ค้นเจอ 3,831 รายการ

หลัง

หมายถึงน. ซีกของกายที่ตรงข้ามกับหน้าอก; ด้านที่อยู่ตรงข้ามกับด้านหน้าของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง; ส่วนเบื้องบน เช่น หลังมือ หลังเท้า. ว. อยู่ตรงข้ามกับ ข้างหน้า, ตรงข้ามกับ ก่อน (ใช้แก่เวลาที่ผ่านพ้นไปแล้ว), ในลำดับถัดไป เช่น คนหลัง; ลักษณนามเรียกเรือนหรือสิ่งที่มีลักษณะอย่างเรือนว่า หลัง เช่น เรือนหลังหนึ่ง ศาลา ๒ หลัง.

ข้ามเรือ

หมายถึงก. ลงเรือข้ามน้ำไปยังอีกฝั่งหนึ่ง.

รักดะ,รักตะ

หมายถึงว. แดง; มีความกำหนัด, มีความรักใคร่. (ส. รกฺต; ป. รตฺต).

ลัชชี

หมายถึง[ลัด-] น. ผู้มีความละอาย, ผู้มีความกระดาก. (ป.; ส. ลชฺชินฺ).

กบในกะลาครอบ

หมายถึง(สำ) น. ผู้มีความรู้และประสบการณ์น้อยแต่สำคัญตนว่ามีความรู้มาก.

เอกฉันท์

หมายถึง[เอกกะ-] ว. มีความเห็นเป็นอย่างเดียวกันหมด.

ใจเดียวกัน

หมายถึงว. มีความรู้สึกนึกคิดตรงกัน.

ไวพจน์

หมายถึงคำที่เขียนต่างกันแต่มีความหมายเหมือนกันหรือใกล้เคียงกันมาก เช่น มนุษย์กับคน บ้านกับเรือน รอกับคอย ป่ากับดง คำพ้องความ ก็ว่า (ภาษาบาลี คือ เววจน)

คำพ้องเสียง

หมายถึงคำที่ออกเสียงเหมือนกันแต่เขียนต่างกันและมีความหมายต่างกัน เช่น ใส-ไส-ไสย กาน-กาล-การ-การณ์ (โบ) ในหนังสือแบบเรียนภาษาไทยของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) เรียกคำพ้องเสียงว่า ไวพจน์

สกรรถ

หมายถึง[สะกัด] น. เรียกคำที่เพิ่มเข้าข้างหลังคำเดิม เมื่อเพิ่มแล้ว มีความหมายคงเดิม หรือหมายถึงพวกหรือหมู่ ว่า คำสกรรถ เช่น อากร (ในคำเช่น นรากร ประชากร) อาการ (ในคำเช่น คมนาการ ทัศนาการ) ชาติ (ในคำเช่น มนุษยชาติ ติณชาติ) ประเทศ (ในคำเช่น อุรประเทศ หทัยประเทศ).

นันทิ

หมายถึงน. ผู้มีความยินดี. (ส.).

หมองหมาง

หมายถึงว. ไม่ผ่องใสเพราะมีความขุ่นเคืองใจ.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ