ค้นเจอ 124 รายการ

ย่อย

หมายถึงก. ทำเป็นส่วนเล็กส่วนน้อยโดยแยกจากส่วนใหญ่ เช่น ย่อยหิน; ทำให้ละลายจนซึมซาบได้ เช่น ย่อยอาหาร. ว. เรียกส่วนน้อยที่แยกจากส่วนใหญ่ เช่น ส่วนย่อย กลุ่มย่อย, เบ็ดเตล็ด, ไม่สำคัญ, เช่น ข่าวย่อย, เรียกละครเรื่องสั้น ๆ ว่า ละครย่อย; เรียกธนบัตรที่ราคาน้อยกว่าฉบับที่มีราคามากว่า ธนบัตรย่อย หรือ แบงก์ย่อย.

ค่าเสมอภาค

หมายถึงน. มูลค่าหรือราคาของหุ้น หรือหลักทรัพย์อื่นตามที่ตราไว้; มูลค่าแลกเปลี่ยนของหน่วยเงินตราสกุลหนึ่ง ที่เทียบเท่ากับมูลค่าแลกเปลี่ยนของหน่วยเงินตราอีกสกุลหนึ่ง. (อ. par value).

ทอน

หมายถึงก. ตัดหรือหั่นให้เป็นท่อน เช่น ทอนฟืน, ทำให้ลดลงหรือให้สั้นลง เช่น ทอนกำลัง ทอนอายุ; หักจำนวนเงินตามราคาแล้วคืนส่วนที่เหลือไป เช่น ทอนเงิน ทอนสตางค์.

กระเบื้องถ้วยกะลาแตก

หมายถึงน. เศษภาชนะดินเผาที่แตกออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย, โดยปริยายหมายถึงของเล็ก ๆ น้อย ๆ ไม่เป็นชิ้นเป็นอันที่ชำรุดหรือขาดชุดหมดราคา.

ประมาณ

หมายถึงก. กะหรือคะเนให้ใกล้เคียงจำนวนจริงหรือให้พอเหมาะพอควร เช่น ประมาณราคาไม่ถูก. ว. ราว ๆ เช่น ประมาณ ๓-๔ เดือน. (ส. ปฺรมาณ; ป. ปมาณ).

รัตนชาติ

หมายถึงน. รัตนะ, พวกรัตนะ คือ แก้วที่มีค่า เช่น เพชร ทับทิม มรกต, หินหรือแร่ที่มีค่า เมื่อเจียระไนแล้วจะต้องมีลักษณะสวยงาม คงทน หายาก ราคาแพง และนำมาใช้เป็นเครื่องประดับได้.

สอบ

หมายถึงก. ตรวจ ทดลอง เปรียบเทียบ หรือไล่เลียง เพื่อหาข้อเท็จจริง หรือวัดให้รู้ว่ามีความรู้หรือความสามารถแค่ไหน เช่น สอบตาชั่งให้ได้มาตรฐาน สอบราคาสินค้า สอบปากคำผู้ต้องหา สอบพิมพ์ดีด.

ตราภูมิ

หมายถึง(โบ) น. หนังสือประจำตัวสำหรับคุ้มค่าน้ำค่าตลาดสมพัตสรได้เพียงราคา ๑ ตำลึง. (ประกาศ ร. ๔), มักใช้เข้าคู่กับคำ คุ้มห้าม เป็น ตราภูมิคุ้มห้าม.

ซื้อขาย

หมายถึง(กฎ) น. ชื่อสัญญาซึ่งบุคคลฝ่ายหนึ่ง เรียกว่า ผู้ขาย โอนกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินให้แก่บุคคลอีกฝ่ายหนึ่ง เรียกว่า ผู้ซื้อ และผู้ซื้อตกลงจะใช้ราคาทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้ขาย.

ภาษีบำรุงท้องที่

หมายถึง(กฎ) น. ภาษีซึ่งบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลซึ่งมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินหรือครอบครองอยู่ในที่ดินที่ไม่เป็นกรรมสิทธิ์ของเอกชน มีหน้าที่ต้องเสียเป็นรายปีจากราคาปานกลางของที่ดินตามที่ทางราชการได้ประกาศกำหนดไว้ เพื่อให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ซึ่งที่ดินนั้นอยู่ในเขต.

ค่า

หมายถึงน. มูลค่าหรือราคาของสิ่งใด ๆ ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม ที่มีประโยชน์ในทางใช้สอย แลกเปลี่ยน หรือทางจิตใจเป็นต้น บางอย่างก็ประเมินเป็นเงินได้ บางอย่างก็ประเมินเป็นเงินไม่ได้ เช่น ทองคำเป็นของมีค่า เวลามีค่ามาก; จำนวนเงินที่เป็นราคาสิ่งของหรือบริการเป็นต้น เช่น ค่าจ้าง ค่าเช่า ค่าโดยสาร ค่าอาหาร; (คณิต) จำนวนหรือตัวเลขที่ระบุปริมาณหรือขนาดของตัวแปร; (สำ) เรียกสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่มีคุณค่ามากจนไม่อาจประเมินเป็นเงินได้ว่า เป็นสิ่งที่หาค่ามิได้.

ที่ไหนได้

หมายถึง(ปาก) ว. อะไรได้, หาใช่เช่นนั้นไม่, คำใช้แสดงความประหลาดใจ ไม่พอใจ ปฏิเสธ หรือแย้ง เป็นต้น เช่น ก พูดว่า หนังสือเล่มนี้ราคาถึง ๑๐ บาทไหม ข ตอบว่า ที่ไหนได้ ตั้ง ๕๐ บาท.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ