ค้นเจอ 336 รายการ

ทองคำ

หมายถึงน. ธาตุลำดับที่ ๗๙ สัญลักษณ์ Au เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็งสีเหลือง หลอมละลายที่ ๑๐๖๓ °ซ. เนื้ออ่อนมาก บุให้เป็นแผ่นจนมีความหนาน้อยกว่า ๐.๐๐๐๑ มิลลิเมตรได้ ใช้ทำรูปพรรณต่าง ๆ และทำเงินตรา ปัจจุบันกำหนดความบริสุทธิ์ของทองคำด้วยหน่วยกะรัต โดยกำหนดว่า ทองคำ ๒๔ กะรัตเป็นทองคำบริสุทธิ์ที่สุด, โบราณกำหนดคุณภาพของเนื้อ ตั้งแต่เนื้อสี่ถึงเนื้อเก้า โดยตั้งพิกัดราคาตามเนื้อทอง เช่น ทองเนื้อหก คือ ทองหนัก ๑ บาท ราคา ๖ บาท ทองเนื้อเก้า คือ ทองหนัก ๑ บาท ราคา ๙ บาท. (ประกาศ ร. ๔), ทองเนื้อเก้านี้เป็นทองแท้เป็นทองบริสุทธิ์ เรียกว่า ทองธรรมชาติ ทองเนื้อแท้ ทองนพคุณ หรือบางทีเรียกว่า ทองชมพูนุท เช่นว่า ดังทองชมพูนุทเนื้อเก้า. (สังข์ทอง ตอนตีคลี). (อ. gold).

เมรุมาศ

หมายถึง[เมรุมาด] น. เมรุทอง, ราชาศัพท์ใช้ว่า พระเมรุมาศ.

ตะแก,ตะแก่

หมายถึงน. ตัวแก เช่น ตะแก่เสียจริตผิดแล้วเหวย. (สังข์ทอง).

กรีฑากร

หมายถึงก. ทำกรีฑา เช่น ปางกรีฑากร อนงค์ในแท่นทอง. (สมุทรโฆษ).

ยกหยิบ

หมายถึง(กลอน) ก. หยิบยก เช่น จะยกหยิบธิบดีเป็นที่ตั้ง. (นิ. ภูเขาทอง).

รู่

หมายถึงก. ครูด, ถู, สี, เช่น อย่าเอาทองไปรู่กระเบื้อง.

ล้วน,ล้วน ๆ

หมายถึงว. แท้, เป็นอย่างเดียวกันหมด, ไม่มีอะไรปน, เช่น ทองล้วน เงินล้วน ๆ.

กลดกำมะลอ

หมายถึงน. ร่มชนิดหนึ่ง พื้นขาวโรยทองเป็นเครื่องยศ.

กระบวนกระบิด

หมายถึง(กลอน) น. ชั้นเชิง เช่น ทั้งกระบวนกระบิดติดปั้นปึ่ง. (ไกรทอง), กระบิดกระบวน ก็ว่า.

เงินทองตรา

หมายถึง(โบ) น. เงินตราที่ทำด้วยทองหรือเงินเพื่อเป็นที่ระลึกในโอกาสต่าง ๆ.

กะไหล่

หมายถึงน. กรรมวิธีเคลือบสิ่งที่เป็นโลหะด้วยเงินหรือทองเป็นต้น โดยใช้ปรอทละลายเงินหรือทองให้เป็นของเหลว แล้วทาลงบนโลหะที่ต้องการเคลือบ จากนั้นไล่ปรอทออกโดยใช้ความร้อน, กาไหล่ ก็ว่า. ว. เรียกของเช่นพานเป็นต้นที่เคลือบเงินหรือทองด้วยกรรมวิธีเช่นนั้นว่า พานกะไหล่เงิน พานกะไหล่ทอง. (เทียบทมิฬ กะลายิ).

ลายน้ำทอง

หมายถึงน. ลายหรือรูปภาพซึ่งเขียนเส้นทองบนพื้นสีหรือเขียนสีบนพื้นทองบนเครื่องกระเบื้อง เช่นจาน ชาม กระโถน.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ