ค้นเจอ 137 รายการ

ชีพุก

หมายถึงน. พ่อ, ท่านพ่อ, เช่น ด่งงจริงชะรอยชีพุก หากทำทุกข์แก่มึงอย่าเลอย. (ม. คำหลวง ชูชก). (เทียบ ข. โอวพุก ว่า พ่อ).

เบญจศีล

หมายถึงศีล ๕ ได้แก่ ๑. งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ๒. งดเว้นจากการลักทรัพย์ ๓. งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม ๔. งดเว้นจากการพูดเท็จ ๕. งดเว้นจากการเสพสุราเมรัย คู่กับ เบญจธรรม

เสียกำได้กอบ,เสียกำแล้วได้กอบ

หมายถึง(สำ) ก. เสียน้อยไปก่อนแล้วจะได้มากในภายหลัง เช่น เสียหนึ่งนิ่งไว้นานไปคงได้สอง เสมือนหนึ่งของท่านหายมีที่ไว้ ข้าพเจ้าคงจะหามาให้ไม่ให้เดือดร้อน ยอมเสียกำไปก่อนนั่นแหละ จึงจะได้กอบ. (ม. ร่ายยาว ชูชก).

อะไร

หมายถึงส. คำใช้แทนนาม แสดงคำถาม เช่น อะไรอยู่ในตู้, คำใช้แทนนามที่ไม่เฉพาะเจาะจง เช่น อะไรก็เกิดขึ้นได้เสมอ. ว. ไร, ไหน, เช่น เขาห่มผ้าอะไรก็ได้ทั้งนั้น ท่านไปซื้อของอะไรมา.

ท้าทาย

หมายถึงก. ชวนวิวาท เช่น เพราะเขาว่าท้าทายว่าจะทำอันตรายแก่ท่านไท้บรมนาถราชบิดา. (ม. ร่ายยาว วนปเวสน์); ชวนให้ทดลองความรู้ความสามารถ เช่น ท้าทายปัญญา ท้าทายความสามารถ.

กวาน,กว่าน

หมายถึง[กฺวาน, กฺว่าน] น. ขุนนาง เช่น แล้วบัญชาสั่งเสียพวกเพี้ยกวาน ให้ไปเชิญสองท่านแม่ทัพใหญ่. (ขุนช้างขุนแผน), เพลี้ยกว่านบ้านท้าวไข้ ข่าวสยวน. (ยวนพ่าย).

ปัจเจกสมาทาน

หมายถึง[ปัดเจกะสะมาทาน] น. การสมาทานศีลทีละสิกขาบท เรียกว่า ปัจเจกสมาทาน, ถ้าสมาทานรวบท้าย เช่นว่า พุทฺธปญฺตฺตํ อุโปสถํ สมาทิยามิ หรือ อฏฺ สีลานิ สมาทิยามิ เรียกว่า เอกัชฌสมาทาน. (ป.).

แครงเครียว

หมายถึง[แคฺรงเคฺรียว] (โบ; กลอน) ว. แรงมาก, โบราณเขียนเป็น แครงครยว ก็มี เช่น ท่านนี้แครงครยว คืนคํ่าขํ่าขยว จักขอสักอัน. (ม. คำหลวง มหาพน).

ขาด

หมายถึงก. แยกออกจากกันเพราะถูกดึง ตัด หรือฉีก เป็นต้น เช่น เชือกขาด แขนขาด ผ้าขาด; ควรจะมีแต่ไม่มี เช่น เศรษฐีขาดไฟ; มีไม่ครบ, มีไม่เต็ม, เช่น ขาดคุณสมบัติ; ไม่ครบ, บกพร่อง, เช่น ศีลขาด; ไม่เต็มตามจำนวน เช่น นับเงินขาด; ไม่มาตามกำหนด เช่น ขาดเรียน ขาดประชุม.

เสียเส้น

หมายถึงก. เสียจังหวะ เช่น เขากำลังเล่าเรื่องตื่นเต้น เธอก็พูดขัดคอขึ้นมา ทำให้เสียเส้นหมด, พลาดโอกาสที่หวังไว้หรือที่ตั้งใจไว้ เช่น เตรียมจัดงานใหญ่โตเพื่อต้อนรับผู้ใหญ่ แต่ปรากฏว่าท่านไม่มา ทำให้เสียเส้นหมด.

ตจปัญจกกรรมฐาน

หมายถึง[ตะจะปันจะกะกำมะถาน] น. กรรมฐานอันบัณฑิตกำหนดด้วยอาการมีหนังเป็นที่ ๕ เป็นอารมณ์ คือ กรรมฐานที่ท่านสอนให้พิจารณาส่วนต่าง ๆ ของร่างกายตั้งแต่ผม ขน เล็บ ฟัน ไปถึงหนังเป็น ๕ อย่าง. (ป.).

พณ,ฯพณฯ

หมายถึง[พะนะท่าน] น. คำนำหน้าชื่อหรือตำแหน่งข้าราชการผู้ใหญ่ชั้นรัฐมนตรี เอกอัครราชทูต เป็นต้น. (ย่อมาจากคำ พณหัว พณหัวเจ้า พณหัวเจ้าท่าน).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ