ค้นเจอ 155 รายการ

ปิฎก

หมายถึงน. ตะกร้า; หมวดแห่งคำสอนในพระพุทธศาสนา. (ป., ส. ปิฏก). (ดู ไตรปิฎก).

ชังคา

หมายถึง(กลอน) น. ราชโองการ เช่น อย่าหมอบมัวคอยฟังพระชังคา. (พาลีสอนน้อง).

ภาคเรียน

หมายถึงน. ช่วงเวลาที่สถานศึกษาเปิดทำการสอนติดต่อกัน ตามปรกติปีการศึกษาหนึ่ง ๆ จะแบ่งออกเป็น ๒-๓ ภาคเรียน.

ร่ำ

หมายถึงก. พูดซํ้า ๆ, พรํ่า, เช่น ร่ำว่า ร่ำสั่ง ร่ำสอน; ตีแรง ๆ เช่น รํ่าด้วยไม้.

ตักน้ำรดหัวสาก

หมายถึง(สำ) ก. แนะนำพรํ่าสอนเท่าไรก็ไม่ได้ผล เช่น นํ้ารดหัวสาก สอนเด็กปากมาก เลี้ยงลูกใจแข็ง. (สุบิน กลอนสวด), ตักนํ้ารดหัวตอ ก็ว่า.

หนามแหลมไม่มีใครเสี้ยม

หมายถึง(สำ) น. คนที่มีปฏิภาณไหวพริบตามธรรมชาติโดยไม่ต้องมีใครสอน, มักใช้เข้าคู่กับ มะนาวกลมเกลี้ยงไม่มีใครกลึง.

คอนแวนต์

หมายถึงน. สำนักชีในคริสต์ศาสนา, เรียกโรงเรียนซึ่งชีในสำนักนั้น ๆ ตั้งขึ้นและเป็นผู้ดำเนินการสอนว่า โรงเรียนคอนแวนต์. (ฝ. convent).

คลอแคล

หมายถึง[-แคฺล] ก. ไม่ห่างออก, เคียงกัน, เช่น ปีกเจ้ายังอ่อนคลอแคล ตัวแม่จะสอนบิน. (กล่อมเด็ก), ใช้ว่า คล้อแคล้ ก็มี.

หัวดื้อ

หมายถึงว. ว่ายากสอนยาก เช่น เด็กคนนี้หัวดื้อจริง, ไม่ยอมเชื่อฟังหรือทำตามใครง่าย ๆ เช่น ผู้ใหญ่บางคนก็หัวดื้อ.

วิธีการ

หมายถึงน. วิธีปฏิบัติตามหลักการเป็นขั้นตอนอย่างมีระบบ เช่น วิธีการที่รัฐให้สวัสดิการแก่ประชาชน วิธีการสอนวิทยาศาสตร์มีหลายวิธี.

เวไนย

หมายถึงน. ผู้ควรแนะนำสั่งสอน, ผู้พึงดัดได้สอนได้, ใช้ว่า เวนย ก็มี เช่น จะให้เวนยชาติทั้งปวงได้. (นันโท). (ป. เวเนยฺย).

สัทธรรม

หมายถึง[สัดทำ] น. คำสอนของพระพุทธเจ้า เรียกว่า พระสัทธรรม, ธรรมของสัตบุรุษหรือคนดี. (ส. สทฺธรฺม; ป. สทฺธมฺม).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ