ค้นเจอ 138 รายการ

กรุก

หมายถึง[กฺรุก] ก. ขลุก, ขลุกขลุ่ย, ง่วนอยู่, เช่น พรรษาหนึ่งสองพรรษาไม่ผาสุก เข้าบ้านกรุกเลยลาสิกขาบท. (นิ. เดือน). ว. เสียงดังกุก เช่น ได้ยินเสียงกรุกลุกขึ้นมอง. (คาวี).

คำสร้อย

หมายถึงน. คำหรือวลีที่ใช้ลงท้ายวรรค ท้ายบาท หรือท้ายบทร้อยกรอง เพื่อความไพเราะของเสียงและความหมาย หรือเพื่อแสดงว่าจบตอน เช่น นาเฮย ฤๅ บารนี แก่แม่นา โสตถิ์เทอญ.

ร่ายสุภาพ

หมายถึงน. ชื่อร่ายชนิดหนึ่ง บทหนึ่งมี ๕ วรรคขึ้นไป วรรคหนึ่งมี ๕ คำ ส่งสัมผัสท้ายวรรคหน้า และรับสัมผัสกับคำที่ ๑ ที่ ๒ หรือที่ ๓ ของวรรคถัดไป และจะต้องจบด้วยโคลง ๒ สุภาพ.

สักวา

หมายถึง[สักกะวา] น. ชื่อกลอนแบบหนึ่ง บทหนึ่งมี ๔ คำกลอน ขึ้นต้นด้วยคำ “สักวา” และลงท้ายด้วยคำ “เอย”, ชื่อลำนำเพลงอย่างหนึ่ง ร้องเป็นทำนองโต้ตอบกัน. (โบราณ เขียนเป็น สักระวา ก็มี).

กบเต้น

หมายถึงน. ชื่อเพลงไทยร้องรำ ๒ ชั้นสมัยกรุงศรีอยุธยา หน้าทับสองไม้ คือ ชั้นต้นมีทำนองช้าก่อนแล้วก็เร็วเข้ากำกับกันไป ใช้กับบทโศกหรือรัญจวน เช่นตอนรจนาครํ่าครวญน้อยใจที่สังข์ทองจะไม่ช่วยตีคลี. (ดึกดำบรรพ์).

กัลยาณ,กัลยาณ-

หมายถึง[กันละยานะ-] ว. งาม, ดี, ใช้เป็นบทหน้าสมาส เช่น กัลยาณคุณ = คุณอันงาม กัลยาณธรรม = ธรรมอันดี กัลยาณมิตร = มิตรดี. (ป., ส.).

กำหนด

หมายถึง[-หฺนด] ก. หมายไว้, ตราไว้. น. การหมายไว้, การตราไว้; (เลิก) บทบริหารบัญญัติคล้ายพระราชกฤษฎีกา โดยมากเป็นบัญญัติที่เกี่ยวกับบุคคลหรือข้าราชการบางจำพวก เช่น พระราชกำหนดเครื่องแบบแต่งกายข้าราชการฝ่ายทหารและพลเรือน.

ส่งท้าย

หมายถึงก. พายกระตุ้นท้ายเรือเพื่อให้แล่นเร็ว เช่น เมื่อใกล้จะถึงเส้นชัยนายท้ายก็เร่งพายส่งท้าย; พูดหรือทำท้ายสุดเพื่ออำลา เช่น เขียนบทส่งท้ายต้องไว้ฝีมือหน่อย ส่งท้ายการเลี้ยงด้วยการให้พร.

นั่งราว

หมายถึงว. เรียกอาการที่ตัวโขนแสดงบทของตนแล้วไปนั่งประจำที่บนราวที่พาดไปตามส่วนยาวของโรงตรงหน้าฉากแทนนั่งเตียงว่า โขนนั่งราว หรือ โขนโรงนอก.

ชาตรี

หมายถึง[-ตฺรี] น. ผู้ที่มีศิลปะวิชาอาคมหรือมีฝีไม้ลายมือในการต่อสู้ เช่น ชายชาตรี; ละครต้นแบบของละครรำ เล่นกันเป็นพื้นบ้านทั่วไป มีตัวละครน้อย เดิมเป็นชายล้วน ตัวละครที่ไม่สำคัญมักไม่แต่งตัวยืนเครื่อง กระบวนรำไม่สู้งดงามประณีตนัก เรียกว่า ละครชาตรี; ชื่อเพลงบทละครและเพลงอื่น ๆ ที่มีคำ ชาตรี นำหน้า คือ ชาตรีตะลุง ชาตรีใน. (เงาะป่า; บทแผ่นเสียง; ศกุนตลา).

ศาลอาญาศึก

หมายถึง(กฎ) น. ศาลที่ตั้งขึ้นเมื่อหน่วยทหารหรือเรือรบอยู่ในยุทธบริเวณ เพื่อพิจารณาพิพากษาคดีอาญาทั้งปวงซึ่งการกระทำผิดเกิดขึ้นในเขตอำนาจได้ทุกบทกฎหมายและไม่จำกัดตัวบุคคล.

ตำนาน

หมายถึงน. เรื่องแสดงกิจการอันมีมาแล้วแต่ปางหลัง, เรื่องราวนมนานที่เล่ากันสืบ ๆ มา, เช่น ตำนานพุทธเจดีย์สยาม; เรียกพระปริตรบทหนึ่ง ๆ ว่า ตำนาน ในคำว่า เจ็ดตำนาน สิบสองตำนาน.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ