ค้นเจอ 175 รายการ

กรรมชรูป

หมายถึง[กำมะชะรูบ] น. รูปของคนและสัตว์. (ส.; ป. กมฺมชรูป ว่า รูปที่เกิดแต่กรรม).

กลางวัน

หมายถึงน. ระยะเวลาตั้งแต่ยํ่ารุ่งถึงยํ่าคํ่า, ระยะเวลาราว ๆ เที่ยง, เรียกอาหารระหว่างมื้อเช้ากับมื้อเย็นว่า อาหารกลางวัน.

กรรตุการก

หมายถึง[กัดตุ-] (ไว) น. ผู้ทำหรือผู้ใช้ให้ทำ เป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งใน ๒ ส่วนของประโยคที่ไม่ต้องมีกรรมมารับ เช่น เด็กวิ่ง วิ่ง เป็น กรรตุการก หรือเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งใน ๓ ส่วนของประโยคที่กริยาต้องมีกรรมรับ เช่น ตำรวจยิงผู้ร้าย ตำรวจ เป็น กรรตุการก. (ป., ส. การก ว่า ผู้ทำ).

โมฆียกรรม

หมายถึง(กฎ) น. นิติกรรมซึ่งอาจบอกล้าง เพิกถอน หรือให้สัตยาบันได้ ถ้าบอกล้างก็เป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรก ถ้าให้สัตยาบันก็มีผลสมบูรณ์มาแต่เริ่มแรก, กฎหมายเขียนเป็น โมฆียะกรรม.

ทำบุญ

หมายถึงก. ประกอบกรรมดี มีการเลี้ยงพระ ตักบาตร ถวายจตุปัจจัยแก่พระสงฆ์ เป็นต้น, ทำบุญทำกุศล ก็ว่า.

คล้อย

หมายถึง[คฺล้อย] ว. เพิ่งพ้นจากที่กำหนดไป เช่น เขาเพิ่งเดินคล้อยไปเมื่อสักครู่นี้. ก. บ่าย, ชาย, เรียกอาการที่ดวงตะวันเลยเที่ยงไปแล้วว่า ตะวันคล้อย, เรียกอาการที่ดวงจันทร์เลยเที่ยงคืนไปแล้วว่า เดือนคล้อย; หย่อนลง, ลดต่ำ, เรียกนมที่หย่อนลงเล็กน้อยว่า นมคล้อย.

ทิพยจักษุญาณ

หมายถึงน. ความรู้ในจุติและเกิดของสัตว์ทั้งหลาย, จุตูปปาตญาณ ก็เรียก. (ส. ทิพฺยจกฺษุ + ป. าณ; ป. ทิพฺพจกฺขุาณ).

เพล

หมายถึง[เพน] น. เวลาพระฉันกลางวัน คือ เวลาระหว่าง ๑๑ นาฬิกาถึงเที่ยง เรียกว่า เวลาเพล. (ป., ส. เวลา ว่า กาล).

กรม

หมายถึง[กฺรม] (โบ; กลอน) ย่อมาจากคำว่า กรรม เช่น อวยสรรพเพียญชนพิธี- กรมเสร็จกำนนถวาย. (ดุษฎีสังเวย).

อานิสงส์

หมายถึงน. ผลแห่งกุศลกรรม, ผลบุญ; ประโยชน์ เช่น อานิสงส์กฐิน. (ป. อานิสํส; ส. อานฺฤศํส, อานุศํส).

อนันตริยกรรม

หมายถึง[-ตะริยะกำ] น. กรรมที่ให้ผลไม่เว้นระยะ คือ กรรมที่เป็นบาปหนักที่สุด มี ๕ อย่าง คือ ๑. ฆ่าบิดา ๒. ฆ่ามารดา ๓. ฆ่าพระอรหันต์ ๔. ทำให้พระกายพระพุทธเจ้าห้อเลือด ๕. ทำให้สงฆ์แตกแยกกัน. (ป. อนนฺตริยกมฺม).

จุตูปปาตญาณ

หมายถึง[-ตูปะปาตะยาน] (แบบ) น. ความรู้ในจุติและเกิดของสัตว์ทั้งหลาย, ทิพยจักษุญาณ ก็เรียก. (ป.; ส. จฺยุตฺยุตฺปาตชฺาน).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ