ค้นเจอ 138 รายการ

ไฉยา

หมายถึง(กลอน) น. ผู้หญิง, นางผู้มีโฉมงาม, เช่น เมื่อนั้น นางรจนาไฉยา แลเห็นสมเด็จพระมารดา กัลยาออกมารับทันที. (บทละครสังข์ทอง), เขียนเป็น ฉัยยา ก็มี. (ดู ชายา ๒).

ฉัยยา

หมายถึง(กลอน) น. ผู้หญิง, นางผู้มีโฉมงาม, เขียนเป็น ไฉยา ก็มี เช่น เมื่อนั้น นางรจนาไฉยา แลเห็นสมเด็จพระมารดา กัลยาออกมารับทันที. (บทละครสังข์ทอง). (ดู ชายา ๒).

ร่ายดั้น

หมายถึงน. ชื่อร่ายชนิดหนึ่ง บทหนึ่งมี ๕ วรรคขึ้นไป วรรคหนึ่งใช้ตั้งแต่ ๕-๗ คำ และจะต้องจบด้วยบาทที่ ๓ และที่ ๔ ของโคลงดั้นวิวิธมาลี นอกนั้นเหมือนร่ายสุภาพ.

คาถาพัน

หมายถึงน. บทประพันธ์เรื่องมหาเวสสันดรชาดกที่แต่งเป็นคาถาภาษาบาลีล้วน ๆ พันบท, เรียกการเทศน์มหาเวสสันดรชาดกที่เป็นคาถาล้วน ๆ อย่างนี้ว่า เทศน์คาถาพัน.

ฉ่อย

หมายถึงน. ชื่อเพลงสำหรับว่าแก้กันระหว่างชายกับหญิง เป็นเพลงที่นิยมว่าปากเปล่าโดยอาศัยปฏิภาณเป็นสำคัญ เมื่อว่าจบบทแล้ว ลูกคู่จะรับพร้อมกันว่า ชา ฉา ชา ฉาด ชา หน่อยแม่.

อาถรรพเวท

หมายถึง[อาถับพะเวด, อาถันพะเวด] น. ชื่อคัมภีร์ที่ ๔ ของพระเวท ส่วนใหญ่ประพันธ์ขึ้นภายหลัง แต่มีบางบทที่เก่ามากซึ่งนำมาจากฤคเวทก็มี. (ส.). (ดู เวท, เวท- ประกอบ).

ละครดึกดำบรรพ์

หมายถึงน. ละครแบบหนึ่ง ดำเนินเรื่องรวดเร็ว มีการตกแต่งฉากที่คล้ายของจริง ไม่มีบทบรรยายฉาก บรรยายกิริยาอาการของตัวละคร ตัวละครร้องและเจรจาบทของตนเอง และใช้ดนตรีที่ปรับปรุงตามแบบคอนเสิร์ตของฝรั่ง ฉากสุดท้ายจะงดงามสง่าภาคภูมิ เช่น ละครดึกดำบรรพ์เรื่องอิเหนา เรื่องคาวี, ชื่อดึกดำบรรพ์มาจากชื่อโรงละครของเจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ (ม.ร.ว.หลาน กุญชร).

กรุก

หมายถึง[กฺรุก] ก. ขลุก, ขลุกขลุ่ย, ง่วนอยู่, เช่น พรรษาหนึ่งสองพรรษาไม่ผาสุก เข้าบ้านกรุกเลยลาสิกขาบท. (นิ. เดือน). ว. เสียงดังกุก เช่น ได้ยินเสียงกรุกลุกขึ้นมอง. (คาวี).

คำสร้อย

หมายถึงน. คำหรือวลีที่ใช้ลงท้ายวรรค ท้ายบาท หรือท้ายบทร้อยกรอง เพื่อความไพเราะของเสียงและความหมาย หรือเพื่อแสดงว่าจบตอน เช่น นาเฮย ฤๅ บารนี แก่แม่นา โสตถิ์เทอญ.

ร่ายสุภาพ

หมายถึงน. ชื่อร่ายชนิดหนึ่ง บทหนึ่งมี ๕ วรรคขึ้นไป วรรคหนึ่งมี ๕ คำ ส่งสัมผัสท้ายวรรคหน้า และรับสัมผัสกับคำที่ ๑ ที่ ๒ หรือที่ ๓ ของวรรคถัดไป และจะต้องจบด้วยโคลง ๒ สุภาพ.

สักวา

หมายถึง[สักกะวา] น. ชื่อกลอนแบบหนึ่ง บทหนึ่งมี ๔ คำกลอน ขึ้นต้นด้วยคำ “สักวา” และลงท้ายด้วยคำ “เอย”, ชื่อลำนำเพลงอย่างหนึ่ง ร้องเป็นทำนองโต้ตอบกัน. (โบราณ เขียนเป็น สักระวา ก็มี).

กบเต้น

หมายถึงน. ชื่อเพลงไทยร้องรำ ๒ ชั้นสมัยกรุงศรีอยุธยา หน้าทับสองไม้ คือ ชั้นต้นมีทำนองช้าก่อนแล้วก็เร็วเข้ากำกับกันไป ใช้กับบทโศกหรือรัญจวน เช่นตอนรจนาครํ่าครวญน้อยใจที่สังข์ทองจะไม่ช่วยตีคลี. (ดึกดำบรรพ์).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ