ค้นเจอ 138 รายการ

กัลยาณ,กัลยาณ-

หมายถึง[กันละยานะ-] ว. งาม, ดี, ใช้เป็นบทหน้าสมาส เช่น กัลยาณคุณ = คุณอันงาม กัลยาณธรรม = ธรรมอันดี กัลยาณมิตร = มิตรดี. (ป., ส.).

กำหนด

หมายถึง[-หฺนด] ก. หมายไว้, ตราไว้. น. การหมายไว้, การตราไว้; (เลิก) บทบริหารบัญญัติคล้ายพระราชกฤษฎีกา โดยมากเป็นบัญญัติที่เกี่ยวกับบุคคลหรือข้าราชการบางจำพวก เช่น พระราชกำหนดเครื่องแบบแต่งกายข้าราชการฝ่ายทหารและพลเรือน.

ส่งท้าย

หมายถึงก. พายกระตุ้นท้ายเรือเพื่อให้แล่นเร็ว เช่น เมื่อใกล้จะถึงเส้นชัยนายท้ายก็เร่งพายส่งท้าย; พูดหรือทำท้ายสุดเพื่ออำลา เช่น เขียนบทส่งท้ายต้องไว้ฝีมือหน่อย ส่งท้ายการเลี้ยงด้วยการให้พร.

นั่งราว

หมายถึงว. เรียกอาการที่ตัวโขนแสดงบทของตนแล้วไปนั่งประจำที่บนราวที่พาดไปตามส่วนยาวของโรงตรงหน้าฉากแทนนั่งเตียงว่า โขนนั่งราว หรือ โขนโรงนอก.

ชาตรี

หมายถึง[-ตฺรี] น. ผู้ที่มีศิลปะวิชาอาคมหรือมีฝีไม้ลายมือในการต่อสู้ เช่น ชายชาตรี; ละครต้นแบบของละครรำ เล่นกันเป็นพื้นบ้านทั่วไป มีตัวละครน้อย เดิมเป็นชายล้วน ตัวละครที่ไม่สำคัญมักไม่แต่งตัวยืนเครื่อง กระบวนรำไม่สู้งดงามประณีตนัก เรียกว่า ละครชาตรี; ชื่อเพลงบทละครและเพลงอื่น ๆ ที่มีคำ ชาตรี นำหน้า คือ ชาตรีตะลุง ชาตรีใน. (เงาะป่า; บทแผ่นเสียง; ศกุนตลา).

ศาลอาญาศึก

หมายถึง(กฎ) น. ศาลที่ตั้งขึ้นเมื่อหน่วยทหารหรือเรือรบอยู่ในยุทธบริเวณ เพื่อพิจารณาพิพากษาคดีอาญาทั้งปวงซึ่งการกระทำผิดเกิดขึ้นในเขตอำนาจได้ทุกบทกฎหมายและไม่จำกัดตัวบุคคล.

ตำนาน

หมายถึงน. เรื่องแสดงกิจการอันมีมาแล้วแต่ปางหลัง, เรื่องราวนมนานที่เล่ากันสืบ ๆ มา, เช่น ตำนานพุทธเจดีย์สยาม; เรียกพระปริตรบทหนึ่ง ๆ ว่า ตำนาน ในคำว่า เจ็ดตำนาน สิบสองตำนาน.

โศลก

หมายถึง[สะโหฺลก] น. คำประพันธ์ในวรรณคดีสันสกฤต ๔ บาท เป็น ๑ บท ตามปรกติมีบาทละ ๘ พยางค์ เรียกว่า โศลกหนึ่ง เช่น กามโกฺรธวิยุกฺตานามฺ ยตีนำ ยตเจตสามฺ อภิโต พฺรหฺมนิรฺวาณมฺ วรฺตเต วิทิตาตฺมนามฺ ผู้บำเพ็ญพรต พรากจากกามและโกรธ ข่มใจได้ รู้แจ้งอาตมัน ย่อมมีนิพพาน คือพรหมโดยทั่วไป. (ศรีมัทภควัทคีตา), บทสรรเสริญยกย่อง; ชื่อเสียง, เกียรติยศ.

มโนมัย

หมายถึงว. สำเร็จด้วยใจ, ใช้ประกอบกับ ม้า หมายความว่า ม้าที่ใช้ขับขี่รวดเร็วได้ดังใจ. (กลอน) น. ม้า เช่น ครั้นถึงจึงสั่งข้าไท เร่งผูกมโนมัยที่เคยขี่. (บทละครสังข์ทอง). (ป., ส.).

บทดอกสร้อย

หมายถึงน. ชื่อคำร้อยกรองชนิดหนึ่ง มีลักษณะคล้ายสักวา แต่ในวรรคที่ ๑ มี ๔ คำ มี เอ๋ย เป็นคำที่ ๒ เช่น แมวเอ๋ยแมวเหมียว มักมี ๔ คำกลอน และคำลงจบบทให้ลงว่า เอย, ดอกสร้อย ก็ว่า.

ฮา

หมายถึงก. หัวเราะเสียงดังพร้อม ๆ กันเพราะขบขันหรือชอบใจ เช่น นักเรียนฮากันทั้งห้อง. ว. อาการหัวเราะของคนหมู่มากเพราะขบขันหรือชอบใจ เช่น เสียงฮา. อ. คำสร้อยที่ใช้ในบทร้อยกรอง เช่น แม่ฮา พี่ฮา.

กระบอก

หมายถึงน. ชื่อเพลงไทยทำนองเก่าสมัยอยุธยา ใช้กับบทที่ต้องการรีบด่วน ไปเร็วมาเร็วหรือต้องการให้จบเร็ว เช่นตอนท้าวเสนากุฎต้อนรับแปดกษัตริย์ ในเรื่องสังข์ศิลป์ชัย. (ดึกดำบรรพ์).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ