ค้นเจอ 300 รายการ

เงินหมุน

หมายถึงน. เงินที่ใช้หมุนเวียนเรื่อยไปหลายครั้งโดยไม่เก็บไว้คงที่.

เดินนา

หมายถึงก. สำรวจนาเพื่อเรียกเก็บภาษีอากร.

นิบาต

หมายถึง[-บาด] น. เรียกคัมภีร์ในพระพุทธศาสนาประเภทหนึ่งที่รวบรวมพระสูตรเบ็ดเตล็ดหรือชาดกต่าง ๆ ไว้ด้วยกัน เช่น สุตตนิบาต = คัมภีร์ที่รวบรวมพระสูตรเบ็ดเตล็ดต่าง ๆ ไว้ด้วยกัน นิบาตชาดก = คัมภีร์ที่รวบรวมชาดกต่าง ๆ ในพระไตรปิฎกไว้ด้วยกัน โดยแบ่งย่อยเป็นหมวดต่าง ๆ; หมวดธรรม, ชุมนุมหลักธรรม, เช่น เอกนิบาต = หมวดหรือชุมนุมหลักธรรมที่มี ๑ ข้อ ทุกนิบาต = หมวดหรือชุมนุมหลักธรรมที่มี ๒ ข้อ; (ไว) ศัพท์ประเภทหนึ่ง สำหรับใช้เติมลงข้างหน้าหรือข้างหลังคำหรือข้อความเพื่อเน้นความ ไขความ ยอมความอย่างไม่เต็มใจเป็นต้น เช่น ก็ดี ก็ตาม หรือใช้เป็นคำขึ้นต้นข้อความใหม่ต่อจากข้อความเดิม เช่น ก็แหละ. (ป., ส. นิปาต).

หมากยับ

หมายถึงน. หมากที่เก็บไว้ทั้งเปลือกเพื่อไว้กินได้นาน ๆ.

ขายเงินเชื่อ,ขายเชื่อ

หมายถึงก. ขายโดยยอมเก็บเงินอันเป็นมูลค่าในวันหลัง.

ดรรชนี

หมายถึงน. บัญชีคำเรียงตามลำดับอักษรที่พิมพ์ไว้ส่วนท้ายของหนังสือเล่ม รวบรวมคำสำคัญ ๆ ซึ่งมีกล่าวถึงในหนังสือเล่มนั้น โดยบอกเลขหน้าที่มีคำนั้น ๆ ปรากฏอยู่เพื่อสะดวกแก่การค้น, ดัชนี ก็ใช้.

คลัง

หมายถึง[คฺลัง] น. ที่เก็บรักษาและรับจ่ายเงิน เช่น แผนกคลัง, สถานที่เก็บรักษาสิ่งของเป็นจำนวนมาก ๆ เช่น คลังพัสดุ.

ยับ

หมายถึงก. เก็บ. น. เรียกผลหมากสุกที่เก็บไว้กินนาน ๆ โดยทำเป็นหมากหลุมหรือหมากไหว่า หมากยับ.

เล่นทุ่ง

หมายถึงก. พายเรือเล่นในท้องทุ่งพร้อมกับเก็บผักกินกับน้ำพริกเป็นต้นหรือเก็บดอกบัวเพื่อเอามาบูชาพระ.

ปฏิสังขรณ์

หมายถึงก. ซ่อมแซมทำให้กลับคืนดีเหมือนเดิม (มักใช้เฉพาะวัดวาอาราม) เช่น ปฏิสังขรณ์วัด. (ป.).

กู้

หมายถึงก. ทำให้กลับคืนดีอย่างเดิม เช่น กู้เรือ กู้ชาติ กู้ชื่อ; เก็บเข้าที่ เช่น กู้ข้าว กู้ผ้า; เอาเครื่องจับปลาขึ้นจากนํ้า เช่น กู้ไซ กู้ลอบ.

บุรณะ

หมายถึง[บุระ-] ก. บูรณะ, ซ่อมแซมทำให้กลับคืนดีเหมือนเดิม เช่น บุรณะวัด. (ส. ปูรณ).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ