ค้นเจอ 86 รายการ

จรุง,จรูง

หมายถึง[จะรุง, จะรูง] (กลอน) ก. จูง, ชักชวน, เช่น ปลดยากพรากทุกข์ยุคเขิน จรุงราษฎร์ดำเนิน สู่ศุขสวัสดีโดยไว. (ดุษฎีสังเวย); ยั่ว เช่น จรุงใจ; กรุ่น, อบอวล, ชื่น, เช่น จรุงกลิ่นแก้มน้องแก้ว ไป่วาย. (กำสรวล).

น้อย

หมายถึงว. ตรงข้ามกับ มาก, ไม่มาก, เช่น ฝนน้อย น้ำน้อย มีเงินน้อย พูดน้อย, ตรงข้ามกับ ใหญ่, ไม่ใหญ่, เช่น ข้าราชการชั้นผู้น้อย; โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่ไม่สำคัญ เช่น ครูน้อย ผู้น้อย เณรน้อย, เกี่ยวกับความรู้สึกเป็นไปในทางน่ารักน่าเอ็นดู เช่น เด็กน้อย น้องน้อย สาวน้อย หนูน้อย.

กะ

หมายถึงว. ใช้รวมกับคำวิเศษณ์ เช่น เหมือนกะ ราวกะ ถึงกะ. บ. ใช้นำหน้าผู้รับพูดหรือรับบอก เช่น พี่พูดกะน้อง เขากล่าวกะฉัน เขาบอกกะท่าน. สัน. ใช้แทนคำว่า กับ เช่น ยายกะตา, ใช้แทนคำว่า แก่ เช่น มีกะใจ. (เป็นคำเสียงกร่อนมาจาก กับ หรือ แก่).

จก

หมายถึงก. ฉก เช่น ระวังงูจะจกเอา, ล้วง เช่น รู้สึกเหมือนกับว่ามีมือใครมาจกกระเป๋า, ควัก เช่น น้องคงแอบมาจกเงินไป ๕๐๐ บาท, ขุด เช่น จกแรง ๆ หน่อย ทำอย่างนี้พรุ่งนี้ก็ไม่ได้สักหลุม, คุ้ย, สับ เช่น เอาจอบจกลงไปตรงนั้นซิ; เอาตัวมา เช่น คุณต้องไปจกตัวเขามาให้ได้.

แบหลา

หมายถึง[แบหฺลา] (ปาก) ว. อาการที่นอนแผ่กางมือกางเท้า ในคำว่า นอนแบหลา. (กลอน) ก. ฆ่าตัวตาย เช่น เห็นเพลิงพลุ่งรุ่งโรจน์โชตนา ก็แบหลาโจนเข้าในอัคคี, ฉวยคว้าได้กริชของพี่ยา จะแบหลาชีวันให้บรรลัย, น้องจะแบหลาครานี้ ตายตามพระพี่ที่หายไป. (อิเหนา).

เอา

หมายถึงก. ยึด เช่น เอาไว้อยู่; รับไว้ เช่น เขาให้ก็เอา; พา, นำ, เช่น เอาตัวมา; ต้องการ เช่น ทำเอาชื่อ ทำงานเอาหน้า; ถือเป็นสำคัญ เช่น เจรจาเอาถ้อยคำ เอาพี่เอาน้อง; (ปาก) คำใช้แทนกริยาอื่น ๆ บางคำได้. ว. เมื่อใช้ลงท้ายกริยา เป็นการเน้นกริยาแสดงถึงการตั้งหน้าตั้งตาทำต่อเนื่องกัน เช่น กินเอา ๆ.

ท้อง

หมายถึงน. ส่วนของร่างกายด้านหน้า ตั้งแต่ลิ้นปี่จนถึงบริเวณต้นขา มีสะดืออยู่ตรงกลาง มีกระเพาะและไส้พุงอยู่ภายใน; ครรภ์ เช่น น้องร่วมท้อง; พื้นที่หรือบริเวณที่กว้างใหญ่ เช่น ท้องนํ้า ท้องฟ้า ท้องทุ่ง ท้องไร่ ท้องนา ท้องถนน; ส่วนที่มีลักษณะโค้ง เช่น ท้องแขน ท้องน่อง ท้องเรือ ท้องร่อง. ก. มีลูกอยู่ในท้อง, ตั้งครรภ์.

เอย,เอย,เอ่ย,เอ่ย

หมายถึงคำกล่าวประกอบหลังชื่อ เป็นเชิงปรารภเป็นต้น หรือลงท้ายคำกลอน เช่น แม่เอย แกอย่ามาห้ามข้า ตัวของลูกยาก็ไม่ฟัง. (มโนห์รา), เจ้ามัทรีเจ้ามาไยเวลาปานฉะนี้ พระน้องเอ่ย ผิดเวลากาล. (ม. ร่ายยาว กุมาร), ทิ้งทุ่งให้มืดมัวทั่วมลฑล และทิ้งตนตัวเปลี่ยวอยู่เดียวเอย. (บทดอกสร้อย).

โอ้

หมายถึง(กลอน) อ. คำในคำประพันธ์ ใช้ในความรำพึง พรรณนา วิงวอน หรือปลอบ เป็นต้น เช่น โอ้พ่อพลายสายสวาทของน้องเอ๋ย ไม่เคยเลยจะห่างเหเสนหา. (ขุนช้างขุนแผน), โอ้ว่า ก็ใช้ เช่น โอ้ว่าน่าเสียดายตัวนัก เพราะเชื่อลิ้นหลงรักจึงชํ้าจิต. (อิเหนา). น. ชื่อเพลงไทยจำพวกหนึ่ง มีชื่อขึ้นต้นด้วยคำว่า โอ้ เช่น โอ้ปี่ โอ้ร่าย โอ้โลม.

สมมต,สมมติ,สมมติ-,สมมุติ,สมมุติ-

หมายถึง[สมมด, สมมด, สมมดติ-, สมมุด, สมมุดติ-] ก. รู้สึกนึกเอาว่า เช่น สมมติให้ตุ๊กตาเป็นน้อง. สัน. ต่างว่า, ถือเอาว่า, เช่น สมมุติว่าได้มรดกสิบล้าน จะบริจาคช่วยคนยากจน สมมุติว่าถูกสลากกินแบ่งรางวัลที่ ๑ จะไปเที่ยวรอบโลก. ว. ที่ยอมรับตกลงกันเองโดยปริยาย โดยไม่คำนึงถึงสภาพที่แท้จริง เช่น สมมติเทพ.

อุปฮาด

หมายถึง[อุปะ-, อุบปะ-] น. (โบ; ถิ่น-อีสาน) ตำแหน่งรองจากเจ้าเมืองในภาคอีสานสมัยต้นรัตนโกสินทร์ เช่น พระยาก่ำได้ตั้งให้ท้าวแก้วผู้น้องชายเป็นอุปฮาดอยู่บ้านหนึ่งต่างหาก. (ลัทธิธรรมเนียมต่าง ๆ : ว่าด้วยชนชาติภูไทย); (โบ; ถิ่น-พายัพ) ตำแหน่งเจ้าชั้นสูงรองจากตำแหน่งเจ้านครในภาคเหนือ เรียกว่า พระยาอุปราช หรือ เจ้าอุปราช แต่ชาวไทยในภาคเหนือออกเสียงเป็น อุปฮาด.

รุ่น

หมายถึงน. วัยของคนที่ถืออายุเป็นเครื่องกำหนด เช่น รุ่นเด็ก รุ่นหนุ่ม รุ่นสาว รุ่นน้อง, สมัยของคนที่ใช้หลักใดหลักหนึ่งเป็นต้นว่า ปีการศึกษา น้ำหนัก เป็นเครื่องกำหนด เช่น นิสิตรุ่นแรก บัณฑิตรุ่นที่ ๒ นักมวยรุ่นฟลายเวท, คราวหรือสมัยแห่งสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดหรือผลิตขึ้นเป็นระยะ ๆ เช่น มะม่วงออกผลรุ่นแรก รถยนต์คันนี้เป็นรุ่นล่าสุด; กิ่งไม้ที่แตกออกมาใหม่ อ้วน งาม เรียกว่า รุ่นไม้. ว. เพิ่งเป็นหนุ่มเป็นสาว, เพิ่งแตกเนื้อหนุ่มเนื้อสาว, เช่น วัยรุ่น.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ