ค้นเจอ 261 รายการ

ลูกขุนพลอยพยัก

หมายถึง(สำ) น. ผู้ที่คอยว่าตามหรือเห็นด้วยกับผู้ใหญ่เป็นเชิงประจบสอพลอเป็นต้น.

ปรับอาบัติ

หมายถึงก. เอาโทษเป็นผิดตามพระวินัย (ใช้แก่พระภิกษุ).

ยศช้างขุนนางพระ

หมายถึง(สำ) น. ยศที่ไม่สำคัญ ไม่จริงจัง และไม่สามารถให้คุณให้โทษแก่ใครได้.

อโหสิกรรม

หมายถึง[อะ-] น. กรรมที่เลิกให้ผล; การเลิกแล้วต่อกัน, การไม่เอาโทษแก่กัน. (ป. อโหสิกมฺม).

กระลี

หมายถึงน. สิ่งร้าย, โทษ. ว. ร้าย เช่น กระลีชาติ กระลียุค.

อาบัติ

หมายถึงน. โทษที่เกิดจากการล่วงละเมิดสิกขาบทหรือข้อห้ามแห่งภิกษุ มีโทษ ๓ สถาน คือ ๑. โทษสถานหนัก เรียกว่า ครุโทษ หรือ มหันตโทษ ทำให้ภิกษุผู้ต้องอาบัติขาดจากความเป็นภิกษุ ได้แก่ อาบัติปาราชิก ซึ่งเรียกว่า ครุกาบัติ ๒. โทษสถานกลาง เรียกว่า มัชฌิมโทษ ทำให้ภิกษุผู้ต้องอาบัติต้องอยู่กรรมก่อนจึงจะพ้นโทษ ได้แก่ อาบัติสังฆาทิเสส และ ๓. โทษสถานเบา เรียกว่า ลหุโทษ ทำให้ภิกษุผู้ต้องอาบัติที่ตํ่ากว่าอาบัติสังฆาทิเสสต้องปลงอาบัติ คือ บอกอาบัติของตนแก่ภิกษุด้วยกัน ได้แก่ อาบัติถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ และทุพภาษิต ซึ่งเรียกว่า ลหุกาบัติ. (ป., ส. อาปตฺติ).

นั่งห้าง

หมายถึงก. นั่งบนห้างที่ผูกขึ้นบนต้นไม้คอยยิงสัตว์.

คนใช้

หมายถึงน. คนที่มีหน้าที่คอยรับใช้, ลูกจ้างที่รับใช้ทำงานบ้าน.

เฉพาะ

หมายถึง[ฉะเพาะ] ว. โดยเจาะจง, เพ่งตรง, ตรงตัว; เผอิญ; แต่; จำกัด, เท่านี้, เท่านั้น. (ข. เฉฺพาะ).

กระหง่อง,กระหน่อง,กระหน่อง

หมายถึง(โบ; กลอน) ก. จ้อง, คอยดู, เช่น ตากตากระหง่องเตรียม คอยแม่ มาฤๅ. (นิ. ตรัง), ตระหง่อง หรือ ตระหน่อง ก็ใช้.

ทิมดาบ

หมายถึง(โบ) น. ทิมที่พวกขุนนางคอยเฝ้าฟังกระแสราชการ.

ชิงไหวชิงพริบ

หมายถึงก. ฉวยโอกาสโดยใช้ไหวพริบ, คอยจ้องดูชั้นเชิงของอีกฝ่ายหนึ่ง.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ