ค้นเจอ 122 รายการ

โกรย

หมายถึง[โกฺรย] น. หลัง เช่น โจนบหลยวโกรยเกรง ท่านข้า. (ยวนพ่าย), อกกระอุกรยมโกรย กระด้าง. (ทวาทศมาส). (ข.).

บพิตร

หมายถึง[บอพิด] (แบบ) น. พระองค์ท่าน เช่น บำรุงฤทัยตระโบม บพิตรผู้อย่าดูเบา, โดยมากเป็นคำที่พระสงฆ์ใช้แก่เจ้านาย เช่น บรมวงศบพิตร.

กริบ

หมายถึง[กฺริบ] ก. ขริบ, ตัดให้พลันขาดด้วยกรรไกรโดยไม่มีเสียงหรือมีเสียงเช่นนั้น เช่น กริบผม กริบชายผ้า, ตัดขาดโดยฉับไวและแนบเนียนด้วยความคม. ว. มาก เช่น คมกริบ; โดยปริยายหมายความว่า เงียบไม่มีเสียงดัง เช่น เงียบกริบ ย่องกริบ.

สมรัก

หมายถึงก. ร่วมประเวณี เช่น ชายลอบลักสมรักทำชู้ด้วยลูกสาวท่านก็ดี... สองลอบสมรักด้วยกัน มิได้สู่ขอมีขันหมากเปนคำนับ. (สามดวง).

นมบกอกพร่อง

หมายถึง(กฎ; โบ) น. ลักษณะของหญิงที่ชายทำให้เสียความบริสุทธิ์แล้วทอดทิ้งไป เช่น แลมันทำชู้แล้วมันทอดหญิงนั้นเสีย ท่านว่ามันทำให้ลูกหลานท่านนมบกอกพร่อง ให้ไหมชายผู้เลมิดพ่อแม่ผู้เถ้าผู้แก่นั้นโดยขนาฎ. (สามดวง), มักใช้เพี้ยนไปเป็น นมตกอกพร่อง.

เจ้าพระคุณ

หมายถึงส. คำที่ภิกษุสามเณรหรือคฤหัสถ์ใช้เรียกสมเด็จพระราชาคณะ, ใช้เต็มว่า ท่านเจ้าพระคุณสมเด็จฯ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒, ใช้ว่า เจ้าประคุณ ก็มี.

สีหไสยา,สีหไสยาสน์

หมายถึงน. ท่านอนอย่างราชสีห์ คือ นอนตะแคงขวา แขนซ้ายพาดไปตามลำตัว เท้าซ้ายซ้อนบนเท้าขวา มือขวารองรับศีรษะด้านข้าง.

ชีพุก

หมายถึงน. พ่อ, ท่านพ่อ, เช่น ด่งงจริงชะรอยชีพุก หากทำทุกข์แก่มึงอย่าเลอย. (ม. คำหลวง ชูชก). (เทียบ ข. โอวพุก ว่า พ่อ).

เสียกำได้กอบ,เสียกำแล้วได้กอบ

หมายถึง(สำ) ก. เสียน้อยไปก่อนแล้วจะได้มากในภายหลัง เช่น เสียหนึ่งนิ่งไว้นานไปคงได้สอง เสมือนหนึ่งของท่านหายมีที่ไว้ ข้าพเจ้าคงจะหามาให้ไม่ให้เดือดร้อน ยอมเสียกำไปก่อนนั่นแหละ จึงจะได้กอบ. (ม. ร่ายยาว ชูชก).

อะไร

หมายถึงส. คำใช้แทนนาม แสดงคำถาม เช่น อะไรอยู่ในตู้, คำใช้แทนนามที่ไม่เฉพาะเจาะจง เช่น อะไรก็เกิดขึ้นได้เสมอ. ว. ไร, ไหน, เช่น เขาห่มผ้าอะไรก็ได้ทั้งนั้น ท่านไปซื้อของอะไรมา.

เทียว

หมายถึงว. คำที่ใช้ประกอบกริยาหรือวิเศษณ์ เพื่อบังคับหรือเน้นความให้มีความหมายหนักแน่นยิ่งขึ้น มีความหมายอย่างเดียวกับ ทีเดียว, เชียว, เช่น มาให้ได้เทียวนะ อย่าบอกใครเทียวนะ หมู่นี้เงียบไปเทียวไม่เห็นมาหาบ้างเลย.

ท้าทาย

หมายถึงก. ชวนวิวาท เช่น เพราะเขาว่าท้าทายว่าจะทำอันตรายแก่ท่านไท้บรมนาถราชบิดา. (ม. ร่ายยาว วนปเวสน์); ชวนให้ทดลองความรู้ความสามารถ เช่น ท้าทายปัญญา ท้าทายความสามารถ.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ