ค้นเจอ 183 รายการ

ชวัก

หมายถึง[ชะ-] (กลอน) ก. ชัก เช่น เคล้าฟ้าเคลือกเปลวลาม พระรามพระลักษณชวักอร. (แช่งน้ำ).

ขอ

หมายถึงน. ไม้หรือเหล็กที่งอ ๆ สำหรับชัก เกี่ยว แขวน หรือสับ, ตะขอ หรือ ตาขอ ก็เรียก.

เลื่อยอก

หมายถึงน. เครื่องมือสำหรับตัดหรือโกรกไม้ ลักษณะคล้ายเลื่อยชัก แต่ขนาดย่อมและสั้นกว่า.

ลำราง

หมายถึงน. ทางน้ำเล็ก ๆ ที่ขุดสำหรับชักน้ำจากคลองเข้านาหรือระบายน้ำออกจากนา.

บังสุกุล

หมายถึงน. เรียกผ้าที่พระภิกษุชักจากศพ หรือที่ทอดไว้หน้าศพ หรือที่ทอดบนด้ายสายสิญจน์หรือผ้าภูษาโยงที่ต่อจากศพด้วยการปลงกรรมฐานว่า ผ้าบังสุกุล, เรียกกิริยาที่พระภิกษุชักผ้าเช่นนั้นว่า ชักบังสุกุล, (ปาก) บังสกุล ก็ว่า. (ป. ปํสุกูล ว่า ฝั่งแห่งฝุ่น, กองฝุ่น, คลุกฝุ่น; ส. ปำสุกูล).

นิ่ว

หมายถึงก. ทำหน้าย่นขมวดคิ้วแสดงความโกรธหรือเจ็บปวดเป็นต้น. ว. มีสีหน้าเช่นนั้น ในคำว่า หน้านิ่ว.

เหลิง

หมายถึง[เหฺลิง] ก. ลืมตัว เช่น พ่อแม่ตามใจเสียจนเหลิง มีคนชมมาก ๆ เลยชักเหลิง.

พัดชัก

หมายถึงน. เครื่องโบกลมรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ติดระบายติดห่วงแขวนกับเพดานมีเชือกชัก.

หัวเงื่อน

หมายถึงน. ปมที่ทำไว้สำหรับกระตุกหรือชักออกเมื่อเวลาแก้, โดยปริยายหมายถึงข้อความตรงที่จะต้องไขความให้กระจ่าง.

ราไฟ

หมายถึงก. ทำให้ไฟอ่อนลงโดยคีบถ่านหรือชักฟืนออกเสียบ้าง, ราฟืนราไฟ ก็ว่า.

แม่สื่อ

หมายถึงน. หญิงที่ทำหน้าที่ชักนำเพื่อให้ชายหญิงได้แต่งงานกัน, บางทีเรียกว่า แม่สื่อแม่ชัก.

กะกึก

หมายถึง(กลอน) ว. กึก ๆ เช่น ดังกะกึกกุกกักชักสายพาดขึ้นกับไก. (ม. ร่ายยาว กุมาร).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ