ค้นเจอ 159 รายการ

ชวน,ชวน-,ชวน-

หมายถึง[ชะวะนะ-] (แบบ) น. ความเร็ว, ความไว, ความเร็วของปัญญาหรือความคิด, แผลงเป็น เชาวน์ ก็มี. (ป., ส.).

ทวาทศม,ทวาทศม-

หมายถึง[ทะวาทะสะมะ-] ว. ที่ ๑๒ เช่น ทวาทศมสุรทิน = วันที่ ๑๒. (ส.; ป. ทฺวาทสม).

จัก

หมายถึง(ไว) คำช่วยกริยาบอกกาลภายหน้า แสดงเจตจำนง เช่น จักกิน จักนอน.

ตาแวว

หมายถึงว. ลักษณะของตาที่มีความไวในการเห็นภัยอันตราย, หวาดระแวง, เช่น กาตาแววเห็นธนู.

กรรม,กรรม,กรรม-,กรรม-

หมายถึง[กำ, กำมะ-] (ไว) น. ผู้ถูกกระทำ เช่น คนกินข้าว ข้าว เป็นกรรมของกริยา กิน.

สรรพนาม

หมายถึง(ไว) น. คำที่ใช้แทนชื่อ นาม หรือข้อความที่กล่าวมาแล้ว เพื่อไม่ต้องกล่าวชื่อ นาม หรือข้อความนั้นซ้ำอีก เช่น ฉัน เขา เรา ท่าน.

อกรรมกริยา

หมายถึง[อะกำกฺริยา, อะกำกะริยา] (ไว) น. กริยาที่ไม่ต้องมีกรรมรับ เช่น ยืน เดิน นั่ง นอน. (ส.).

กริยาวิเศษณ์

หมายถึง(ไว) น. คำวิเศษณ์ใช้ประกอบคำกริยาหรือคำวิเศษณ์ด้วยกันให้มีความแปลกออกไป.

ช้า

หมายถึงว. ค่อย ๆ เคลื่อนไป, ไม่เร็ว, ไม่ไว, เช่น เดินช้า วิ่งช้า; ล่า, ไม่ทันเวลาที่กำหนด, เช่น มาช้า.

เร็ว,เร็ว ๆ

หมายถึงว. ไว เช่น กินเร็ว หายเร็ว ๆ, รีบ เช่น เร็วเข้า เร็ว ๆ หน่อย, ด่วน, ไม่ชักช้า, เช่น ขอให้มาโดยเร็ว.

ประธาน

หมายถึง(ไว) น. ผู้กระทำ เช่น เด็กวิ่ง เด็ก เป็นประธานของกริยา วิ่ง คนกินข้าว คน เป็นประธานของกริยา กิน.

ปฏิเสธ

หมายถึงก. ไม่รับ, ไม่ยอมรับ, เช่น ปฏิเสธการเชิญ, ไม่ยอมรับข้อเท็จจริง เช่น ปฏิเสธข้อกล่าวหา; (ไว) แสดงความหมายตรงกันข้ามกับยืนยัน รับ หรือ ยอมรับ. (ป.).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ