ค้นเจอ 88 รายการ

ไก๋

หมายถึง(ถิ่น-พายัพ) น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Ternstroemia gymnanthera Bedd. ในวงศ์ Theaceae ขึ้นตามป่าโปร่งและป่าเขาสูง ดอกคล้ายสารภีป่า ผลสีแดง เปลือกมีนํ้าเมือกเหนียว ๆ ใช้ผสมปูนโบก, ไก๋แดง ก็เรียก.

ห้องแถว

หมายถึงน. อาคารไม้ที่สร้างเป็นห้อง ๆ เรียงติดกันเป็นแถว, ถ้าก่อด้วยอิฐฉาบปูนหรือคอนกรีตเป็นห้อง ๆ เรียงติดกันไปเรียกว่า ตึกแถว; (กฎ) อาคารที่พักอาศัยหรืออาคารพาณิชย์ซึ่งปลูกสร้างติดต่อกันเป็นแถวเกิน ๒ ห้อง และประกอบด้วยวัตถุไม่ทนไฟเป็นส่วนใหญ่.

กระแหนะ

หมายถึง[-แหฺนะ] น. ลายปูนปิดทอง. ก. แตะ, เติม; ว่าเปรียบเปรย; กรรมวิธีในการสร้างงานประติมากรรมตกแต่ง หรือวิธีการช่างจุลศิลป์ประเภทหนึ่ง โดยใช้สมุกปั้นเป็นลวดลายหรือรูปภาพติดเข้ากับพื้นไม้หรือพื้นกระดาษ เช่น ปั้นหน้ายักษ์หน้าลิงติดลงบนกะโหลกปิดกระดาษทำเป็นหัวโขน, แขนะ ก็ว่า.

หมาย

หมายถึงน. หนังสือราชการที่ใช้เกณฑ์ เกาะกุม หรือ เรียกตัว เป็นต้น เช่น หมายเกณฑ์ หมายจับ หมายศาล, (กฎ) หนังสือคำสั่งของศาลหรือเจ้าพนักงานสั่งให้กระทำการ หรือห้ามกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น หมายเกณฑ์ หมายจับ หมายค้น หมายเรียก. ก. มุ่ง เช่น เป้าที่หมายไว้, คาด, กะ, เช่น หมายว่าจะได้ผล หมายว่าจะพบ, ขีดไว้เป็นเครื่องกำหนด เช่น หมายหัวกระดาษ ใช้ปูนหมายหัวไว้.

เจียนหมาก

หมายถึงก. ผ่าหมากดิบสดตามยาวเป็นซีก ๆ แล้วใช้มีดเล็กปอกเปลือกชั้นนอกตรงกลางผล ลอกเปลือกถกขึ้นไปเกือบถึงด้านขั้วผล แล้วเจียนเปลือกชั้นในให้ขาดจากเนื้อหมาก แกะเอาเนื้อที่ติดกับเปลือกนอกออกมากินกับพลูที่บ้ายปูน หรือตากให้แห้งเพื่อเก็บไว้กินได้นาน ๆ.

หมาก

หมายถึงน. ชื่อเรียกปาล์มหลายชนิดหลายสกุลในวงศ์ Palmae โดยเฉพาะชนิด Areca catechu L. ผลมีรสฝาด ใช้เคี้ยวกินกับปูน พลู ซึ่งรวมเรียกว่า กินหมาก และใช้ฟอกหนัง, ผลที่ยังไม่แก่เรียก หมากดิบ, ผลที่แก่จัดเรียก หมากสง, เนื้อหมากที่ฝานบาง ๆ ตากแห้ง ลักษณะคล้ายอีแปะ เรียก หมากอีแปะ, ผลแก่จัดที่เก็บไว้ทั้งเปลือกเพื่อไว้กินนาน ๆ เรียก หมากยับ.

สีเสียด

หมายถึงน. (๑) ชื่อไม้ต้นชนิด Acacia catechu Willd. ในวงศ์ Leguminosae กิ่งมีหนาม เนื้อไม้ให้สารที่เรียกว่า สีเสียด ใช้ผสมปูนกินกับหมาก ย้อมผ้า และฟอกหนัง, สีเสียดแก่น หรือ สีเสียดเหนือ ก็เรียก. (๒) ชื่อไม้ต้นชนิด Pentace burmanica Kurz ในวงศ์ Tiliaceae เปลือกรสขมฝาดใช้กินกับหมาก, สีเสียดเปลือก ก็เรียก.

สาคู

หมายถึงน. (๑) ชื่อปาล์ม ๒ ชนิดในสกุล Metroxylon วงศ์ Palmae คือ ชนิด M. sagus Rottb. กาบใบไม่มีหนาม และชนิด M. rumphii Mart. กาบใบมีหนาม, ทั้ง ๒ ชนิด ใบใช้มุงหลังคา ไส้ในลำต้นแก่ใช้ทำแป้ง เรียกว่า แป้งสาคู. (เทียบ ม. sagu). (๒) ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Maranta arundinacea L. ในวงศ์ Marantaceae ต้นขนาดต้นขมิ้น เหง้าใช้ทำแป้งและต้มกิน.

ควัก

หมายถึง[คฺวัก] ก. ดึงหรือล้วงสิ่งใดสิ่งหนึ่งออกมา, เอามือล้วงลงไปในที่ใดที่หนึ่ง แล้วเอาสิ่งที่อยู่ในนั้นออกมา, ใช้เครื่องมือปลายโค้งหรืองอทำอาการเช่นนั้น เช่น ควักหู, ใช้เข็มควักถักด้ายให้เป็นลวดลายต่าง ๆ เรียกว่า ควักลูกไม้, เอาเครื่องมือรูปพายขนาดเล็กตักสิ่งใดสิ่งหนึ่งขึ้นมา เช่น ควักปูน ควักกะปิ, (ปาก) ดึงเอาตัวออกมา เช่น ควักเอาตัวมาจากที่นอน.

เนียม

หมายถึงน. (๑) ชื่อไม้พุ่มขนาดเล็กชนิด Chloranthus spicatus (Thunb.) Makino ในวงศ์ Chloranthaceae ดอกเล็ก สีขาว กลิ่นหอม, พายัพเรียก เนียมอ้ม. (๒) ชื่อไม้พุ่มชนิด Strobilanthes nivea Craib ในวงศ์ Acanthaceae ดอกเล็ก สีม่วงอ่อน ใบมีกลิ่นหอมใช้ประสมปูนกินกับหมาก, เนียมสวน ก็เรียก, อีสานเรียก อ้ม.

สัดส่วน

หมายถึงน. ส่วนผสมของสิ่งต่าง ๆ ตามอัตราที่กำหนด เช่น ในการผสมปูนโบกฝาผนังจะใช้ซีเมนต์ ทราย และปูนขาว ตามสัดส่วน ๓ : ๒ : ๑; (คณิต) การเท่ากันของ ๒ อัตราส่วน หมายความว่า อัตราส่วนของปริมาณที่ ๑ ต่อปริมาณที่ ๒ เท่ากับอัตราส่วนของปริมาณที่ ๓ ต่อปริมาณที่ ๔ เช่น ๑ กิโลกรัม, ๒ กิโลกรัม; ๑๐๐ บาท, ๒๐๐ บาท ได้ชื่อว่าเป็นสัดส่วนกันก็เพราะ ๑ กิโลกรัม : ๒ กิโลกรัม = ๑๐๐ บาท : ๒๐๐ บาท. (อ. proportion).

ซัด

หมายถึงก. สาดโดยแรง เช่น ซัดทราย ซัดปูน, เหวี่ยงไปโดยแรง เช่น ซัดหอก, ทอด เช่น ซัดลูกบาศก์ ซัดเชือกบาศ, อาการที่คลื่นเหวี่ยงตัวไปมาโดยแรง เช่น คลื่นซัดฝั่ง, ป้ายความผิดไปถึงคนอื่น เช่น นายดำซัดนายขาว, รำทิ้งแขนออกไปข้างหน้า เช่น ซัดแขน; เบน เช่น พระอาทิตย์ซัดใต้ซัดเหนือ; คำค่อนว่าหมายความว่า ห่ม เช่นว่า ซัดแพรสี.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ