ค้นเจอ 102 รายการ

ตีกรรเชียง

หมายถึง[-กัน-] ก. อาการที่นั่งหันหน้าไปทางท้ายเรือแล้วใช้มือเหนี่ยวกรรเชียงพุ้ยนํ้าให้เรือแล่นไป, เรียกท่าว่ายนํ้าโดยนอนหงายแล้วใช้แขนทั้ง ๒ พุ้ยนํ้าให้ตัวเลื่อนไป, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ชกแบบตีกรรเชียง, ตีกระเชียง ก็ว่า.

กงพัด

หมายถึงน. กงสำหรับพัด เป็นรูปใบพัดที่หมุนได้ เช่น กงพัดสีลม กงพัดเครื่องสีฝัด กงพัดเครื่องระหัด; ประตูหมุน; เครื่องมือชนิดหนึ่งเป็นไม้ยาวประมาณ ๕๐ เซนติเมตร เจาะรูหัวท้าย ใส่ไม้ขวาง สำหรับพัดด้าย.

ปากน้ำ

หมายถึงน. บริเวณที่แควไหลลงมาบรรจบลำน้ำใหญ่ เช่น ปากน้ำโพ หรือบริเวณที่ลำน้ำใหญ่ไหลลงสู่ทะเลหรือทะเลสาบ เช่น ปากน้ำเจ้าพระยา ปากน้ำบางปะกง, บางทีก็ใช้เรียกทางเข้าอ่าวจากมหาสมุทรหรือทะเลสู่ฝั่งด้วย.

กรอง

หมายถึง[กฺรอง] (กลอน) น. กำไล, โดยมากใช้ประกอบกับคำอื่น ๆ เช่น กรองเชิง = กำไลเท้า กรองได = กำไลมือ กรองศอ = สร้อยคอ, สร้อยนวม เช่น กรองศอซ้อนสลับทับอังศา. (อิเหนา). [ข. กง (กอง) ว่า กำไล, วงกลม].

ตบแผละ

หมายถึง[-แผฺละ] น. การเล่นชนิดหนึ่ง มีคนเล่น ๒ คน หันหน้าเข้าหากัน แต่ละฝ่ายตบเข่าและตบมือของตัวเองก่อน จึงใช้มือซ้ายตบมือซ้ายและมือขวาตบมือขวาของอีกฝ่ายหนึ่งสลับกันกับตบมือและตบเข่า.

มา

หมายถึงก. เคลื่อนออกจากที่เข้าหาตัวผู้พูด เช่น มานี่ มาหาฉันหน่อย, ตรงกันข้ามกับ ไป. ว. ใช้ประกอบคำกริยาแสดงอดีต เช่น นานมาแล้ว ดังกล่าวมาแล้ว ไปมาแล้ว หรือแสดงทิศทางเข้าหาตัวผู้พูด เช่น หันมาทางนี้ เอามานี่ หรือแสดงอาการที่ต่อเนื่องเรื่อยมาถึงปัจจุบัน เช่น ความเป็นมา อยู่มาวันหนึ่ง ส่งจดหมายบอกข่าวมา.

แปรรูป

หมายถึงน. วิธีเอาเถ้าถ่านและกระดูกศพที่เผาเสร็จแล้วบนกองฟอนมาเรียงลำดับเป็นอย่างรูปคน ให้หัวอยู่ทางทิศตะวันตกแล้วหันกลับมาทางทิศตะวันออก, แจงรูป หรือ แปรธาตุ ก็ว่า; เรียกไม้ซุงที่เลื่อยเปิดปีกแล้วทำเป็นแผ่นกระดานเป็นต้นว่า ไม้แปรรูป.

วงเวียน

หมายถึงน. เครื่องมือสำหรับเขียนวงกลม ส่วนโค้งของวงกลม หรือกะระยะ ทำด้วยโลหะ มี ๒ ขา ปลายข้างหนึ่งแหลม ปลายอีกข้างหนึ่งมีดินสอเป็นต้น อีกแบบหนึ่งมีปลายแหลมทั้ง ๒ ข้าง แบบหลังนี้ใช้สำหรับเขียนบนโลหะก็ได้, (โบ) กงเวียน หรือ กางเวียน ก็ว่า; ที่ซึ่งมีลักษณะกลมเป็นที่รวมแห่งถนนหลาย ๆ สาย เช่น วงเวียนใหญ่ วงเวียน ๒๒ กรกฎา.

ใต้

หมายถึงว. ที่อยู่ในที่หรือฐานะตํ่ากว่าสิ่งอื่นเมื่อมีการเปรียบเทียบกัน เช่น รถไฟใต้ดิน อยู่ใต้อำนาจ, ตรงข้ามกับ เหนือ เช่น ใต้ลม, ตํ่ากว่าพื้นผิวระดับหรือเกณฑ์ เช่น ใต้ดิน ใต้นํ้า. น. ทิศที่อยู่ตรงข้ามกับทิศเหนือ, ทิศที่อยู่ทางขวามือ เมื่อหันหน้าไปทางทิศตะวันออก เรียกว่า ทิศใต้, ทิศทักษิณ ก็ว่า. บ. ข้างล่าง เช่น อยู่ใต้ต้นไม้.

ล้างบาป

หมายถึงน. พิธีทางศาสนาคริสต์ซึ่งทำแก่ทารกที่บิดามารดานับถือศาสนาคริสต์ หรือแก่บุคคลที่เดิมนับถือศาสนาอื่น แล้วหันมานับถือศาสนาคริสต์ โดยจุ่มหัวหรือตัวลงในน้ำศักดิ์สิทธิ์ ๓ ครั้งหรือเทน้ำศักดิ์สิทธิ์ลงบนหน้าผาก ซึ่งถือกันว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งการล้างบาปเพื่อรับเข้าเป็นคริสต์ศาสนิกชน เรียกว่า พิธีศีลล้างบาป หรือ พิธีศีลจุ่ม.

เหนือ

หมายถึง[เหฺนือ] ว. ที่อยู่ในที่หรือฐานะสูงกว่าสิ่งอื่นเมื่อมีการเปรียบเทียบกัน เช่น เขามีอำนาจเหนือฉัน, ที่มีความรู้ความสามารถเป็นต้นสูง เช่น เขามีฝีมือเหนือชั้นกว่าคู่ต่อสู้, ข้างบน เช่น สวะลอยอยู่เหนือนํ้า, ตรงข้ามกับ ใต้. น. ชื่อทิศตรงข้ามกับทิศใต้, ทิศที่อยู่ทางซ้ายมือเมื่อหันหน้าไปทางทิศตะวันออก เรียกว่า ทิศเหนือ, ทิศอุดร ก็ว่า. บ. พ้นขึ้นไป, เลยขึ้นไป, เช่น เมฆลอยอยู่เหนือภูเขา.

ช่วงชัย

หมายถึงน. การเล่นพื้นเมืองอย่างหนึ่ง นิยมเล่นในเทศกาล เช่น สงกรานต์ มีผู้เล่นหลายคน แบ่งออกเป็น ๒ ฝ่าย ชายฝ่ายหนึ่ง หญิงฝ่ายหนึ่ง ยืนหันหน้าเข้าหากัน ห่างพอที่จะใช้ลูกช่วงที่ทำด้วยผ้าขาวม้าเป็นต้นเป็นลูกกลม ๆ ผูกให้แน่นโยนหรือปาให้กัน ถ้าฝ่ายใดรับได้แล้วปาไปถูกคนใดคนหนึ่งของฝ่ายตรงข้าม ฝ่ายนั้นก็เป็นฝ่ายแพ้ มี ๓ ชนิด คือ ช่วงรำ ผู้แพ้ต้องออกไปรำ ช่วงใช้ ผู้แพ้ต้องไปอยู่อีกข้างหนึ่ง และช่วงขี้ข้า ผู้แพ้ต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งขี่คอ.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ