ค้นเจอ 3,809 รายการ

ทัฬหีกรรม

หมายถึง[ทันฮีกำ] น. การกระทำให้มั่นคงขึ้น ได้แก่การที่ทำซํ้าลงไปเพื่อให้มั่นคงในกรณีที่การกระทำครั้งแรกไม่สมบูรณ์ มักใช้ในพิธีสงฆ์ เช่น ทำทัฬหีกรรม สวดทัฬหีกรรม. (ป. ทฬฺหีกมฺม; ส. ทฺฤฒี + กรฺมนฺ).

เรื้อน

หมายถึงคำที่ใช้ด่าคนที่ทำตัวขัดต่อความเป็นจริง ทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้องและเข้าใจแบบผิด ๆ ว่าสิ่งที่ตัวเองทำหรือคิดนั้นถูกแล้ว; การกระทำในด้านแย่, ก้าวร้าว, นิสัยไม่ดี, ทำตัวไม่น่ารัก

บนบาน

หมายถึงก. ขอร้องสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้ช่วยโดยให้คำมั่นว่าจะให้สิ่งของตอบแทนหรือทำตามที่ให้สัญญาไว้เมื่อเป็นผลสำเร็จ, บน ก็ว่า.

ปัจโจปการกิจ

หมายถึง(แบบ) น. การที่บุคคลทำตอบแทนอุปการะของผู้อื่น. (ป. ปจฺโจปการ + กิจฺจ).

วิหารธรรม

หมายถึง[วิหาระทำ] น. ธรรมประจำใจ.

สกรณีย์

หมายถึง[สะกะระ-] (แบบ) น. ผู้ยังมีหน้าที่จะต้องทำ. (ป.).

บำเหน็จ

หมายถึงน. รางวัล, ค่าเหนื่อย, ค่าความชอบเป็นพิเศษ, เช่น ปูนบำเหน็จ, เงินตอบแทนที่ได้ทำงานมา ซึ่งจ่ายครั้งเดียวเมื่อออกจากงาน; (กฎ) เงินตอบแทนความชอบที่ได้รับราชการมา ซึ่งจ่ายครั้งเดียวเมื่อออกจากงาน.

พลการ

หมายถึง[พะละกาน] น. การกระทำโดยใช้กำลังหรืออำนาจเป็นต้น อย่างไม่ยอมฟังเสียงใคร, อำเภอใจ, เช่น ทำโดยพลการ. (ป. พลกฺการ; ส. พลาตฺการ).

เล่นขายของ

หมายถึง(ปาก) ก. ลักษณะการกระทำที่ไม่ถูกหลักเกณฑ์ ไม่จริงไม่จังเหมือนทำเล่น ๆ (มักใช้เป็นเชิงเปรียบเทียบ) เช่น ทำขนมขายนิด ๆ หน่อย ๆ เหมือนกับเด็กเล่นขายของ.

จ้าง

หมายถึงก. ให้ทำงานหรือทำของโดยให้ค่าตอบแทน, ผู้ให้ทำงานเรียก นายจ้าง หรือผู้ว่าจ้าง, ผู้รับทำงานเรียก ลูกจ้าง หรือ ผู้รับจ้าง, ผู้ให้ทำของเรียก ผู้ว่าจ้าง, ผู้รับทำของเรียก ผู้รับจ้าง.

ทำ

หมายถึงก. กระทำ, ประกอบขึ้น, ผลิตขึ้น, สร้างขึ้น, ก่อขึ้น, เช่น ทำเก้าอี้ ทำโต๊ะ ทำรองเท้า ทำรัง; ประกอบการงาน เช่น ทำนา ทำสวน ทำโป๊ะ; ดำเนินการ, ปฏิบัติงาน, เช่น ทำหน้าที่ประธาน ทำตามคำสั่ง ทำตามกฎหมาย; แต่งให้งาม เช่น ทำผม ทำนัยน์ตา ทำจมูก; คิดและปฏิบัติไปตามกฎเกณฑ์ที่กำหนดไว้ เช่น ทำเลข ทำการฝีมือ, ประกอบพิธีกรรมเกี่ยวกับการนั้น ๆ เช่น ทำวัตร ทำศพ; แสดง เช่น ทำบท ทำเพลง ทำเบ่ง; (ปาก) ศึกษาในระดับปริญญา เช่น ทำปริญญา ทำดอกเตอร์.

อาชญากรรม

หมายถึง[อาดยากำ, อาดชะยากำ] น. การกระทำความผิดทางอาญา.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ