ค้นเจอ 2,227 รายการ

สรวลเส,สรวลเสเฮฮา

หมายถึงก. หัวเราะร่าเริง, หัวเราะอย่างสนุกสนานครึกครื้น, เช่น เขาชอบหาเรื่องขำขันมาเล่า ทำให้เพื่อน ๆ ได้สรวลเสเฮฮาเสมอ, เสสรวล ก็ว่า.

รู้เช่นเห็นชาติ

หมายถึง(สำ) ก. รู้กำพืด, รู้นิสัยสันดาน, เช่น เขาชอบหักหลังคนอื่น เพื่อน ๆ รู้เช่นเห็นชาติมานานแล้ว.

เสีย

หมายถึงก. เสื่อมลงไป, ทำให้เลวลงไป, เช่น เสียเกียรติ เสียศักดิ์ศรี เสียชื่อ; สูญไป, หมดไป, สิ้นไป, เช่น เสียแขน เสียชีวิต เสียทรัพย์; ชำรุด เช่น ถนนเสีย ทางเสีย; ใช้ไม่ได้ เช่น เครื่องไฟฟ้าเสียหมดทุกอย่าง รถเสียกลางทาง; ยับเยิน, ย่อยยับ, เช่น ปีนี้ฝนแล้งจัดเรือกสวนไร่นาเสียหมด, เสียหาย ก็ว่า; บูด เช่น แกงหม้อนี้เสียหมดทั้งหม้อ, เน่า เช่น ผลไม้เข่งนี้เสียแล้ว; ไม่ดี เช่น ราขึ้น ขนมปังจึงเสียหมดทั้งแถว เธอดัดผมบ่อยเกินไป ทำให้ผมเสีย; จ่ายเงิน, ชำระเงิน, เช่น เสียภาษี เสียค่าโทรศัพท์; หมดทรัพย์สินไปเพราะการพนัน เช่น เสียไพ่ เสียม้า; ตาย เช่น เขาเสียไปหลายปีแล้ว; (โบ) ทิ้ง เช่น ที่ขวากหนามอย่าเสียเกือก. (สุภาษิตพระร่วง), เสียไฟเป่าหิ่งห้อย. (ลอ). ว. ที่ไม่ดี เช่น นิสัยเสีย น้ำเสีย; พิการ เช่น ตาเสีย ขาเสีย; บูด เช่น อย่ากินแกงเสีย จะปวดท้อง.

เสีย

หมายถึงคำประกอบท้ายกริยาหรือวิเศษณ์ เพื่อให้เน้นความหมายหรือให้เสร็จไป เช่น กินเสีย มัวไปช้าเสีย.

เสียเช่น

หมายถึง(วรรณ) ว. มีกำเนิดไม่ดี เช่น บ้างก็ดุเดือดด่าขู่เขี้ยวเข็ญ ว่าอีชาติชั่วอีเสียเช่นชาติมันไม่ดี. (ม. ร่ายยาว ชูชก).

เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย

หมายถึง(สำ) ก. เสียเพียงเล็กน้อยไม่ยอมเสีย ทำให้ต้องเสียมากกว่าเดิม เช่น ตอนที่เบรกรถยนต์เริ่มไม่ดี ก็ไม่รีบไปซ่อม พอเบรกแตกไปชนต้นไม้เข้า เลยต้องเสียค่าซ่อมมาก เข้าทำนองเสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย.

ส่งสายตา

หมายถึงก. มองโดยมีเจตนาให้อีกฝ่ายหนึ่งรู้ว่าตนมีความรู้สึกพอใจ ไม่พอใจ อ้อนวอน หรือเพื่อเป็นการปรามเป็นต้น เช่น ส่งสายตาปรามไม่ให้เพื่อนพูด.

ถ้ามีก็แบ่งปัน

หมายถึงเชิญชวนให้ช่วยกันบริจาคข้าวของใส่ตู้ปันสุข เพื่อร่วมแบ่งปันให้เพื่อนมนุษย์ที่ต้องการความช่วยเหลือในช่วงวิกฤติ COVID-19

ขโมย

หมายถึง[ขะ-] น. ผู้ลักทรัพย์. ก. ลัก, โดยปริยายหมายความว่า ลอบทำสิ่งที่ตนไม่มีสิทธิ์หรือไม่ได้รับอนุญาต เช่น เด็กขโมยสูบบุหรี่ เขาขโมยอ่านจดหมายเพื่อน.

ชดเชย

หมายถึงก. ใช้แทนสิ่งที่เสียไป, เพิ่มเติม.

เออ

หมายถึงอ. คำที่เปล่งออกมาเพื่อบอกรับหรืออนุญาต, มักเป็นคำที่ผู้ใหญ่ใช้กับผู้น้อย หรือระหว่างเพื่อนที่สนิทสนมกัน, คำที่เปล่งออกมาแสดงว่านึกเรื่องที่จะถามหรือจะพูดขึ้นได้.

หนักใจ

หมายถึงก. วิตก เช่น เขาหนักใจในการสอบครั้งนี้. ว. ลำบากใจ เช่น เขารู้สึกหนักใจที่ต้องไปค้ำประกันลูกของเพื่อน, บางทีใช้เข้าคู่กับคำ หนักอก เป็น หนักอกหนักใจ.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ