ค้นเจอ 111 รายการ

บาป,บาป-

หมายถึง[บาบ, บาบปะ-] น. การกระทำผิดหลักคำสอนหรือข้อห้ามในศาสนา; ความชั่ว, ความมัวหมอง. ว. ชั่ว, มัวหมอง, เช่น คนใจบาป. (ป., ส. ปาป).

กรวม

หมายถึง[กฺรวม] ก. สวม เช่น วงแหวนกรวมหัวเสา, ครอบ เช่น เอากรวยกรวมพนมดอกไม้, คร่อม เช่น ปลูกเรือนกรวมตอ ปลูกเรือนกรวมทาง; รวมความหมายหลายอย่าง เช่น กรวมความ; กำกวม เช่น พูดกรวมข้อ. (ปาเลกัว).

ช่วงชัย

หมายถึงน. การเล่นพื้นเมืองอย่างหนึ่ง นิยมเล่นในเทศกาล เช่น สงกรานต์ มีผู้เล่นหลายคน แบ่งออกเป็น ๒ ฝ่าย ชายฝ่ายหนึ่ง หญิงฝ่ายหนึ่ง ยืนหันหน้าเข้าหากัน ห่างพอที่จะใช้ลูกช่วงที่ทำด้วยผ้าขาวม้าเป็นต้นเป็นลูกกลม ๆ ผูกให้แน่นโยนหรือปาให้กัน ถ้าฝ่ายใดรับได้แล้วปาไปถูกคนใดคนหนึ่งของฝ่ายตรงข้าม ฝ่ายนั้นก็เป็นฝ่ายแพ้ มี ๓ ชนิด คือ ช่วงรำ ผู้แพ้ต้องออกไปรำ ช่วงใช้ ผู้แพ้ต้องไปอยู่อีกข้างหนึ่ง และช่วงขี้ข้า ผู้แพ้ต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งขี่คอ.

ตรีปวาย

หมายถึง[ตฺรีปะ-] น. พิธีพราหมณ์กระทำรับพระนารายณ์ ที่เรียกเป็นสามัญว่า พิธีแห่พระนารายณ์ ซึ่งกระทำในวันแรมคํ่า ๑ ถึงแรม ๕ คํ่า เดือนยี่. (เทียบทมิฬ ติรุปปาไว).

ธาตุ

หมายถึง[ทาด, ทาตุ-] น. กระดูกของพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระอรหันต์ โดยทั่ว ๆ ไปเรียกรวม ๆ ว่า พระธาตุ, ถ้าเป็นกระดูกของพระพุทธเจ้า เรียก พระบรมธาตุ หรือ พระบรมสารีริกธาตุ, ถ้าเป็นกระดูกของพระอรหันต์ เรียกว่า พระธาตุ, ถ้าเป็นกระดูกส่วนใดส่วนหนึ่งของพระพุทธเจ้า ก็เรียกตามความหมายของคำนั้น ๆ เช่น พระอุรังคธาตุ พระทันตธาตุ, ถ้าเป็นผมของพระพุทธเจ้า เรียกว่า พระเกศธาตุ; ชื่อคัมภีร์ในพระพุทธศาสนาซึ่งว่าด้วยธาตุ เช่น ธาตุกถา ธาตุปาฐ. (ป., ส.); (ถิ่น-อีสาน) เจดีย์ที่บรรจุกระดูกคนที่เผาแล้ว.

บิณฑบาต

หมายถึงน. อาหาร (ใช้แก่พระภิกษุสามเณร) เช่น รับบิณฑบาต. ก. กิริยาที่พระภิกษุสามเณรรับของที่เขานำมาใส่บาตร, โดยปริยายหมายถึงกิริยาที่พระภิกษุสามเณรขอหรือขอร้อง เช่น เรื่องนี้ขอบิณฑบาตให้เลิกแล้วต่อกัน. (ป. ปิณฺฑปาต ว่า ก้อนข้าวที่ตก).

มุทธชะ

หมายถึง[มุดทะ-] (ไว) น. อักษรในภาษาบาลีและสันสกฤตที่มีเสียงเกิดจากการม้วนลิ้นไปสู่เพดานแข็งตอนหลัง ได้แก่พยัญชนะวรรค ฏ คือ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ และอักษร ร รวมทั้งอักษร ฬ ในภาษาบาลี และ ษ กับ ฤ ฤๅ ในภาษาสันสกฤต. (ป.; ส. มูรฺธนฺย).

อโนดาต

หมายถึงน. ชื่อสระ ๑ ในสระทั้ง ๗ ในป่าหิมพานต์ ได้แก่ ๑. สระอโนดาต ๒. สระกัณณมุณฑะ ๓. สระรถการะ ๔. สระฉัททันตะ ๕. สระกุณาละ ๖. สระมัณฑากินี ๗. สระสีหัปปปาตะ. (ป. อโนตตฺต).

อักษรสูง

หมายถึง[อักสอน-] น. พยัญชนะที่คำเป็นมีพื้นเสียงเป็นเสียงจัตวา ผันได้ ๓ เสียง มี ๒ รูป คือ ผันด้วยวรรณยุกต์ เป็นเสียงเอก ผันด้วยวรรณยุกต์ เป็นเสียงโท เช่น ขา ข่า ข้า คำตายพื้นเสียงเป็นเสียงเอก ผันด้วยวรรณยุกต์ เป็นเสียงโท เช่น ขะ ข้ะ มี ๑๑ ตัว คือ ข ฃ ฉ ฐ ถ ผ ฝ ศ ษ ส ห.

แฮนด์บอล

หมายถึงน. ชื่อกีฬาอย่างหนึ่ง คล้ายฟุตบอล แบ่งผู้เล่นเป็น ๒ ฝ่าย ฝ่ายละ ๗ คน รวมทั้งผู้รักษาประตู ผู้เล่นแต่ละฝ่ายใช้วิธีขว้างหรือปาลูกบอลแทนการเตะ; ในกติกาในกีฬาฟุตบอล ถ้าลูกบอลถูกมือผู้เล่นนอกจากผู้รักษาประตู ถือว่าเป็นการผิดกติกา เรียกว่า เป็นแฮนด์บอล จะต้องถูกลงโทษโดยให้อีกฝ่ายหนึ่งเตะกินเปล่าหรือเตะลูกโทษ. (อ. handball).

ปรอท

หมายถึง[ปะหฺรอด] น. ธาตุลำดับที่ ๘๐ สัญลักษณ์ Hg เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของเหลว สีเงิน แข็งตัวที่ -๓๘.๓๖ °ซ. เดือดที่ ๓๕๗ °ซ. ใช้ประโยชน์นำไปทำเทอร์โมมิเตอร์ บารอมิเตอร์ โลหะเจือซึ่งเรียกว่า อะมัลกัม (amalgam) ใช้ในงานทันตกรรมและทำเครื่องมือวิทยาศาสตร์อื่น ๆ สารประกอบของปรอทเป็นพิษ แต่บางอย่างใช้เป็นยาได้. (อ. mercury); (ปาก) เครื่องวัดอุณหภูมิ; โดยปริยายหมายถึงอาการที่เป็นไปอย่างรวดเร็วว่องไว เช่น ไวเป็นปรอท. (ป., ส. ปารท).

นิบาต

หมายถึง[-บาด] น. เรียกคัมภีร์ในพระพุทธศาสนาประเภทหนึ่งที่รวบรวมพระสูตรเบ็ดเตล็ดหรือชาดกต่าง ๆ ไว้ด้วยกัน เช่น สุตตนิบาต = คัมภีร์ที่รวบรวมพระสูตรเบ็ดเตล็ดต่าง ๆ ไว้ด้วยกัน นิบาตชาดก = คัมภีร์ที่รวบรวมชาดกต่าง ๆ ในพระไตรปิฎกไว้ด้วยกัน โดยแบ่งย่อยเป็นหมวดต่าง ๆ; หมวดธรรม, ชุมนุมหลักธรรม, เช่น เอกนิบาต = หมวดหรือชุมนุมหลักธรรมที่มี ๑ ข้อ ทุกนิบาต = หมวดหรือชุมนุมหลักธรรมที่มี ๒ ข้อ; (ไว) ศัพท์ประเภทหนึ่ง สำหรับใช้เติมลงข้างหน้าหรือข้างหลังคำหรือข้อความเพื่อเน้นความ ไขความ ยอมความอย่างไม่เต็มใจเป็นต้น เช่น ก็ดี ก็ตาม หรือใช้เป็นคำขึ้นต้นข้อความใหม่ต่อจากข้อความเดิม เช่น ก็แหละ. (ป., ส. นิปาต).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ