ค้นเจอ 118 รายการ

สุขารมณ์

หมายถึง[สุ-] น. อารมณ์ที่มีสุข เช่น เขาเดินผิวปากอย่างสุขารมณ์; เรียกลัทธิที่ถือว่าความสุขทางผัสสะหรือโลกียสุขในชีวิตปัจจุบันเป็นสิ่งสูงสุดหรือเป็นความดีสูงสุดของชีวิตว่า คติสุขารมณ์. (ป. สุข + อารมฺมณ).

ฌาน

หมายถึง[ชาน] น. ภาวะที่จิตสงบแน่วแน่เนื่องมาจากการเพ่งอารมณ์, การเพ่งอารมณ์จนจิตแน่วแน่เป็นสมาธิ, เรียกลักษณะการทำจิตให้สงบตามหลักทางศาสนาว่า เข้าฌาน เช่น พระเข้าฌาน ฤษีเข้าฌาน, โดยปริยายหมายถึงนั่งหลับหรือนั่งเหม่อใจลอยไม่รับรู้อะไร เรียกว่า เข้าฌาน, ฌานนั้นจัดเป็น ๔ ชั้น เรียกชื่อตามลำดับที่ประณีตขึ้นไปกว่ากัน คือ ปฐมฌาน ได้แก่ ฌานที่ ๑ มีองค์ ๕ คือ ยังมีตรึก ซึ่งเรียกว่า วิตก มีตรอง ซึ่งเรียกว่า วิจาร เหมือนอารมณ์แห่งจิตของคนสามัญ มีปีติ คือความอิ่มใจ มีสุข คือความสบายใจอันเกิดแต่วิเวกคือความเงียบ และประกอบด้วยจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งลงไปซึ่งเรียกว่า เอกัคตา, ทุติยฌาน ได้แก่ ฌานที่ ๒ มีองค์ ๓ คือ ละวิตกวิจารเสียได้ คงอยู่แต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิกับเอกัคตา, ตติยฌาน ได้แก่ ฌานที่ ๓ มีองค์ ๒ คือ ละปีติเสียได้ คงอยู่แต่สุขกับเอกัคตา, จตุตถฌาน ได้แก่ ฌานที่ ๔ มีองค์ ๒ เหมือนกัน ละสุขเสียได้กลายเป็นอุเบกขาคือเฉย ๆ กับเอกัคตา, ฌานทั้ง ๔ นี้จัดเป็นรูปฌาน เป็นรูปสมาบัติ มีรูปธรรมเป็นอารมณ์ สงเคราะห์เข้าในรูปาวจรภูมิ. (ป.; ส. ธฺยาน).

ความเครียด

หมายถึงน. (ฟิสิกส์) อัตราส่วนระหว่างขนาดที่เปลี่ยนไปเนื่องจากความเค้นกับขนาดเดิมของเทหวัตถุ. (อ. strain); ลักษณะอาการที่สมองไม่ได้ผ่อนคลายเพราะคร่ำเคร่งอยู่กับงานจนเกินไป, ลักษณะอาการที่จิตใจมีอารมณ์บางอย่างมากดดันความรู้สึกอย่างรุนแรง.

พลุ่ง

หมายถึง[พฺลุ่ง] ก. อาการที่ไอน้ำหรือควันดันตัวพุ่งออกมาโดยแรง เช่น น้ำเดือดไอน้ำพลุ่งขึ้นมา ไฟไหม้ควันพลุ่งขึ้นมา, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น โทสะพลุ่งขึ้นมา อารมณ์เดือดพลุ่ง.

ซึมเศร้า

หมายถึงว. อาการที่รู้สึกเศร้าหมอง ว้าเหว่ ล้มเหลวหรือสิ้นหวัง, เศร้าซึม ก็ว่า; (จิตเวช) อาการที่มีอารมณ์เศร้า หดหู่ ว้าเหว่ ซึม มีความรู้สึกท้อถอย ล้มเหลว สิ้นหวัง เป็นต้น.

ตจปัญจกกรรมฐาน

หมายถึง[ตะจะปันจะกะกำมะถาน] น. กรรมฐานอันบัณฑิตกำหนดด้วยอาการมีหนังเป็นที่ ๕ เป็นอารมณ์ คือ กรรมฐานที่ท่านสอนให้พิจารณาส่วนต่าง ๆ ของร่างกายตั้งแต่ผม ขน เล็บ ฟัน ไปถึงหนังเป็น ๕ อย่าง. (ป.).

อุคหนิมิต

หมายถึงน. “อารมณ์ที่เจนใจ” คือ เป็นวิธีแห่งผู้เพ่งกสิณชำนาญจนรูปที่ตนเพ่งอยู่นั้นติดตาถึงแม้หลับตาเสีย รูปนั้นก็ปรากฏเป็นเครื่องหมายอยู่ รูปที่ปรากฏนี้ เรียกว่า อุคหนิมิต. (ป. อุคฺคหนิมิตฺต; ส. อุทฺคฺรห + นิมิตฺต).

ภาพพจน์

หมายถึง[พาบพด] น. ถ้อยคำที่เป็นสำนวนโวหารทำให้นึกเห็นเป็นภาพ, ถ้อยคำที่เรียบเรียงอย่างมีชั้นเชิงเป็นโวหาร มีเจตนาให้มีประสิทธิผลต่อความคิด ความเข้าใจ ให้จินตนาการและถ่ายทอดอารมณ์ได้อย่างกว้างขวางลึกซึ้งกว่าการบอกเล่าที่ตรงไปตรงมา. (อ. figure of speech).

จินตนิยม

หมายถึงน. (ปรัชญา) ขบวนการในประวัติศาสตร์ของปรัชญาและศิลปะที่เน้นการเป็นตัวของตัวเอง เป็นอิสระจากกฎเกณฑ์และระเบียบการที่ยึดถือกันมา นักปรัชญาและศิลปินของขบวนการนี้ถือว่าอารมณ์ ความรู้สึกสำคัญกว่าเหตุผล; (ศิลปะและวรรณคดี) คตินิยมในการสร้างสรรค์วรรณกรรมหรือศิลปะซึ่งแสดงให้เห็นชีวิตและโลกตามจินตนาการหรือมโนภาพ. (อ. romanticism).

ยั่ว

หมายถึง(โบ) น. ยาน, เครื่องพาตัวไป, เช่น วอ เสลี่ยง รถ, บางทีใช้ควบกับคำ ยาน เป็น ยั่วยาน, ต่อมาใช้เลือนเป็น ยวดยาน. ก. พูดหรือทำให้เกิดอารมณ์ในทางใดทางหนึ่งรุนแรงขึ้น เช่น ยั่วราคะ ยั่วโทสะ ยั่วโมโห ยั่วกิเลส.

ด้วย

หมายถึงว. คำแสดงกริยารวมหรือเพิ่ม เช่น สวยด้วยดีด้วย, แสดงกริยาร่วมกันหรือในทำนองเดียวกัน เช่น กินด้วย, แสดงความขอร้อง เช่น ช่วยด้วย บอกด้วย. บ. คำนำหน้านามเพื่อให้รู้ว่านามนั้นเป็นเครื่องใช้หรือเป็นสิ่งที่ใช้เป็นเครื่องกระทำ เช่น ฟันด้วยมีด; ตาม เช่น ทำด้วยอารมณ์. สัน. เพราะ, เหตุ, เช่น ด้วยปรากฏว่า.

สงบ

หมายถึง[สะหฺงบ] ก. ระงับ เช่น สงบจิตสงบใจ สงบสติอารมณ์ สงบศึก, หยุดนิ่ง เช่น คลื่นลมสงบ พายุสงบ, กลับเป็นปรกติ เช่น เหตุการณ์สงบแล้ว, ปราศจากสิ่งรบกวน เช่น จิตใจสงบ, ไม่กำเริบ เช่น อาการไข้สงบลง ภูเขาไฟสงบ, ไม่วุ่นวาย เช่น บ้านเมืองสงบปราศจากโจรผู้ร้าย.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ