ค้นเจอ 158 รายการ

คีต

หมายถึง[คีด] (แบบ) น. เพลงขับ, การขับร้อง, เช่น แลคีตสำเนียงบรรสาน. (สมุทรโฆษ). (ป., ส.).

สายบังเหียน

หมายถึงน. สายที่ผูกปลายบังเหียนทั้ง ๒ ข้างสำหรับโยงไปให้ผู้ขี่ม้าถือเพื่อบังคับม้า.

หายใจไม่ทั่วท้อง

หมายถึง(ปาก) ก. ไม่สบายใจเพราะเป็นกังวล เช่น เขาหายใจไม่ทั่วท้องขณะต้องเสี่ยงขับรถไปบนสะพานชำรุด.

คีต-

หมายถึง[คีตะ-] (แบบ) น. เพลงขับ, การขับร้อง, เช่น แลคีตสำเนียงบรรสาน. (สมุทรโฆษ). (ป., ส.).

คีตะ

หมายถึง[คีตะ] (แบบ) น. เพลงขับ, การขับร้อง, เช่น แลคีตสำเนียงบรรสาน. (สมุทรโฆษ). (ป., ส.).

กริว

หมายถึง[กฺริว] น. เต่า เช่น เขียนกริวขึ้นขี่ที่ต้นคอ. (ขุนช้างขุนแผน), จริว หรือ ตริว ก็ว่า. (ดู ตะพาบ, ตะพาบน้ำ).

ควณ

หมายถึงก. คำนวณ เช่น ขับควณทวนเทียบด้วยตำรา พิเคราะห์พระชันษาชะตาเมือง. (อิเหนา).

คีตกะ

หมายถึง[คีตะกะ] (แบบ) น. เพลงขับ, การขับร้อง, เช่น แลคีตสำเนียงบรรสาน. (สมุทรโฆษ). (ป., ส.).

ประณาม

หมายถึงก. กล่าวร้ายให้เขาเสียหาย เช่น ถูกประณามว่าเป็นคนโกง; ขับไล่. (ส. ปฺรณาม; ป. ปณาม).

ทรอ

หมายถึง[ซอ] (โบ) น. ซอ เช่น เสียงสารสังคีตขับทรอท่อ. (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์).

เสียงเลื้อน

หมายถึง(โบ) น. เสียงอ่านหรือสวดทำนองเสนาะ เช่น เสียงเลื้อนเสียงขับ. (จารึกพ่อขุนรามคำแหง).

กรับเสภา

หมายถึงน. กรับชนิดหนึ่ง ทำด้วยไม้แก่นเช่นไม้ชิงชัน เป็นรูปสี่เหลี่ยม ยาวประมาณ ๒๐ เซนติเมตร หนาประมาณ ๕ เซนติเมตร ลบเหลี่ยมเล็กน้อยเพื่อมิให้บาดมือและให้สามารถกลิ้งตัวกระทบกันได้สะดวก ใช้ประกอบในการขับเสภา โดยผู้ขับเสภาจะต้องใช้กรับ ๒ คู่ ถือไว้ข้างละคู่ ขณะที่ขับเสภาก็ขยับกรับแต่ละคู่ให้กระทบกันเข้าจังหวะกับเสียงขับ, กรับขยับ ก็เรียก.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ