ค้นเจอ 144 รายการ

กามามิศ

หมายถึงน. อามิสคือกาม เช่น ฝ่ายเจ้าช้างจงจม ตมเปือกกามามิศ. (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์). (ป. กาม + ส. อามิษ).

หมายถึง[ทะ] (กลอน) ส. ท่าน, เธอ, เช่น ธ ประสงค์ใด จงสฤษดิ์ดัง หวังวรหฤทัย, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓.

กระแบ่

หมายถึง(โบ) น. กระบิ, ชิ้น, ส่วน, เช่น เราจะให้บั่นให้แล่ ทุกกระแบ่จงหนำใจ. (ลอ), ทุกกระแบ่เนื้อเห็นเปล่าเลย. (ม. คำหลวง กุมาร), กระแบะ ก็ว่า.

เข้าพุง

หมายถึง(ปาก) ก. (โบ) จำได้แม่นยำจนไม่ต้องอาศัยตำราสอบทาน; ใช้ในความว่า ลืมความรู้ที่ได้เล่าเรียนมาหมด ก็มี.

หน้าเลือด

หมายถึงว. ชอบแสวงหาประโยชน์โดยวิธีบังคับให้จำยอมเพราะเห็นแก่ตัว เช่น เขาเป็นเจ้าหนี้หน้าเลือด, หน้าโลหิต ก็ว่า.

ตีตรวน

หมายถึงก. ใส่ตรวน จำตรวนที่ขาโดยวิธีตียํ้าหัวตะปูที่ห่วงเหล็กสวมขาเพื่อไม่ให้ถ่างออกได้.

สัญญี

หมายถึงว. มีความหมายรู้ได้, มีความรู้สึก, มีความระลึก, มีความจำได้. (ป.).

ชระลั่ง

หมายถึง[ชฺระ-] (กลอน) ก. ทะลึ่งทะลั่ง เช่น จงสองเจ้าอย่าได้ทะลิ่นชระลั่งคอยนั่งเฝ้าพระบาท. (ม. คำหลวง กุมาร).

ศุภมัสดุ

หมายถึง[-มัดสะดุ] น. ขอความดีความงามจงมี, เป็นคำใช้ขึ้นต้นลงท้ายในประกาศที่เป็นแบบหรือข้อความที่สำคัญ เช่น ประกาศพระบรมราชโองการ.

เลือนราง

หมายถึงว. ไม่ชัดเจน, พอระลึกได้บ้าง, เช่น ความจำชักเลือนรางไปบ้างแล้ว ตาไม่ดีมองเห็นภาพเลือนราง.

กินน้ำใต้ศอก

หมายถึง(สำ) ก. จำต้องยอมเป็นรองเขา, ไม่เทียมหน้าเทียมตาเท่า, (มักหมายถึงเมียน้อยที่ต้องยอมลงให้แก่เมียหลวง).

จำหาย

หมายถึงก. ส่อง เช่น จำหายแสงส่องตรวัน จำหนนแสงส่องฟ้า. (ม. คำหลวง มหาราช). (แผลงมาจาก ฉาย).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ