ค้นเจอ 312 รายการ

ยอก

หมายถึงก. ตำฝังอยู่ในเนื้อ เช่น หนามยอกเอาหนามบ่ง, รู้สึกเจ็บแปลบคล้ายมีอะไรมาเสียดแทง เช่น รู้สึกยอกอก, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น หนามยอกอก.

ออกแขก

หมายถึงก. ต้อนรับแขก; แสดงต่อหน้าแขก, แสดงตัวในสังคม; อาการที่ลิเกตัวแขกออกมาบอกเรื่องที่จะแสดง. น. การแสดงลิเกตอนที่มีตัวแขกออกมาบอกเรื่องที่จะแสดง.

กระแหน,-กระแหน

หมายถึง[-แหฺน] ใช้เข้าคู่กับคำ กระหนอ และ กระแหนะ เป็น กระหนอกระแหน และ กระแหนะกระแหน.

กระอึด

หมายถึง(โบ; กลอน) ก. อึดอัด, สะอึก, เช่น กระอึดอกเซนเซน ช่วยเหน้า. (กำสรวล).

กลอักษร

หมายถึง[กน-, กนละ-] น. ชื่อเพลงยาวกลบทที่ซ่อนเงื่อนไว้ให้อ่านฉงน ตัวอย่างว่า โอ้อกเอ๋ยแสนวิตก กระไรเลยระกำใจ จะจากไกลไม่เคย ให้อ่านว่า โอ้อกเอ๋ยแสนวิตกโอ้อกเอ๋ย กระไรเลยระกำใจกระไรเลย จะจากไกลไม่เคยจะจากไกล. (กลอักษรงูกลืนหาง). (จารึกวัดโพธิ์).

โล่งหู

หมายถึงก. รู้สึกสบายอกสบายใจเพราะไม่ได้ยินเสียงที่เคยทำให้รำคาญหูอยู่เป็นประจำ.

ผ้าแถบ

หมายถึงน. ผ้าผืนยาว ๆ แคบ ๆ ใช้ห่มคาดหน้าอกต่างเสื้อ.

กระวน

หมายถึง(กลอน) ก. วนเวียน, วุ่น, หวน, เช่น กระเวนกระวนกาม กวนอก พี่นา. (นิ. นรินทร์).

กระเอิบ

หมายถึง(กลอน) ก. เอิบ, อิ่ม, เช่น เถ้ากระเอิบเรอสมออกแล. (ม. คำหลวง กุมาร).

เสลด

หมายถึง[สะเหฺลด] น. เสมหะ, เมือกที่ออกจากลำคอ ทรวงอก และลำไส้. (เทียบ ส. เศฺลษฺม).

น้อยใจ,น้อยเนื้อต่ำใจ,น้อยอกน้อยใจ

หมายถึงก. รู้สึกเสียใจที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมเป็นต้น.

สู

หมายถึง(วรรณ) ว. อาย เช่น มาเดียวเปลี่ยวอกอ้า อายสู. (ตะเลงพ่าย).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ