ค้นเจอ 132 รายการ

ปัจฉิมยาม

หมายถึง[ปัดฉิมมะ-] น. ยามหลัง, ยามสุดท้าย, ในบาลีแบ่งคืนออกเป็น ๓ ยาม กำหนดยามละ ๔ ชั่วโมง เรียกว่า ปฐมยาม มัชฌิมยาม และปัจฉิมยาม ปัจฉิมยามกำหนดเวลาตั้งแต่ตี ๒ หรือ ๒ นาฬิกา ถึงย่ำรุ่ง หรือ ๖ นาฬิกา.

คราส

หมายถึง[คฺราด] ก. กิน เช่น จันทรคราส สุริยคราส (โบราณ เขียนเป็น จันทรคาธ สุริยคาธ โดยถือว่ามาจากบาลีว่า จนฺทคฺคาห สุริยคฺคาห); จับ, ถือ, เช่น สิบนิ้วคราสคนธกำจร เทียนธูปบวร. (สมุทรโฆษ). (ส.).

ปาติโมกข์

หมายถึงน. คัมภีร์ว่าด้วยวินัยของสงฆ์ ๒๒๗ ข้อ, ชื่อบาลีที่ประมวลพุทธบัญญัติอันทรงตั้งขึ้นเป็นพุทธอาณา ได้แก่ อาทิพรหมจริยกาสิกขา มีพระพุทธานุญาตให้สวดในที่ประชุมสงฆ์ทุกวันอุโบสถ. (ป.).

ทันตชะ

หมายถึง[ทันตะ-] (ไว) น. อักษรในภาษาบาลีและสันสกฤตที่มีเสียงเกิดจากฟัน ได้แก่ พยัญชนะวรรค ต คือ ต ถ ท ธ น และอักษร ล ส รวมทั้ง ฦ ฦๅ ในภาษาสันสกฤต. (ป.; ส. ทนฺตวฺย).

ราชปะแตน

หมายถึง[ราดชะปะแตน] น. เสื้อนอกคอปิดมีกระดุม ๕ เม็ดกลัดตลอดอย่างเครื่องแบบปรกติขาวของข้าราชการ. (เดิมเรียกว่า ราชแปตแตน มาจากคำบาลีผสมอังกฤษว่า Raj pattern แปลว่า แบบหลวง).

ปฐมยาม

หมายถึง[ปะถมมะ-] น. ยามต้น, ในบาลีแบ่งคืนออกเป็น ๓ ยาม กำหนดยามละ ๔ ชั่วโมง เรียกว่า ปฐมยาม มัชฌิมยาม และปัจฉิมยาม ปฐมยามกำหนดเวลาตั้งแต่ย่ำค่ำ หรือ ๑๘ นาฬิกา ถึง ๔ ทุ่ม หรือ ๒๒ นาฬิกา. (ป.).

มัชฌิมยาม

หมายถึง[มัดชิมะ-, มัดชิมมะ-] น. ยามกลาง, ในบาลีแบ่งคืนเป็น ๓ ยาม กำหนดยามละ ๔ ชั่วโมง เรียกว่า ปฐมยาม มัชฌิมยาม ปัจฉิมยาม มัชฌิมยาม กำหนดเวลาตั้งแต่ ๔ ทุ่ม หรือ ๒๒ นาฬิกา ถึงตี ๒ หรือ ๒ นาฬิกา. (ป.).

นิคหิต

หมายถึง[นิกคะหิด] (โบ) น. ชื่อเครื่องหมายรูปดังนี้ ํ ในภาษาบาลีและสันสกฤตมีเสียงอ่านเหมือนตัว ง และ ม สะกด ในภาษาไทยก็อนุโลมใช้ตาม เช่น จํหัน อ่านว่า จังหัน อ่านว่า ชุมนุม, นฤคหิต หรือ หยาดนํ้าค้าง ก็เรียก. (ป. นิคฺคหีต; ส. นิคฺฤหีต).

ธนิต

หมายถึงว. หนัก, เสียงพยัญชนะบางประเภทที่เปล่งเสียงพร้อมกับมีกลุ่มลมออกมา ในภาษาไทยได้แก่เสียง พ ท ค ช ฮ, (ไว) เรียกพยัญชนะในภาษาบาลีและสันสกฤตที่มีเสียงหนักว่า พยัญชนะธนิต ได้แก่ พยัญชนะตัวที่ ๒ และ ๔ ของวรรค. (ป.).

สิถิล

หมายถึงว. เบา, เสียงพยัญชนะบางประเภทที่เปล่งเสียงโดยไม่มีกลุ่มลมออกมาด้วย ในภาษาไทยได้แก่เสียง ป ต ก จ, (ไว) เรียกพยัญชนะในภาษาบาลีและสันสกฤตที่มีเสียงเบาว่า พยัญชนะสิถิล ได้แก่ พยัญชนะตัวที่ ๑ และ ๓ ของวรรค. (ป.; ส. ศิถิล).

กัณฐชะ

หมายถึง(ไว) น. อักษรในภาษาบาลีและสันสกฤตที่มีเสียงเกิดจากเพดานอ่อน ได้แก่ พยัญชนะวรรค ก คือ ก ข ค ฆ ง และอักษรที่มีเสียงเกิดจากเส้นเสียงในลำคอ ได้แก่ ห และ สระ อะ อา. (ป.; ส. กณฺวฺย).

ปรัสสบท

หมายถึง[ปะรัดสะบด] น. “บทเพื่อผู้อื่น”, ในตำราไวยากรณ์บาลีและสันสกฤตใช้เป็นเครื่องหมายให้ทราบว่าเป็นกริยากัตตุวาจก เช่น สูโท โอทนํ ปจติ = พ่อครัวหุงอยู่ซึ่งข้าวสุก ปจติ เป็นกริยาปรัสสบท, ตรงข้ามกับ อัตตโนบท.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ