ค้นเจอ 118 รายการ

ลดหย่อน

หมายถึงก. ผ่อนให้เบาลง เช่น ลดหย่อนภาษี ขอลดหย่อนดอกเบี้ยจากร้อยละ ๑๒ เป็นร้อยละ ๑๐, ทุเลา เช่น ลดหย่อนโทษ.

ปรับ

หมายถึง[ปฺรับ] ก. เปรียบ, เทียบ; ทำให้อยู่ในสภาพที่เหมาะหรือดีขึ้น, ทำให้เรียบ, ทำให้เสมอ; ลงโทษให้ใช้เงินเพราะทำผิด, ลงโทษให้เป็นแพ้; (กฎ) น. โทษทางอาญาสถานหนึ่ง ซึ่งผู้ต้องโทษต้องชำระเงินตามจำนวนที่กำหนดไว้ในคำพิพากษาต่อศาล หรือตามที่เจ้าพนักงานเปรียบเทียบ เรียกว่า โทษปรับ.

กระลำ

หมายถึง(กลอน; ย่อมาจาก กระลำพร) น. โทษใหญ่, ความฉิบหาย, เช่น จะเกิดกระลีกระลำแต่ล้วนร้อนใจ. (โชค-โบราณ). (ดู กลัมพร).

ฟ้าเคืองสันหลัง

หมายถึง(สำ) น. เคราะห์กรรมหรือโทษทัณฑ์ร้ายแรงที่เกิดจากอำนาจเบื้องบนหรือผู้ปกครอง เช่น ต่อฟ้าเคืองสันหลังจึงรำพัน. (ขุนช้างขุนแผน).

ฉิน

หมายถึงก. ติ, ติเตียน, เช่น สามสิ่งนี้โหดให้ โทษแท้คนฉิน. (โลกนิติ), มักใช้เข้าคู่กับคำ ติ เป็น ติฉิน.

ทัณฑ,ทัณฑ-,ทัณฑ์

หมายถึง[ทันดะ-, ทันทะ-, ทัน] น. โทษที่เนื่องด้วยความผิด; (กฎ) โทษทางวินัยสถานหนึ่งที่ใช้แก่ข้าราชการบางจำพวก เช่น ทหาร ตำรวจ. (ป., ส.).

คชลักษณ์

หมายถึงน. รูปพรรณสัณฐานของช้างต่าง ๆ ซึ่งดีและชั่ว, ประเภทตำราแสดงรูปพรรณสัณฐานของช้างต่าง ๆ ซึ่งดีและชั่ว ถ้าได้ไว้จะให้คุณหรือโทษแก่เจ้าของ.

อาสัญ

หมายถึง(แบบ) น. ความตาย. (วรรณ) ก. ตาย เช่น โทษลูกนี้ผิดเป็นนักหนา ดังแกล้งผลาญมารดาให้อาสัญ. (สังข์ทอง). (ป. อสญฺ ว่า ไม่มีสัญญา).

ราชทัณฑ์

หมายถึงน. อาญาพระเจ้าแผ่นดิน, โทษหลวง, เช่น ต้องราชทัณฑ์, เรียกกรมที่มีหน้าที่ลงโทษจำคุกผู้กระทำผิดตามตัวบทกฎหมายควบคุมอบรมฝึกวิชาชีพให้แก่ผู้กระทำผิด พักการลงโทษและคุมประพฤติ และขอพระราชทานอภัยโทษ ปลดปล่อยและสงเคราะห์ผู้พ้นโทษ เป็นต้น ว่า กรมราชทัณฑ์. (ป., ส.).

ลิ่มเลือด

หมายถึงน. เลือดซึ่งแปรรูปคล้ายวุ้น มีทั้งประโยชน์และโทษ ที่มีประโยชน์เกิดนอกร่างกาย เช่นเวลาเป็นแผลมีเลือดออกแล้วแข็งเป็นลิ่ม เลือดก็จะหยุดไหล ที่มีโทษเกิดภายในร่างกายซึ่งเกิดจากการผิดปรกติบางอย่างของร่างกาย อาจทำให้เกิดอันตรายร้ายแรงได้โดยไปอุดตามหลอดเลือดฝอย เช่นที่สมอง ทำให้เป็นอัมพาต ที่หัวใจ ทำให้หัวใจวาย.

สติวินัย

หมายถึงน. วิธีระงับอนุวาทาธิกรณ์ของสงฆ์โดยไม่ต้องพิจารณา เพียงแต่สวดกรรมวาจาประกาศความไม่มีโทษของจำเลยไว้ซึ่งเรียกว่า ให้สติวินัย แล้วยกฟ้องของโจทก์เสีย. (ป.).

กลัมพร

หมายถึง[กะลำพอน] (แบบ) น. โทษใหญ่, ความฉิบหาย, เช่น มาทำกลัมพรภัย. (เสือโค), อันจ่อมกลัมพรภัย. (สมุทรโฆษ), ในบทกลอนโดยมากใช้แผลงเป็น กระลำพร หรือ กระลำ ก็มี.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ