ค้นเจอ 123 รายการ

วรรณกรรม

หมายถึงน. งานหนังสือ, งานประพันธ์, บทประพันธ์ทุกชนิดทั้งที่เป็นร้อยแก้วและร้อยกรอง, เช่น วรรณกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ วรรณกรรมของเสฐียรโกเศศ วรรณกรรมฝรั่งเศส วรรณกรรมประเภทสื่อสารมวลชน; (กฎ) งานนิพนธ์ที่ทำขึ้นทุกชนิด เช่น หนังสือ จุลสาร สิ่งเขียน สิ่งพิมพ์ ปาฐกถา เทศนา คำปราศรัย สุนทรพจน์ และหมายความรวมถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ด้วย.

วิสามัญฆาตกรรม

หมายถึง[วิสามันคาดตะกำ] (กฎ) น. ฆาตกรรมที่ผู้ตายถูกเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ฆ่าตาย หรือถูกฆ่าตายในระหว่างอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงาน ซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่.

เวชกรรม

หมายถึงน. การรักษาโรค.

เวสสุกรรม

หมายถึงน. พระวิศวกรรม, วิษณุกรรม วิสสุกรรม หรือ เพชฉลูกรรม ก็เรียก.

ศัสตรกรรม

หมายถึงน. การผ่าตัดทางแพทย์. (ส.).

ศิลปหัตถกรรม

หมายถึงน. ศิลปวัตถุที่เป็นผลงานประเภทศิลปะประยุกต์ มีจุดประสงค์และความต้องการในด้านประโยชน์ใช้สอย เช่น งานโลหะ งานถักทอ งานเย็บปักถักร้อย.

สถาปัตยกรรม

หมายถึง[สะถาปัดตะยะกำ] น. ศิลปะและวิทยาเกี่ยวกับงานก่อสร้างที่ประกอบด้วยศิลปลักษณะ. (ส. สฺถาปตฺย + กรฺมนฺ).

สังฆกรรม

หมายถึง[สังคะกำ] น. กิจที่พระสงฆ์ตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไปรวมกันทำภายในสีมา เช่น การทำอุโบสถ การสวดพระปาติโมกข์. (ส. สํฆ + กรฺมนฺ; ป. สงฺฆกมฺม).

เสวยกรรม

หมายถึง(วรรณ) ก. ตาย เช่น หนหลังเกรงแหล่งหล้า พระบาทคิดหนหน้า อยู่เกล้าเสวยกรรมฯ. (ลอ).

เสี่ยงบุญเสี่ยงกรรม

หมายถึงก. ลองทำดูโดยเชื่อว่าสุดแต่บุญหรือบาปจะบันดาลให้เป็นไป เช่น ลองเสี่ยงบุญเสี่ยงกรรมขอเด็กกำพร้ามาเลี้ยงดู ถ้าเขามีบุญก็จะได้ดิบได้ดีต่อไป.

ผลิตกรรม

หมายถึงน. การทำให้เป็นผล.

ผู้รับพินัยกรรม

หมายถึง(กฎ) น. บุคคลผู้มีสิทธิรับมรดกโดยพินัยกรรม.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ