ค้นเจอ 95 รายการ

เตียว

หมายถึงน. ลิงจำพวกหนึ่งในเรื่องรามเกียรติ์ที่ใช้ผ้าตะบิดโพกศีรษะ เรียกว่า เตียวเพชร; เรียกหนังที่สลักเป็นรูปลิงขาวมัดลิงดำมาหาฤๅษี. (ลัทธิ); ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง. (รามเกียรติ์ ร. ๑); (ถิ่น-ปักษ์ใต้) เสวียน. ก. มัดด้วยผ้าเตี่ยว, คาดให้แน่น, เช่น เตียวแขนมันไพล่หลัง. (พระราชนิพนธ์พระร่วง แบบเรียน).

กระโจม

หมายถึงน. สิ่งที่ตามปรกติมียอดเป็นลอมอย่างซุ้ม ใช้เป็นเครื่องกำบังแดดลมเป็นต้น, โดยปริยายหมายถึง (๑) สิ่งที่รวมกันเข้าเป็นลอม เช่น กระโจมปืน. (๒) สิ่งที่ผูกรวบยอดให้รวมกัน เช่น ปากผูกกระโจม. (๓) ผ้าที่ทำเป็นลอมเพื่อเข้าไปอยู่ให้เหงื่อออก เช่น เข้ากระโจม; กูบที่มีด้านเปิดโล่ง ๔ ด้าน, โจม ก็ว่า; (ถิ่น) เครื่องสวมศีรษะอย่างหนึ่ง เช่น กระจอนหูแปงประดับแก้วเครื่องเลิศอุดมกระโจมคำสุบเก้าเกษ. (ม. ภาคอีสาน นครกัณฑ์).

หูกระต่าย

หมายถึงน. เงื่อนที่ผูกมีรูปคล้ายหูกระต่าย, เรียกผ้าผูกคอชนิดหนึ่ง ผูกเป็นรูปโบ ว่า ผ้าผูกคอหูกระต่าย; เรียกเครื่องสวมศีรษะแบบหนึ่ง ทำด้วยผ้าหรือสักหลาดสีต่าง ๆ รูปทรงกระบอกสั้น ๆ มีแผ่นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าติดขอบหมวกสำหรับปกใบหูทั้ง ๒ ข้าง ว่า หมวกหูกระต่าย; ไม้ขวางเรืออันที่สุดของหัวเรือหรือท้ายเรือ, กระทงเหิน ก็เรียก. (ดู กระทงเหิน).

รู้สึก

หมายถึงก. รู้ตัว เช่น ย่องไปข้างหลังอย่าให้เขารู้สึก หลับเป็นตายปลุกเท่าไรก็ไม่รู้สึก, รู้ด้วยการสัมผัส เช่น รู้สึกร้อน รู้สึกหนาว, รู้สำนึก เช่น เขารู้สึกตัวว่าทำผิด, เกิดอาการที่รู้ว่าเป็นสุขหรือทุกข์ เช่น รู้สึกสนุก รู้สึกซาบซึ้ง รู้สึกมึนศีรษะ, เกิดสังหรณ์ขึ้นในใจ เช่น รู้สึกว่าจะมีใครมาหา, มีแนวโน้มให้สันนิษฐานหรือคาดคะเนว่าจะมีอะไรเกิดขึ้น เช่น รู้สึกว่าสินค้าเกษตรจะมีราคาตกต่ำในปีนี้ ในที่สุดต้องยกเลิกเรื่องบางเรื่องเพราะรู้สึกว่าจะไปไม่รอด.

เหา

หมายถึงน. ชื่อแมลงขนาดเล็กหลายชนิดในหลายวงศ์ ส่วนใหญ่ตัวยาวไม่เกิน ๕ มิลลิเมตร ตัวแบน หัวแคบกว่าอกและยื่นไปข้างหน้าเห็นได้ชัด ตาเล็กมาก แต่บางชนิดไม่มีตา อกไม่แยกเป็นปล้องให้เห็นชัด ขามีหนามตรงข้ามกับเล็บช่วยในการยึดขนหรือผม ปากเป็นชนิดดูดกิน อาศัยอยู่ตามบริเวณที่มีขนหรือผม ดูดเลือดคนและสัตว์ ที่อยู่บนศีรษะของคนได้แก่ ชนิด Pediculus humanus ในวงศ์ Pediculidae.

เรือรูปสัตว์

หมายถึงน. เรือหลวง มีทั้งประเภทเรือที่ขุดขึ้นจากซุงทั้งต้นกับเรือเสริมกราบ มีลักษณะพิเศษตรงศีรษะเรือต่อไม้ขึ้นไปแล้วสลักเป็นรูปสัตว์หิมพานต์ หรือรูปอมนุษย์ต่าง ๆ เช่น ครุฑ อสุรปักษา พญานาค ตอนท้ายเรือต่อไม้ทำเป็นทวนเชิดงอนไปล่ปลิวไปทางด้านหลัง เช่น เรือเอกไชยเหินหาว เรือพาลีรั้งทวีป เรือครุฑเหินระเห็จ เรืออสุรปักษี, บางทีเรียกว่า เรือกระบวนปิดทอง.

มงคล,มงคล-

หมายถึง[มงคน, มงคนละ-] น. เหตุที่นำมาซึ่งความเจริญ เช่น มงคล ๓๘, สิ่งซึ่งถือว่าจะนำสิริและความเจริญมาสู่และป้องกันไม่ให้สิ่งที่เลวร้ายมากล้ำกราย, เรียกงานที่จัดให้มีขึ้นเพื่อความอยู่เย็นเป็นสุข เช่น งานทำบุญขึ้นบ้านใหม่ งานทำบุญวันเกิด ว่า งานมงคล; เรียกเครื่องรางของขลังที่เชื่อว่าจะนำความสุขความเจริญเป็นต้นมาให้ หรือป้องกันภัยอันตรายต่าง ๆ ว่า วัตถุมงคล; สิ่งที่ทำเป็นวงด้วยด้ายเป็นต้นสำหรับสวมศีรษะเพื่อเป็นสิริมงคล นิยมใช้เฉพาะในเวลาชกมวยไทยหรือตีกระบี่กระบอง. (ป., ส.).

ช้อน

หมายถึงน. เครื่องใช้สำหรับตักของกิน มีที่จับยื่นออกมา, ลักษณนามว่า คัน, ราชาศัพท์ว่า ฉลองพระหัตถ์ช้อน; เรียกเครื่องใช้ที่มีรูปคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ช้อนรองเท้า; เครื่องจับปลาชนิดหนึ่ง ใหญ่กว่าสวิง ถักเป็นร่างแห ขอบเป็นรูปสามเหลี่ยมหรือวงกลม มีด้ามจับ. ก. ตักเอาสิ่งที่อยู่ในนํ้าหรือในของเหลว เช่น ช้อนปลา ช้อนลูกนํ้า ช้อนแหน ช้อนผง; โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ช้อนหุ้น; เอามือเป็นต้นสอดลงไปข้างล่างแล้วยกขึ้น เช่น ช้อนศีรษะ; เหลือบขึ้น เช่น ช้อนตา.

กบาล

หมายถึง[กะบาน] น. ส่วนกลางของกะโหลกศีรษะ, หัว, (คำไม่สุภาพ) เช่น ตีกบาล เขกกบาล; แผ่นกระเบื้อง; ลานกลางหมู่บ้าน เรียกว่า กบาลบ้าน; เครื่องเซ่นผีที่ใส่ภาชนะกับตุ๊กตาแล้วนำไปทิ้งที่ทางสามแพร่ง และต่อยหัวตุ๊กตาเสีย เรียกว่า เสียกบาล, เรียกภาชนะที่ใส่เครื่องเช่นนั้น เช่น เอาเหล้าข้าวใส่กบาลออกเซ่นวัก. (ขุนช้างขุนแผน), บางทีใช้ว่า กระบาล เช่น ปรุตรุเคลือบกระบาลหิน. (จารึกวัดโพธิ์). (ป., ส. กปาล ว่า กะโหลกหัว).

กระหม่อม

หมายถึงน. ส่วนของกะโหลกอยู่ตรงแนวศีรษะแต่ตํ่ากว่าส่วนสูงสุดลงมาใกล้หน้าผาก ในเด็กแรกเกิดจนถึง ๒ ขวบส่วนนี้จะมีเนื้อเยื่ออ่อนปิดรอยประสานกะโหลกที่ยังเปิดอยู่ หลังจากนั้นเนื้อเยื่ออ่อนนี้จะกลายเป็นกระดูก, โดยปริยายหมายรวม ๆ ว่า หัว เช่น เป่ากระหม่อม ลงกระหม่อม, ขม่อม ก็ว่า; คำสำหรับใช้ควบกับคำที่ขึ้นต้น ว่า “เกล้า” เช่น ทราบเกล้าทราบกระหม่อม ทูลเกล้าทูลกระหม่อม ในการเขียนหนังสือใช้ไปยาลน้อยแทน เช่น ทราบเกล้าฯ ทูลเกล้าฯ. ส. คำใช้แทนตัวผู้พูด เพศชาย เพ็ดทูลเจ้านายชั้นหม่อมเจ้า และพระวรวงศ์เธอที่มิได้ทรงกรม, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑. (ราชา) ว. คำรับหรือคำลงท้ายที่ผู้ชายใช้เพ็ดทูลเจ้านายชั้นหม่อมเจ้า. (ย่อมาจาก ขอรับกระหม่อม). (แผลงมาจาก ขม่อม).

หน้า

หมายถึงน. ส่วนของศีรษะตั้งแต่หน้าผากลงมาจดคาง; ซีกของกายที่ตรงข้ามกับหลัง, ด้านของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่อยู่ตรงข้ามกับสายตาของเราหรือด้านที่เผชิญหน้ากับสายตาของเรา เช่น เขาวิ่งอยู่หน้าฉัน จึงเห็นแต่หลังเขาไว ๆ; ส่วนบนของบางสิ่ง เช่น หน้าขนม ข้าวเหนียวหน้าสังขยา หน้าปกหนังสือ; เครื่องปรุงที่แต่งหรือโรยบนอาหารบางอย่าง เช่น กระเทียมเจียวโรยหน้าข้าวต้ม; ด้านหนึ่ง ๆ ของวัตถุแบน ๆ อย่างกระดาษ เช่น หน้ากระดาษ หน้าซอง, ด้านของเครื่องตีที่ขึงด้วยหนัง เช่น หน้ากลอง, ด้านหนึ่ง ๆ ของลูกเต๋าและนํ้าเต้าซึ่งมี ๖ ด้าน; ส่วนกว้างของแผ่นกระดาน เสาเหลี่ยมหรือผืนผ้า เป็นต้น; ชายผ้าบางชนิดที่มีลวดลาย, ด้านของผ้าที่มีลวดลายชัดกว่า; คราว เช่น เมื่อข้าวสุกแล้วก็ถึงหน้าเก็บเกี่ยว, ฤดู เช่น หน้าฝน หน้าทุเรียน; โดยปริยายหมายถึงคน เช่น เขาสู้ทุกคนไม่ว่าหน้าไหน; เกียรติและศักดิ์ศรี เช่น เห็นแก่หน้า ไม่ไว้หน้า; ลักษณนามบอกจำนวนด้านของแผ่นกระดาษ เช่น หนังสือเล่มนี้มี ๒๐๐ หน้า. ว. ถัดไป เช่น อาทิตย์หน้า ฉบับหน้า; ตรงข้ามกับ หลัง (ใช้แก่เวลาที่ยังมาไม่ถึง) เช่น วันหน้า เดือนหน้า ปีหน้า, อยู่ตรงข้ามกับข้างหลัง เรียกว่า ข้างหน้า.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ