ค้นเจอ 5,908 รายการ

โสณะ

หมายถึงน. ต้นไม้ชนิดหนึ่ง. (พจน. ๒๔๙๓). (ป.; ส. โศณ).

พณ,ฯพณฯ

หมายถึง[พะนะท่าน] น. คำนำหน้าชื่อหรือตำแหน่งข้าราชการผู้ใหญ่ชั้นรัฐมนตรี เอกอัครราชทูต เป็นต้น. (ย่อมาจากคำ พณหัว พณหัวเจ้า พณหัวเจ้าท่าน).

พจน,พจน-,พจน์,พจน์

หมายถึง[พดจะนะ-, พด] น. คำพูด, ถ้อยคำ. (ป. วจน).

นเรนทรสูร,นเรศ,นเรศวร,นเรศูร

หมายถึง[นะเรนทฺระสูน, นะเรด, นะเรสวน, นะเรสูน] (แบบ) น. พระราชา. (ส. นร + อินฺทฺร + สูร, นร + อีศ, นร + อีศฺวร).

หมายถึงพยัญชนะตัวที่ ๔๐ เป็นพวกอักษรสูง ใช้ได้ทั้งเป็นพยัญชนะตัวต้นและตัวสะกดในแม่กดในคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นต้น เช่น สวย สงสาร สวิตช์ รส สัมผัส สวิส.

หมายถึงคำประกอบหน้าคำอื่นที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต บ่งความว่า กอบด้วย, พร้อมด้วย, เช่น สเทวก ว่า พร้อมด้วยเทวดา. (ป., ส.).

นราธิเบศร์

หมายถึงน. พระมหากษัตริย์. (ส. นร + อธิป + อินฺทฺร; ป. นร + อธิป + อิสฺสร).

นราธิเบนทร์

หมายถึงน. พระมหากษัตริย์. (ส. นร + อธิป + อินฺทฺร; ป. นร + อธิป + อิสฺสร).

ศวศุระ

หมายถึงน. พ่อตา, พ่อผัว. (ส. ศฺวศุร; ป. สสฺสุร).

วิเรนทร์

หมายถึงน. จอมนักรบ, พระเจ้าแผ่นดิน. (ส. วีร + อินฺทฺร).

ทุรัศ

หมายถึง(กลอน) ว. ไกล เช่น ทุรัศกันดาร. (ส.; ป. ทูร).

วรรณ,วรรณ-,วรรณะ

หมายถึง[วันนะ-] น. สี เช่น เบญจวรรณ แปลว่า ๕ สี, มักใช้เข้าคู่กับคำ สีสัน เป็น สีสันวรรณะ; ผิว เช่น ขอให้เจริญด้วยอายุ วรรณะ สุขะ พละ, มักใช้เข้าคู่กับคำ ผิวพรรณ เป็น ผิวพรรณวรรณะ; ชั้นชน, ในสังคมฮินดูแบ่งคนออกเป็น ๔ วรรณะ คือ พราหมณ์ กษัตริย์ แพศย์ ศูทร; หนังสือ เช่น วรรณกรรม วรรณคดี. (ส. วรฺณ; ป. วณฺณ).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ