรือพยางค์ที่มีตัว จ ฉ ช ซ ฌ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ด ต ถ ท ธ ศ ษ ส สะกด เรียกว่า แม่กด, คำหรือพยางค์ที่มีตัว ญ ณ น ร ล ฬ สะกด เรียกว่า แม่กน, คำหรือพยางค์ที่มีตัว ม สะกด เรียกว่า แม่กม, คำหรือพยางค์ที่มีตัว ย สะกด เรียกว่า แม่เกย แต่ในมูลบทบรรพกิจมี ย ว อ สะกด, คำหรือพยางค์ที่มีตัว ว สะกด เรียกว่า แม่เกอว.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ