ค้นเจอ 131 รายการ

โสดาปัตติผล

หมายถึง[-ปัดติผน] น. ธรรมที่พระโสดาบันได้บรรลุ, บางทีก็กร่อนเป็น โสดา เช่น บรรลุโสดา. (ป. โสตาปตฺติผล; ส. โสฺรตสฺ + อาปตฺติ + ผล).

อาชญัปติ,อาชญัปติ์

หมายถึง[อาดยับติ, อาดยับ] น. ข้อบังคับ, คำสั่ง, กฎ, ใช้ว่า อาญัปติ์ ก็มี เช่น รัตนาญัปติ์. (ส. อาชฺปฺติ; ป. อาณตฺติ).

สัตยาบัน

หมายถึงน. (กฎ) การยืนยันรับรองความตกลงระหว่างประเทศที่ได้กระทำขึ้นไว้; การรับรองนิติกรรมที่เป็นโมฆียะอันเป็นผลให้นิติกรรมนั้นสมบูรณ์มาแต่เริ่มแรก; (กลอน) การอ้างความสัตย์. (ส. สตฺย + อาปนฺน).

นาศ

หมายถึง(แบบ) น. ความเสื่อม, การทำลาย, ความป่นปี้, เช่น บุญแห่งเจ้าจักนาศ จากอาวาศเวียงอินทร์. (ม. คำหลวง ทศพร). (ส.; ป. นาส).

อังกุระ,อังกูร

หมายถึง[-กูน] น. หน่อ, หน่อเนื้อเชื้อไข, เชื้อสาย; มักใช้ อังกูร เป็นส่วนท้ายของสมาส เป็น อางกูร เช่น พุทธางกูร นรางกูร. (ป., ส.).

ขย,ขย-

หมายถึง[ขะยะ-] (แบบ) น. ความสิ้นไป, ความเสื่อมไป, โดยมากใช้ในสมาส เช่น ขยธรรม อาสวักขยญาณ, ถ้าใช้โดด ๆ หรือเป็นคำท้ายสมาส เป็น ขัย เช่น อายุขัย. (ป.).

อารัมภ,อารัมภ-,อารัมภะ,อารัมภ์

หมายถึง[อารำพะ-] น. การปรารภ มักใช้เป็นส่วนหน้าของคำสมาส เช่น อารัมภบท อารัมภกถา; การเริ่มต้น, การตั้งต้น, ในคำว่า วิริยารัมภะ = การเริ่มต้นความเพียร; ความเพียร. (ป., ส.).

อิทธิปาฏิหาริย์

หมายถึงน. ฤทธิ์เป็นอัศจรรย์ หมายถึง การแสดงฤทธิ์ที่พ้นวิสัยของสามัญมนุษย์ได้อย่างน่าอัศจรรย์, เป็นปาฏิหาริย์อย่าง ๑ ในปาฏิหาริย์ ๓ ได้แก่ อิทธิปาฏิหาริย์ อาเทสนาปาฏิหาริย์ และอนุสาสนีปาฏิหาริย์. (ป.).

นาค,นาค,นาคา,นาคา

หมายถึง[นาก] น. ชื่อชนเผ่าหนึ่งอยู่ในบริเวณเทือกเขานาค ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอินเดีย และทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศพม่า มีหลายสาขา เช่น อาโอนาค กูกินาค.

อนุสาสนีปาฏิหาริย์

หมายถึงน. การสอนเป็นอัศจรรย์ หมายถึง คำสั่งสอนอันอาจจูงใจคนให้นิยมเชื่อถือไปตามได้อย่างน่าอัศจรรย์, เป็นปาฏิหาริย์อย่าง ๑ ในปาฏิหาริย์ ๓ ได้แก่ อิทธิปาฏิหาริย์ อาเทสนาปาฏิหาริย์ และอนุสาสนีปาฏิหาริย์.

อาภัสระ

หมายถึง[-พัดสะระ] น. ชื่อพรหมโลกชั้น ๑ ในรูปพรหม ๑๖ ชั้น, เรียกพรหมซึ่งอยู่ชั้นนี้ว่า อาภัสรพรหม. ว. สว่าง, สุกใส, เปล่งปลั่ง. (ป. อาภสฺสร).

วิชชา

หมายถึง[วิด-] น. ความรู้แจ้ง เช่น วิชชา ๓ วิชชา ๘ ในพระพุทธศาสนา, วิชชา ๓ คือ ๑. บุพเพนิวาสานุสติญาณ (รู้จักระลึกชาติได้) ๒. จุตูปปาตญาณ (รู้จักกำหนดจุติและเกิด) ๓. อาสวักขยญาณ (รู้จักทำอาสวะให้สิ้น), ส่วนวิชชา ๘ คือ ๑. วิปัสสนาญาณ (ญาณอันนับเข้าในวิปัสสนา) ๒. มโนมยิทธิ (ฤทธิ์ทางใจ) ๓. อิทธิวิธิ (แสดงฤทธิ์ได้) ๔. ทิพโสต (หูทิพย์) ๕. เจโตปริยญาณ (รู้จักกำหนดใจผู้อื่น) ๖. บุพเพนิวาสานุสติญาณ ๗. ทิพจักขุ (ตาทิพย์) ๘. อาสวักขยญาณ. (ป. วิชฺชา; ส. วิทฺยา).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ