ค้นเจอ 143 รายการ

อุปไมย

หมายถึง[อุปะไม, อุบปะไม] น. สิ่งหรือข้อความที่พึงเปรียบเทียบกับสิ่งอื่นเพื่อให้เข้าใจแจ่มแจ้ง, คู่กับ อุปมา. (ป. อุปเมยฺย).

วกวน

หมายถึงก. ลดเลี้ยวไปมา, คดไปคดมา, เช่น ทางเข้าออกวกวน, อ้อมไปอ้อมมา, ย้อนไปย้อนมา, เช่น ให้การวกวน เขียนหนังสือวกวนอ่านไม่เข้าใจ.

สาไถย

หมายถึงน. การแสร้งทำให้เขาหลงผิดเข้าใจผิด, มักใช้เข้าคู่กับคำ มารยา เป็น มารยาสาไถย. (ป. สาเยฺย; ส. ศาฐฺย).

แม้

หมายถึงสัน. ผิ, หาก, เช่น แม้ฝนตก ฉันก็จะมา, ใช้ว่า แม้น ก็มี; คำสนับสนุนข้ออ้างให้เห็นเด่นขึ้นโดยอาศัยการเปรียบเทียบ เช่น อย่าว่าแต่ผู้ใหญ่เลย แม้เด็กก็เข้าใจ.

เลห,เล่ห์

หมายถึงน. กลอุบายหรือเงื่อนงำอันอาจทำให้คนอื่นหลงผิด เข้าใจผิด, ใช้ว่า เล่ห์กล ก็มี. ว. คล้าย, เปรียบ, เช่น, เหมือน.

ฝึก

หมายถึงก. ทำ (เช่นบอก แสดง หรือปฏิบัติ เป็นต้น) เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจจนเป็นหรือมีความชำนาญ เช่น ฝึกทหาร ฝึกกายบริหาร ฝึกงาน.

แก้วกุ้ง

หมายถึงน. รังไข่ของกุ้งที่เจริญเต็มที่ มีสีแดงอมส้มหรือสีส้ม, ชาวบ้านเข้าใจว่าเป็นมันกุ้งที่เป็นก้อนอยู่ในหัวกุ้ง.

หลอก

หมายถึง[หฺลอก] ก. ทำให้เข้าใจผิดสำคัญผิด เช่น หลอกขายของปลอม, ทำให้ตกใจ เช่น ผีหลอก, ล้อ เช่น แลบลิ้นหลอก; ขัดกัน เช่น สีหลอกกัน.

รู้น้อยพลอยรำคาญ

หมายถึง(สำ) ก. รู้น้อยไม่เข้าใจ ทำให้เกิดความรำคาญใจ, มักพูดเข้าคู่กับ รู้มากยากนาน เป็น รู้มากยากนาน รู้น้อยพลอยรำคาญ.

เสกสรรปั้นแต่ง

หมายถึงก. แต่งเรื่องขึ้นมาโดยจะมีความจริงหรือไม่ก็ได้เพื่อให้เข้าใจผิด เช่น คนคนนี้ช่างเสกสรรปั้นเรื่องมาเล่าให้ผู้ใหญ่ผิดใจกันอยู่เสมอ.

อเนกรรถประโยค

หมายถึง[อะเนกัดถะปฺระโหฺยก] น. ประโยคใหญ่ที่มีใจความสำคัญอย่างน้อย ๒ ใจความมารวมกัน และใจความนั้น ๆ จะต้องมีลักษณะเป็นประโยคโดยมีสันธานเป็นบทเชื่อมหรือละสันธานไว้ในฐานที่เข้าใจ.

แถลงการณ์

หมายถึง(กฎ) น. บรรดาข้อความที่ทางราชการแถลงเพื่อทำความเข้าใจในกิจการของทางราชการหรือเหตุการณ์หรือกรณีใด ๆ ให้ทราบชัดเจนโดยทั่วกัน. ก. อธิบายเหตุการณ์เป็นทางการ.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ