ค้นเจอ 3,036 รายการ

กฎ

หมายถึง[กด] (โบ) ก. จดไว้เป็นหลักฐาน เช่น ให้นายยกกระบัตรกฎปากหลากคำไว้. (กฎหมายอายัดทาส), ตรา เช่น ตรัสแก่ขุนศรีภูริปรีชาให้กฎเป็นตำราไว้. (อัยการเบ็ดเสร็จ), “พระมหาธรรมราชาก็ตรัสให้กฎลงมาให้เอาพระยารามเป็นพระยาพิชัย”. (พงศ. ๑๑๓๖). (เทียบ ข. กต่ ว่า จด). น. คำบังคับ เช่น จึ่งสมเด็จพระมหินทราธิราชเจ้าแผ่นดินก็ตรัสให้ทำตามกฎให้ลงมานั้นทุกประการ. (พงศ. ๑๑๓๖); (กฎ) ข้อกำหนดหรือข้อบัญญัติที่บังคับให้ต้องมีการปฏิบัติตาม เช่น กฎกระทรวง กฎหมาย; (วิทยา) ข้อกำหนดในเรื่องธรรมชาติตามที่ค้นคว้าได้. (อ. law).

รั้งรอ

หมายถึงก. รอคอย, หยุดคอย, (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น โดยไม่รั้งรอ.

หมาขี้ไม่มีใครยกหาง

หมายถึง(สำ) น. คนที่ชอบยกตัวเอง, คนโอ้อวด.

กุ๊ย

หมายถึงน. คนเลว, คนโซ. (จ. กุ๊ย ว่า ผี).

คอหยัก ๆ สักแต่ว่าคน

หมายถึง(สำ) น. คนที่ประพฤติตัวไม่สมศักดิ์ศรีของความเป็นคน.

คนร้าย

หมายถึงน. คนที่ไม่มีคุณธรรม; คนทำผิดอาญา, อาชญากร.

แวะ

หมายถึงก. หยุดชั่วคราวระหว่างทาง เช่น แวะตลาดก่อนกลับบ้าน แวะรับส่งคนโดยสาร.

ผู้ต้องขัง

หมายถึง(กฎ) น. บุคคลที่ถูกขังอยู่ในเรือนจำ ได้แก่ นักโทษเด็ดขาด คนต้องขัง และคนฝาก.

หมอเสน่ห์

หมายถึงน. ผู้ที่เชื่อกันว่ารู้วิชาอาคมทำให้คนรักกันหรือชังกัน.

สุชน

หมายถึงน. คนดี, คนประพฤติดี. (ป., ส.).

ต้นบท

หมายถึงน. คนบอกบทให้คนรำรู้ว่าจะรำอย่างไร หรือให้คนร้องรู้ว่าจะร้องอย่างไร.

ส่วนเกิน

หมายถึงน. ส่วนที่นอกเหนือไปจากที่กำหนด เช่น ได้รับบัตรเชิญไปงาน ๒ คน แต่ไป ๓ คน คนที่ ๓ เป็นส่วนเกิน.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ