ค้นเจอ 355 รายการ

ทองเค

หมายถึงน. เรียกทองคำที่มีเกณฑ์สำหรับวัดความบริสุทธิ์เป็นกะรัตว่า ทองเค, ทอง ๒๔ กะรัต ถือเป็นทองแท้ ถ้ามีกะรัตตํ่าลงมา ก็มีโลหะอื่นเจือมากขึ้นตามส่วน เช่น ทองคำ ๑๔ กะรัต หมายถึงมีเนื้อทอง ๑๔ ส่วน มีโลหะอื่นปน ๑๐ ส่วน, ทองนอก ก็เรียก.

ทองนพคุณ

หมายถึงน. ทองคำเนื้อเก้า เป็นทองบริสุทธิ์ โบราณกำหนดราคาตามคุณภาพของเนื้อทอง หนัก ๑ บาท เป็นเงิน ๙ บาท เรียกว่า ทองเนื้อเก้า หรือ ทองนพคุณเก้าน้ำ, เรียกสั้น ๆ ว่า ทองนพคุณ, ทองธรรมชาติ ทองเนื้อแท้ หรือ ทองชมพูนุท ก็เรียก.

ถึงแก่อนิจกรรม

หมายถึงก. ตาย (ใช้แก่พระยาพานทองหรือเทียบเท่า).

ทศ,ทศ,ทศ-

หมายถึง[ทด, ทดสะ-] น. เรียกเหรียญทองสมัยรัชกาลที่ ๔ ชนิดหนึ่ง มีค่าเท่ากับ ๑ ใน ๑๐ ของชั่ง = ๘ บาท ว่า ทองทศ. ว. สิบ, มักใช้เป็นส่วนหน้าสมาส.

เล่นกล

หมายถึงน. การแสดงที่ลวงตาให้เห็นเป็นจริง, โดยปริยายหมายความว่า หลอกลวงเอา เช่น โดนคนเล่นกลเอาทองเก๊มาแลกกับทองจริง.

โกส

หมายถึง[โกด] (โบ) น. ผอบ เช่น ในโกสทอง. (จารึกสยาม).

เมืองออก

หมายถึงน. เมืองที่สวามิภักดิ์ถวายดอกไม้เงินดอกไม้ทอง.

กาญจน,กาญจน-,กาญจนา

หมายถึง[กานจะนะ-] (แบบ) น. ทอง. (ส.; ป. กญฺจน).

สุวรรณ,สุวรรณ-

หมายถึง[-วัน, -วันนะ-] น. ทอง. (ส. สุวรฺณ; ป. สุวณฺณ).

ลงทอง

หมายถึงก. ปิดทองตามลวดลาย เช่น ลวดลายแกะไม้ลงทอง.

เหลือง

หมายถึง[เหฺลือง] ว. สีอย่างสีรงทองหรือขมิ้น.

ทองคำ

หมายถึงน. ธาตุลำดับที่ ๗๙ สัญลักษณ์ Au เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็งสีเหลือง หลอมละลายที่ ๑๐๖๓ °ซ. เนื้ออ่อนมาก บุให้เป็นแผ่นจนมีความหนาน้อยกว่า ๐.๐๐๐๑ มิลลิเมตรได้ ใช้ทำรูปพรรณต่าง ๆ และทำเงินตรา ปัจจุบันกำหนดความบริสุทธิ์ของทองคำด้วยหน่วยกะรัต โดยกำหนดว่า ทองคำ ๒๔ กะรัตเป็นทองคำบริสุทธิ์ที่สุด, โบราณกำหนดคุณภาพของเนื้อ ตั้งแต่เนื้อสี่ถึงเนื้อเก้า โดยตั้งพิกัดราคาตามเนื้อทอง เช่น ทองเนื้อหก คือ ทองหนัก ๑ บาท ราคา ๖ บาท ทองเนื้อเก้า คือ ทองหนัก ๑ บาท ราคา ๙ บาท. (ประกาศ ร. ๔), ทองเนื้อเก้านี้เป็นทองแท้เป็นทองบริสุทธิ์ เรียกว่า ทองธรรมชาติ ทองเนื้อแท้ ทองนพคุณ หรือบางทีเรียกว่า ทองชมพูนุท เช่นว่า ดังทองชมพูนุทเนื้อเก้า. (สังข์ทอง ตอนตีคลี). (อ. gold).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ