ค้นเจอ 119 รายการ

เส็งเคร็ง

หมายถึงว. เลว, ไม่ดี, ไม่มีค่า, ไม่มีราคา, เช่น ของเส็งเคร็งไม่มีใครต้องการ ป่านี้ไม้ดี ๆ ถูกตัดไปหมดแล้ว เหลือแต่ไม้เส็งเคร็ง.

กฎหมายอาญา

หมายถึง(กฎ) น. กฎหมายที่กำหนดลักษณะของการกระทำที่ถือว่าเป็นความผิด และกำหนดบทลงโทษทางอาญาสำหรับความผิดนั้น. (อ. criminal law).

จิตนิยม

หมายถึง[จิดตะ-] น. ลัทธิที่เชื่อว่าจิตเท่านั้นเป็นความแท้จริงขั้นสูงสุด วัตถุทั้งหลายเป็นเพียงสิ่งที่จิตคิดขึ้น. (อ. idealism).

สันดาน

หมายถึงน. อุปนิสัยที่มีมาแต่กำเนิด เช่น มีสันดานดี มีสันดานเลว, (ปาก) มักใช้ไปในทางไม่สู้จะดี เช่นสันดานของเขาเป็นเช่นนั้น อย่าไปถือเลย. (ป., ส. สนฺตาน ว่า สืบต่อ).

ขำ

หมายถึงน. สิ่งหรือข้อความที่มีนัย ไม่ควรเปิดเผย เช่น แล้วทูลว่านางคันธมาลี ให้ข้านี้นำของมาถวาย เป็นความขำกำชับมามากมาย พลางยอบกายเข้าไปให้ใกล้ชิด. (คาวี).

กระชิง

หมายถึงน. เครื่องเข้ากระบวนแห่ของหลวงชนิดหนึ่ง เช่น กระชิงหุ้มผ้าแดงได้แต่หลานหลวงอยู่ในวัง อยู่นอกวังกระชิงหุ้มผ้าขาวเลว. (กฎมนเทียรบาล). (ดู กรรชิง).

โรคประสาท

หมายถึงน. โรคทางจิตใจที่มีความกังวลเป็นอาการสำคัญ คนไข้อาจมีอาการแสดงออกเป็นความกังวล เช่น กลุ้มใจ หงุดหงิด หรืออาจแสดงออกเป็นอาการทางกาย เช่น ใจสั่น เหงื่อออก เป็นลม กลัวที่สูง. (อ. neurosis).

สุขารมณ์

หมายถึง[สุ-] น. อารมณ์ที่มีสุข เช่น เขาเดินผิวปากอย่างสุขารมณ์; เรียกลัทธิที่ถือว่าความสุขทางผัสสะหรือโลกียสุขในชีวิตปัจจุบันเป็นสิ่งสูงสุดหรือเป็นความดีสูงสุดของชีวิตว่า คติสุขารมณ์. (ป. สุข + อารมฺมณ).

ของกลาง

หมายถึงน. ของที่ใช้ร่วมกัน; (กฎ) ของที่ทำหรือมีไว้เป็นความผิด หรือที่ได้มาโดยได้กระทำความผิด หรือที่ได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด หรือที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิด หรือที่สงสัยว่าเป็นของดังกล่าว ซึ่งเจ้าพนักงานได้ยึดไว้เพื่อใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีอาญา.

ส้อมเสียง

หมายถึงน. อุปกรณ์ทำด้วยโลหะเป็นรูปอักษร U มีก้านสำหรับจับยึด เมื่อเคาะจะเกิดเสียงที่มีความถี่คงที่ เป็นเวลานาน ใช้เป็นความถี่อ้างอิง เช่นใช้เทียบเสียงเครื่องดนตรี.

ธรณีสูบ

หมายถึงก. อาการที่แผ่นดินแยกออกทำให้คนที่ทำบาปกรรมอย่างยิ่งตกลงหายไป แล้วแผ่นดินก็กลับเป็นอย่างเดิม เป็นความเชื่อทางพระพุทธศาสนาว่า ธรรมชาติจะลงโทษคนที่ทำบาปหนักนั้นเอง โดยผู้อื่นไม่ต้องลงโทษ.

เสียสายตา

หมายถึงก. ทำให้สายตาเสื่อมลงหรือเลวลง เช่น อย่าอ่านหนังสือในที่ที่มีแสงสว่างน้อย จะทำให้เสียสายตา; โดยปริยายใช้ในความดูถูกดูหมิ่น เช่น ของอย่างนี้ ฉันไม่ดูให้เสียสายตาหรอก, เสียตา ก็ว่า.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ