ค้นเจอ 170 รายการ

รากเหง้า

หมายถึงน. ต้นเหตุ เช่น โลภ โกรธ หลง เป็นรากเหง้าของความชั่วทั้งปวง; เหง้า, ลำต้นที่อยู่ในดินของพืชบางชนิด เช่น กล้วย บอน ขิง ข่า.

กับ

หมายถึงน. เครื่องดักสัตว์ชนิดหนึ่ง มีลิ้นหรือไก เมื่อไปกระทบเข้าก็จะปิดหรืองับทันที, โดยปริยายหมายถึงอุบายที่ใช้ล่อให้หลงเชื่อ.

สติไม่ดี

หมายถึงว. บ้า ๆ บอ ๆ; หลง ๆ ลืม ๆ เช่น หมู่นี้สติไม่ดี ทำงานผิดพลาดบ่อย ๆ.

เสียรอย

หมายถึง(วรรณ) ก. ทำรอยให้หลงเข้าใจผิด เช่น แล้วเสียรอยถอยหลังลงสู่สระศรี. (ม. ร่ายยาว กุมาร).

ยั้ว,ยั้วเยี้ย

หมายถึงว. อาการที่คนหรือสัตว์จำนวนมากเคลื่อนไหวขวักไขว่ไปมา เช่น ลูกเต้ายั้วเยี้ยไปหมด หนอนไต่กันยั้วเยี้ย ฝูงลิงไต่ยั้วเยี้ยอยู่บนยอดไม้.

สาไถย

หมายถึงน. การแสร้งทำให้เขาหลงผิดเข้าใจผิด, มักใช้เข้าคู่กับคำ มารยา เป็น มารยาสาไถย. (ป. สาเยฺย; ส. ศาฐฺย).

เลห,เล่ห์

หมายถึงน. กลอุบายหรือเงื่อนงำอันอาจทำให้คนอื่นหลงผิด เข้าใจผิด, ใช้ว่า เล่ห์กล ก็มี. ว. คล้าย, เปรียบ, เช่น, เหมือน.

ขล้ง

หมายถึง[ขฺล้ง] (ถิ่น-ปักษ์ใต้) ก. เผลอไผล, หลง ๆ ลืม ๆ, เช่น แก่มากจนขล้ง. ว. ฟุ้งไป, กระจายไป, เช่นกลิ่นขล้งไปทั้งห้อง.

ต้ม

หมายถึงก. กิริยาที่เอาของเหลวเช่นนํ้าใส่ภาชนะแล้วทำให้ร้อนให้เดือดหรือให้สุก เช่น ต้มนํ้า ต้มข้าว ต้มมัน; ทำให้สะอาดและสุกปลั่ง เช่น ต้มผ้า ต้มทอง ต้มเงิน. ว. เรียกสิ่งที่ต้มแล้ว เช่น นํ้าต้ม ข้าวต้ม มันต้ม; (ปาก) โดยปริยายใช้ว่าล่อลวงให้หลง, ผู้ถูกล่อลวงให้หลง เรียกว่า ผู้ถูกต้ม.

กิเลส,กิเลส-

หมายถึง[-เหฺลด, -เหฺลดสะ-] น. เครื่องทำใจให้เศร้าหมอง ได้แก่ โลภ โกรธ หลง เช่น ยังตัดกิเลสไม่ได้ กิเลสหนา; กิริยามารยาท ในคำว่า กิเลสหยาบ.

ไล่ต้อน

หมายถึงก. ไล่สกัดกั้นให้ไปตามที่ต้องการ เช่น ไล่ต้อนเป็ดเข้าเล้า สุนัขไล่ต้อนฝูงแกะ นักมวยไล่ต้อนคู่ชกให้เข้ามุม.

สลายตัว

หมายถึงก. เปลี่ยนสภาพ เช่น ยาบางชนิดสลายตัวในน้ำ; อาการที่ฝูงชนซึ่งรวมตัวกันเพื่อประท้วงเป็นต้นแล้วต่อมาได้แยกย้ายกันไป เช่น กลุ่มชนที่มาประท้วงได้สลายตัวไปหมดแล้ว.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ