ค้นเจอ 243 รายการ

ราชปะแตน

หมายถึง[ราดชะปะแตน] น. เสื้อนอกคอปิดมีกระดุม ๕ เม็ดกลัดตลอดอย่างเครื่องแบบปรกติขาวของข้าราชการ. (เดิมเรียกว่า ราชแปตแตน มาจากคำบาลีผสมอังกฤษว่า Raj pattern แปลว่า แบบหลวง).

จตุ,จตุ-

หมายถึง[จะตุ-] ว. สี่, ใช้ประกอบหน้าคำที่มาจากภาษาบาลี. (ป.).

อัจฉริยลักษณ์,อัจฉริยลักษณะ

หมายถึงน. ลักษณะดีเด่นเป็นที่น่าอัศจรรย์ เช่น อัจฉริยลักษณ์ของภาษาไทย อัจฉริยลักษณะของมหาบุรุษ.

ส่วย

หมายถึงน. ชนชาติพูดภาษาตระกูลมอญ-เขมรพวกหนึ่ง อยู่ทางภาคอีสาน.

พาณี

หมายถึงน. เสียง, ถ้อยคำ, ภาษา; เจ้าแม่แห่งวาจา คือ พระสรัสวดี. (ป., ส. วาณี).

คำเติม

หมายถึงน. คำที่เติมข้างหน้า ตรงกลาง หรือ ข้างหลัง ของคำตั้งในภาษาคำติดต่อ.

เทวนาครี

หมายถึง[เทวะนาคะรี] น. อักษรที่ใช้สำหรับเขียนภาษาสันสกฤต.

บังคับ

หมายถึงน. (โบ) การว่ากล่าวปกครอง, อำนาจศาลสมัยมีสภาพนอกอาณาเขต, เช่น คนในบังคับอังกฤษ; กฎเกณฑ์ของการประพันธ์ที่บัญญัติใช้ในฉันทลักษณ์ เช่น บังคับครุลหุ บังคับเอกโท บังคับสัมผัส. ก. ใช้อำนาจสั่งให้ทำหรือให้ปฏิบัติ; ให้จำต้องทำ เช่น อยู่ในที่บังคับ; ให้เป็นไปตามความประสงค์ เช่น บังคับเครื่องบินให้ขึ้นลง.

หมายถึงพยัญชนะตัวที่ ๔๒ เป็นพวกอักษรตํ่า มักใช้ในคำไทยที่มาจากภาษาบาลี เช่น กีฬา จุฬา นาฬิกา, ตัว ฬ นี้ ในภาษาสันสกฤตไม่มีใช้ ในภาษาบาลีมีใช้แต่ที่เป็นตัวตามหลัง เช่น จุฬา = มวยผม กีฬา = เล่น เขฬะ = นํ้าลาย, ในภาษาไทย แต่เดิมมีที่ใช้บ้าง เช่น ฬา (สัตว์) ฬ่อ (สัตว์) บาฬี บัดนี้ใช้เป็น ลา ล่อ บาลี หมดแล้ว ยังคงอยู่ก็แต่ที่ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กน เช่น ทมิฬ ปลาวาฬ.

มุทธชะ

หมายถึง[มุดทะ-] (ไว) น. อักษรในภาษาบาลีและสันสกฤตที่มีเสียงเกิดจากการม้วนลิ้นไปสู่เพดานแข็งตอนหลัง ได้แก่พยัญชนะวรรค ฏ คือ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ และอักษร ร รวมทั้งอักษร ฬ ในภาษาบาลี และ ษ กับ ฤ ฤๅ ในภาษาสันสกฤต. (ป.; ส. มูรฺธนฺย).

กระกรี๊ด

หมายถึง(กลอน) ว. เสียงกรีด ๆ ดั่งเสียงหญิงร้องด้วยความตกใจ เช่น แต่ร้องจนสุดสิ้นพระสุรเสียงสำเนียงกระกรี๊ดกรีด. (ม. ร่ายยาว กุมาร).

จาตุ,จาตุ-

หมายถึงว. แปลงมาจาก จตุ หมายความว่า สี่, ใช้ประกอบหน้าคำที่มาจากภาษาบาลี.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ